ประมงลุ้นหลุดใบเหลืองIUU สั่งคุมเข้มเรือเสี่ยงผิดก.ม.ก่อนอียูประเมินครั้งสุดท้าย

15 มี.ค. 2561 | 11:10 น.
ไทยนับถอยหลัง ถกอียูประเมินผลครั้งสุดท้ายลุ้นได้ใบเขียว กรมประมงสั่งคุมเข้มเรือกลุ่มเสี่ยงผิดกฎหมายกว่า 1,000 ลำหวั่นทำเสีย ขณะ 2 เดือนแรกศูนย์ปีโป้เมืองคอนส่อพิรุธสูงสุด วงการลุ้นตัวโก่งได้วันทำประมงเพิ่มหลัง 500 ลำถูกริบอาชญาบัตรคืน

แหล่งข่าวจากกรมประมง เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า คณะกรรมาธิการสหภาพยุโรป (อียู) จะเดินทางมาประเทศไทยเพื่อประเมินความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงานและไร้การควบคุม (ไอยูยู ฟิชชิ่ง) ระหว่างวันที่ 4-11 เมษายนนี้ ซึ่งจะเป็นการส่งสัญญาณครั้งสุดท้าย และคาดหมายว่าไทยจะหลุดจากใบเหลือง และได้ใบเขียว โดยครั้งนี้ทางคณะอียูพุ่งเป้ามาตรวจศูนย์ควบคุมการแจ้งเข้า-ออกเรือประมง (ศูนย์ PIPO) สืบเนื่องจากครั้งที่แล้วไปตรวจพบว่ามีเรือแจ้งเข้า-ออก ไม่ตรงทะเบียนเรือ โดยบางรายถอดระบบติดตามตำแหน่งเรือ (VMS)ไว้กับเสาท่าเทียบหน้าบ้าน แล้วแอบนำเรือออกไปลักลอบทำการประมง จึงเป็นที่มาของการมาติดตามดังกล่าว

TP8-3347-A ปัญหาข้างต้นตามกรมประมงได้สั่งการเจ้าหน้าที่เตรียมความพร้อมยานพาหนะออกปฏิบัติงานตลอดเวลา มีสายข่าวในทะเล หรือเครือข่าย เพื่อให้ การปฏิบัติการมีประสิทธิภาพ ประหยัด และบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดตรวจเรือประมงที่มีความเสี่ยงที่จะทำประมงผิดกฎหมาย เช่น เครื่องมือประมง ประเภทอวนล้อมจับปลากะตักในเวลากลางวัน มีความเสี่ยงที่จะลักลอบทำการประมงในเวลากลางคืน เมื่อมีพฤติการณ์ที่ออกทำ การประมงหลายวันหรือแจ้งออกในตอนบ่ายและกลับเข้าฝั่งในวันถัดไป

นอกจากนี้สั่งให้สังเกต เครื่องมือประเภทที่มีการกำหนดขนาดช่องตาอวน ความกว้าง ความยาว ความห่างของช่องซี่คราดมีความเสี่ยงที่จะปรับเปลี่ยนเครื่องมือที่ผิดกฎหมายในทะเล และกลุ่มเรือที่มีการขนถ่ายสัตว์นํ้ากลางทะเล มีความเสี่ยงที่จะขนถ่ายคนงานประจำเรือซึ่งอาจจะเป็นแรงงานที่ไม่ได้รับอนุญาต ตามกฎหมาย เป็นต้น

บาร์ไลน์ฐาน “จากการเก็บสถิติ 2 เดือนแรกของปี 2561 มีเรือแจ้งเข้า-ออกจากศูนย์ปีโป้ทั่วประเทศ
30 ศูนย์ จำนวน 1.69 หมื่นเที่ยว พบว่ามีเรือกลุ่มเสี่ยงที่จะทำการผิดกฎหมายต้องติดตามเฝ้าระวังพิเศษกว่า 1 พันลำ ลำดับสูงสุดคือศูนย์ปีโป้นครศรีธรรมราช จำนวน 152 ลำ ส่อพิรุธ (ฐานทะเบียนเรือประมงพาณิชย์ทั่วประเทศ ณ ปัจจุบัน มี 1.07 หมื่นลำ) ปัจจุบันมีเรือที่แจ้ง เข้า-ออก ไปทำการประมงจำนวน 6,905 ลำ โดยมีปริมาณการจับปี 2560 รวม 5.17 หมื่นตัน มากสุดคือ เครื่องมืออวนลาก รอง ลงมาคืออวนล้อมจับ”

แหล่งข่าวจากผู้ประกอบการเรือประมง เผยว่า จากผล การจัดทำอัตลักษณ์เครื่องหมายประจำเรือประมง พบว่ามีเรือที่มีใบอาชญาบัตรกว่า 500 ลำแต่ไม่มีเรือมายืนยัน ทางกรมได้ริบใบอนุญาตคืนแล้ว คาดกรมประมงจะมากำหนดวันทำการประมงในส่วนเรือที่เหลือประมาณ 1.1 หมื่นลำใหม่ จะได้วันทำ ประมงเพิ่มเป็น 260 วัน จากเดิม 220 วัน ส่วนเรืออีกกว่า 700 ลำที่ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสซื้อเรือควบรวม หรือไปซื้อเรือใหม่ไปแลกวันทำประมง กลุ่มนี้จะได้อานิสงส์ทำประมงได้ในรอบปีประมง 2561-2562

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,347 วันที่ 11 - 14 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว