รื้อกฎหมาย‘ขายฝาก’ คุมเข้มสัญญาสกัดนายทุนฮุบที่ดิน

15 มี.ค. 2561 | 05:48 น.
กฎหมายขายฝาก เป็นหนึ่งในกฎหมายล้าสมัย ที่รัฐบาลเร่งปรับปรุงแก้ไขเพื่อป้องกันนายทุนและผู้มีอิทธิพลใช้ช่องโหว่ของกฎหมายนำที่ดินทำกินของชาวนา ไปเป็นของตนเอง ขณะนี้การปรับปรุงกฎหมายมีความคืบหน้าค่อนข้างมาก โดยคณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ที่มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้ตั้งอนุกรรมการพิจารณาเสนอกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของประชาชน เป็นผู้ศึกษาหาทางออก ซึ่งในวันที่ 16 มีนาคมนี้ จะจัดรับฟังความเห็นประชาชนต่อร่างกฎหมายใหม่ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ก่อนสรุปเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเร่งด่วน

[caption id="attachment_266937" align="aligncenter" width="335"] คำนูณ สิทธิสมาน คำนูณ สิทธิสมาน[/caption]

++สัญญาขายฝากทำเสียที่ดิน
นายคำนูณ สิทธิสมาน ประธานอนุคณะกรรมการพิจารณากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์ของประชาชน คณะกรรมการดำเนินการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ระบุว่า กฎหมายขายฝากเป็นบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในมาตรา 491-500 กว่า โดยเป็นกฎหมายที่อยู่ในประมวลกฎหมายดังกล่าวนี้มานานมาก

ตลอดเวลา 40-50 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาว่าควรมีการปรับปรุงแก้ไขหรือควรมียกเลิกประการใดหรือไม่ เพราะเป็นบทบัญญัติที่ทำให้ชาวนารายย่อยสูญเสียที่ดินทำกินเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่วันที่ 14 ตุลาคม 2516 มีการจัดตั้งสหพันธ์ชาวนาชาวไร่ในประเทศและเกิดการเคลื่อนไหวใหญ่ของชาวนาทั่วประเทศ ทางคณะอนุกรรมการได้ศึกษาจุดอ่อนของกฎหมายมากมาย ในที่ สุดมีการแก้ไขใหญ่ในปี 2541 แต่ยังคงเป็นประเด็นที่ทำให้เกษตรกรเสียที่ดินทำกินอยู่ดี

++ข้อดี-ข้อเสียสัญญาขายฝาก
สำหรับข้อดีของกฎหมายขายฝาก คือสะดวก และได้เงินเร็ว เพราะหากชาวนาต้องการเงินแต่ไม่มีทรัพย์สินอื่นเลย เดินเข้าไปหาสถาบันการเงินทั้งของรัฐและเอกชน ก็ไม่สามารถได้เงินมาบรรเทาความเดือดร้อนของตัวเองได้ แต่ถ้ามีโฉนดที่ดิน ก็สามารถไปหาคนที่ประกอบธุรกิจรับซื้อฝากก็สามารถทำได้ ความง่ายของการขายฝากคือ กฎหมายขายฝากเมื่อทำสัญญากันแล้วกรรมสิทธิ์ในที่ดินตกเป็นของผู้รับซื้อฝากทันที โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ขายฝากจะมาไถ่ถอนได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญา แม้จะเขียนไว้ว่าภายใน 10 ปี แต่ไม่ได้เขียนระยะเวลาขั้นตํ่าเอาไว้ ส่วนใหญ่จึงทำสัญญาในระยะสั้น เมื่อถึงเวลาผู้ขายฝากไม่มีเงินมาไถ่ถอน ที่ดินก็จะตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝาก ซึ่งจริงๆ ก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ซื้อฝากตั้งแต่วันทำสัญญาวันแรกแล้ว แต่เมื่อไม่มาไถ่ถอนตามกำหนด ที่ดินก็ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้รับซื้อฝากโดยสมบูรณ์ และไม่ต้องไปฟ้องบังคับจำนองเลย

ผู้ทำธุรกิจรับซื้อฝากจึงนิยมเรียกร้องให้ผู้ขอกู้เงินทำขายฝากด้วยเหตุผลประการใดประการหนึ่ง มากกว่าทำสัญญาจำนอง เพราะการทำสัญญาจำนองเมื่อครบกำหนดไถ่ถอนจำนองแล้ว กรรมสิทธิ์ยังไม่ตกเป็นของผู้รับจำนองทันที ต้องไปฟ้องบังคับคดีกับศาลอีกครั้งหนึ่ง

ส่วนข้อเสียของกฎหมายขายฝาก ทำให้ชาวนาประสบอุปสรรคด้านการเงินไม่มีเจตนาขายที่ดิน แต่ไม่มีทางเลือกอื่น จำเป็นต้องใช้หนทางสุดท้าย ด้วยการทำสัญญาขายฝากแล้วได้เงินไป แต่เมื่อสูญเสียที่ดินไปก็หมดปัจจัยการทำมาหากินอีกต่อไป

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ ++ก.ม.ใหม่คุมเข้มทำสัญญา
นายคำนูณ กล่าวว่า ผลการศึกษาของคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมายในระยะเร่งด่วน ที่มีนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นประธาน ได้ศึกษาและทำตามดำริของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ซึ่งพูดไว้ในรายการ ศาสตร์พระราชา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2560 ทางอนุกรรมการฯ ได้ศึกษาและได้บทสรุปล่าสุด เห็นว่า ถ้าจะยกเลิกไปเลยจะมีปัญหาอื่นๆ ตามมา เพราะข้อดีคือเป็นแหล่งเงินสุดท้ายของชาวนาจริงๆ ถ้ายกเลิกไปเลยแล้วไม่สามารถตอบสนองความต้องการเงินของชาวนามันจะเป็นปัญหาได้

จึงได้ข้อสรุปว่าจะปรับปรุงแก้ไข เนื่องจากการขายฝากมีทั้งการขายฝากอสังหาริมทรัพย์คือที่ดิน ซึ่งไม่มีปัญหาอะไรเลย จึงไม่เข้าไปแตะต้อง จึงแยกการ ขาย ฝากอสังหาริมทรัพย์ ออกมาเป็นกฎหมายอีกฉบับหนึ่งที่มีบทบัญญัติการควบคุมตั้งแต่ขั้นตอนการทำรายละเอียดของสัญญาให้มากขึ้นกว่าประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่มีอยู่ เพราะสัญญาประเภทนี้ถ้าไปอยู่ในกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งเป็นกฎหมายเอกชน จะถือเป็นการเคารพความศักดิ์สิทธิ์ของผู้ถือสัญญา ที่ทำสัญญากันถือเสมือนหนึ่งเท่าเทียมกัน เป็นการแสดงเจตนารมณ์ แต่ความเป็นจริงเป็นการทำสัญญาของคนที่ไม่เท่าเทียมกัน

คนกลุ่มหนึ่งมีความรู้มีที่ปรึกษามีอิทธิพล แต่อีกกลุ่มหนึ่งขาดความรู้ ไม่มีทางเลือกอื่นต้องทำสัญญาขายฝาก มีแนวโน้มว่าบทสรุปของอนุกรรมการฯ จะออกมาเป็นการให้ตราพ.ร.บ. คุ้มครองประชาชนจากการทำสัญญาขายฝาก โดยกำหนดให้การทำสัญญาขายฝากอสังหา ริมทรัพย์จะทั้งหมด หรือกำหนดเฉพาะวงจำกัด ว่าไม่เกิน 10-20 ไร่ ซึ่งอยู่ในระหว่างการพิจารณา แยกออกมาอยู่ในร่างพ.ร.บ.ฉบับใหม่ที่จะตราขึ้น

ส่วนมาตรการอื่นๆ ที่ต้องดำเนินการควบคู่กันไปคือ ต้องมีแหล่งเงินให้ประชาชนมากขึ้น เป็นส่วนหนึ่งของมาตราการลดความเหลื่อมลํ้าของรัฐบาล ชุดที่นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดูแลอยู่

TP14-3347-1C ++หาแหล่งเงินให้ชาวนากู้ฉุกเฉิน
กล่าวโดยสรุป เรื่องกฎ หมายขายฝาก เราจะไม่แตะต้องเรื่องการขายฝากอสังหาริมทรัพย์ แต่จะแยกการขายฝากอสังหา ริมทรัพย์ให้มาอยู่ในร่างพ.ร.บ. ควบคุมหรือคุ้มครองประชาชนจากสัญญาขายฝาก ชื่อยังไม่ลงตัว ซึ่งขั้นตอนจะรับฟังความเห็นของประชาชนครั้งใหญ่วันที่ 16 มีนาคมนี้ ที่จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่เลือกพื้นที่นี้เพราะจากการศึกษาของกระทรวงยุติธรรม พบว่าเป็น 1 ใน 3-4 จังหวัดที่ทำสัญญา ขายฝากค่อนข้างมาก ซึ่งการรับฟังปัญหาประชาชนครั้งใหญ่นี้ นายบวรศักดิ์ และนายกอบศักดิ์ จะเดินทางไปด้วย

ร่างพ.ร.บ.ขายฝากที่จะปรับปรุงใหม่นี้ นอกจากจะเขียนไว้ในแผนปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายแล้ว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรอ ครม.อนุมัติ จะมีการแนบร่างพ.ร.บ.นี้ไว้ในแผนการปฏิรูปประเทศด้านกฎหมายด้วย ขณะเดียวกันก็จะเสนอไปยังครม.เพราะเป็นเรื่องเร่งด่วนและเป็นไปตามดำริของนายกฯ เมื่อเข้าสู่ครม.แล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการออกกฎหมายตามปกติ คือเข้าคณะกรรมการกฤษฎีกา และเข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

หากกฎหมายขายฝากฉบับ ใหม่มีผลบังคับใช้ เชื่อว่าชาวนา ชาวไร่ จะลดการสูญเสียที่ดินผืนสุดท้าย มีแหล่งเงินให้กู้ยามฉุก เฉิน และไม่ตกเป็นเหยื่อนายทุนนอกระบบเฉกเช่นในปัจจุบัน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว