ปตท.สผ.รุกธุรกิจใหม่ ปรับพอร์ตลงทุนลดเสี่ยงราคาน้ำมันผันผวน

13 มี.ค. 2561 | 10:41 น.
ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคานํ้ามันดิบในตลาดโลกผันผวน ตกตํ่าอยู่ที่ระดับ 40 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ส่งผลกระทบต่อธุรกิจสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียม ทำให้ผู้ประกอบการต่างเร่งลดต้นทุนผลิตเพื่อความอยู่รอด ซึ่งบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.ถือเป็น 1 ในบริษัทที่มีการปรับตัว เพื่อที่จะคงกำลังการผลิตในระดับ 3 แสนบาร์เรลต่อวัน ไว้ให้ได้

นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปตท.สผ. ได้ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงทิศทางการดำเนินงาน ในท่ามกลางความผันผวนของราคานํ้ามันในตลาดโลก ที่นำเอากลยุทธ์ 3 ด้าน มาใช้ ผ่าน RESET-REFOCUS-RENEW ที่มุ่งเน้นการรักษาสมดุลระหว่างการเติบโตของธุรกิจและผลประกอบการให้มีความยั่งยืน

[caption id="attachment_266860" align="aligncenter" width="503"] สมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปตท.สผ. สมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารปตท.สผ.[/caption]

**งัดกลยุทธ์สู้ราคาน้ำมัน
โดย RESET เป็นการเน้นลดต้นทุนการดำเนินงานลงอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันลงมาอยู่ที่ 29-30 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เทียบกับปีก่อนอยู่ที่ 30-31 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล และเทียบกับช่วง 2 ปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 38 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล

ขณะที่ REFOCUS พยายามที่จะให้ความสำคัญกับการเจริญเติบโต มีปริมาณสำรองที่สูงขึ้น โดยเน้นไปที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ล่าสุดบรรลุข้อตกลงเพื่อเข้าซื้อสัดส่วนการลงทุน 22.22% ในโครงการบงกช จากบริษัท **เน้นธุรกิจก๊าซและแอลเอ็นจี

อีกทั้ง ให้ความสำคัญกับธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เนื่องจากขณะนี้ราคานํ้ามันปรับตัวสูงขึ้น จึงต้องมีการปรับโครงการสำรวจให้มากขึ้น โดยขณะนี้เริ่มจะเข้าไปประมูลซื้อแหล่งในประเทศมาเลเซีย เม็กซิโก และบราซิล โดยเฉพาะเม็กซิโก เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง เป็นประเทศที่ปิดมานาน และเพิ่งเริ่มเปิดเมื่อปี 2560

บาร์ไลน์ฐาน ล่าสุดบริษัท PTTEP Mexico E&P Limited, S. de R.L. de C.V. (PTTEP MEP) เป็นบริษัทย่อยของ ปตท.สผ. และกลุ่มผู้ร่วมทุนได้ชนะการประมูลแปลงสำรวจในอ่าวเม็กซิโก ประเทศเม็กซิโก จำนวน 2 แปลง ได้แก่ แปลงที่ 12 Mexican Ridges ถือหุ้นในสัดส่วน 20% และแปลงที่ 29 Campeche ถือหุ้นในสัดส่วน 16.67% การลงนามในสัมปทานแปลงสำรวจดังกล่าวคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2561

**รุกธุรกิจใหม่ลดเสี่ยงE&P
ส่วน RENEW จะเน้นการพัฒนาด้านเทคโนโลยี ศึกษาโอกาสในการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจและผลิตปิโตรเลียม(E&P) และธุรกิจอื่นๆ เพื่อเป็นทางเลือก สำหรับความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจ โดยอยู่ระหว่างศึกษาธุรกิจใหม่ เพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจรองรับเทคโนโลยีพลังงานที่ปรับเปลี่ยนไป เช่น ธุรกิจต่อเนื่องด้านการรื้อถอนสิ่งติดตั้งหรือแท่นผลิตในทะเล การผลิตไฟฟ้าในเมียนมา แบตเตอรี่ และโซลาร์เซลล์ เป็นต้น

โดยธุรกิจด้านการรื้อถอนสิ่งติดตั้งผลิตปิโตรเลียม บริษัทจะต้องรื้อถอนสิ่งติดตั้งบางส่วนในพื้นที่ปิโตรเลียมของบริษัทที่จะหมดอายุสัมปทานในปี 2565-2566 อยู่แล้วทำให้เริ่มมองการลงทุนในธุรกิจนี้ อาจจะเข้าร่วมทุนกับผู้ที่มีความชำนาญและมีประสบการณ์ต่อไป อีกทั้ง ธุรกิจไฟฟ้า มองเห็นโอกาสการต่อ ยอดธุรกิจ จากแหล่งสำรวจและผลิตปิโตรเลียม เพื่อมุ่งสู่ธุรกิจไฟฟ้าในเมียนมาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าและก๊าซเพิ่มขึ้น

เบื้องต้นมองโอกาสในพื้นที่ปิโตรเลียม M3 ซึ่งเป็นแหล่งในทะเลที่ยังสำรวจพบปิโตรเลียมในปริมาณไม่มากนัก จึงได้แจ้งความประสงค์กับรัฐบาลเมียนมา เพื่อจะสำรวจเพิ่มเติมนำก๊าซฯมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า โดยจะร่วมกับบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) หรือจีพีเอสซี เป็นบริษัทในกลุ่ม ปตท. เตรียมเสนอแพ็กเกจโครงการต่อรัฐบาลเมียนมา คาดว่าจะเห็นความชัดเจนในช่วงครึ่งแรกปีนี้”

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 **เตรียมพร้อมประมูลบงกช
นายสมพร ยังชี้ให้เห็นอีกว่า สำหรับการประมูลแหล่งปิโตรเลียมหมดอายุของแหล่งบงกชและเอราวัณนั้น ปตท.สผ. มีความพร้อมเข้าร่วมประมูล เพราะมีทั้งด้านกำลังคน และศักยภาพทางด้านการเงิน ปัจจุบันมีเงินสดในมือกว่า 4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และมีศักยภาพในการกู้เงินอีกจำนวนมาก แต่ขณะนี้อยู่ระหว่างรอความชัดเจนของเอกสารเชิญชวนประมูล (ทีโออาร์) จากภาครัฐบาลที่คาดว่าจะออกมาในช่วงปลายเดือนเมษายนหรือต้นพฤษภาคมนี้

โดยแหล่งปิโตรเลียมบงกช ซึ่งปัจจุบัน ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการ และมีบริษัท โททาล ซึ่งเป็นบริษัทนํ้ามัน 
ชั้นนำจากฝรั่งเศสเป็นผู้ร่วมทุน มีสัดส่วนการลงทุน 33.33% ก็จะร่วมกันเข้าร่วม ประมูลในแหล่งดังกล่าว ส่วนแหล่งเอราวัณ ปตท.สผ.ถือสัดส่วน 5% โดยมีกลุ่มเชฟรอน เป็นผู้ดำเนินการนั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือร่วมกันเพื่อบรรลุข้อตกลงในการเข้าประมูลแหล่งดังกล่าวร่วมกัน แต่หากไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้ ปตท.สผ. ก็พร้อมที่จะแยก 
ประมูลเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว