ภาษีมูลค่าเพิ่ม อี-คอมเมิร์ซ ต้องแก้ปัญหาให้ตรงจุด

10 มี.ค. 2561 | 08:07 น.
 

5256526 ในเดือนมีนาคมนี้ กรมสรรพากร จะเสนอแนวทางแก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากธุรกิจออนไลน์ หรือผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business) และสินค้านำเข้าที่ส่งทางไปรษณีย์ตั้งแต่บาทแรก โดยอธิบดีกรมสรรพากร “ประสงค์ พูนธเนศ” ให้เหตุผลว่า เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับผู้ประกอบการในประเทศ

การแก้ไขประมวลรัษฎากร เพื่อจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจออนไลน์ เป็นหนึ่งในการแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ ต่างชาติ เช่น เฟซบุ๊ก กูเกิล ยูทูบ ที่เข้ามาประกอบธุรกิจ และมีรายได้ในประเทศไทย แต่ไม่ได้เสียภาษี เพราะข้อจำกัดทางกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ของรัฐ และก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมในภาระภาษีระหว่างผู้ประกอบการในประเทศและต่างประเทศ
cd59e-e-business-1 กรมสรรพากรจึงได้ผลักดัน ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ...) พ.ศ. ... ขึ้น เพื่อจัดเก็บภาษีจากผู้ประกอบการธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (e-Business)  ต่างประเทศที่ได้ขายสินค้าหรือให้บริการกับผู้ซื้อในประเทศไทยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ สาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ นอกจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากธุรกิจออนไลน์ และสินค้านำเข้าที่ส่งทางไปรษณีย์ตั้งแต่บาทแรก ยังกำหนดให้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตรา 15%  จากรายได้ที่ผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซ ต่างชาติได้รับจากการได้ขายสินค้าหรือให้บริการกับผู้ซื้อในประเทศไทยผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์หรือ มีเงินได้จากค่าโฆษณาออนไลน์ ค่าใช้พื้นที่ในเว็บไซต์ รวมอยู่ด้วย
แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 แต่กรณีการเก็บภาษีเงินได้จากผู้ประกอบการ อธิบดีกรมสรรพากร บอกว่ายังไม่เสนอให้ครม.พิจารณา เพราะกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) กำลังพิจารณาอยู่เพราะการหักภาษีณ ที่จ่าย 15% ถูกตั้งคำถามอย่างหนักจากผู้ประกอบการอี-คอมเมิร์ซในประเทศ  โดยเฉพาะคำนิยามของผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษี รายได้ที่ต้องเสียภาษี รวมถึงรายละเอียดในการชำระภาษี  จึงไม่น่าแปลกใจที่กรมสรรพากรจะเสนอให้ที่ประชุมครม.พิจารณาเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม จากธุรกิจออนไลน์ และสินค้านำเข้าที่ส่งทางไปรษณีย์ แต่ก็มีคำถามตามมาว่า การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากธุรกิจออนไลน์ เป็นการผลักภาระให้กับผู้บริโภค แทนที่จะแก้ปัญหาการจัดเก็บภาษีจากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ต่างชาติ ที่เข้ามาประกอบธุรกิจในประเทศไทยหรือไม่
img-ebusiness เพราะต้องไม่ลืมว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นภาษีที่มุ่งจัดเก็บจากการบริโภคของผู้บริโภคคนสุดท้าย (Final Consumer)แต่เนื่องจากรัฐไม่อาจจัดเก็บโดยตรงไปยังผู้บริโภคคนสุดท้ายตามที่ต้องการได้ จึงออกกฎหมายกำหนดให้ผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มแทน สุดท้ายภาระภาษีก็จะต้องตกที่ผู้บริโภคคนสุดท้าย จึงเรียกว่าภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งเป็น “ภาษีทางอ้อม” ที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีกับผู้รับภาระภาษีเป็นคนละคน

.........................
บทบรรณาธิการ หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ/ฉบับ 3347 ระหว่างวันที่ 11-14 มี.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว