"อาคม"Meet the Pressเปิดใจ“ทุกเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับระบบราง”

09 มี.ค. 2561 | 11:22 น.
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงในงาน Meet the Press หัวข้อ “ทุกเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับระบบราง”

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แถลงในงาน Meet the Press หัวข้อ “ทุกเรื่องที่อยากรู้เกี่ยวกับระบบราง” เพื่อเชื่อมต่อระบบคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ราง น้ำ และอากาศไปสู่ One Transport for All คมนาคมรวมเป็นหนึ่งเพื่อความสุขของคนไทยทุกคน เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2561 ณ ศูนย์แถลงข่าวรัฐบาล ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล

meak1

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคมดำเนินการด้านการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศตามนโยบายรัฐบาล โดยเฉพาะเรื่องของการเดินทางที่ไม่สะดวก และมีปัญหาการจราจรติดขัดในเมืองหลวงและเมืองหลักในภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศ โดยนโยบายรัฐบาลที่จะเร่งขับเคลื่อนพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครให้ครบทั้งระบบว่า ซึ่งเมื่อดำเนินการแล้วเสร็จจะสามารถประหยัดพลังงาน ประชาชนเดินทางได้สะดวก และส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนที่ดีขึ้น

โดยกระทรวงคมนาคม ได้ดำเนินโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) เพื่อผลักดันทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 3 สายทาง ได้แก่ สายบางปะอิน-นครราชสีมา (196กม.) สายบางใหญ่-กาญจนบุรี (96กม.) สายพัทยา-มาบตาพุด (32กม.) รวมทั้งเพิ่มโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองให้ครอบคลุม 13 จังหวัด เร่งรัดการจัดทารายงานการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) 2 สายพร้อมเปิดให้บริการทั้งระบบภายในปี 2563 ได้แก่ สายนครปฐม-ชะอำ และสายหาดใหญ่-ชายแดนไทย/มาเลเซีย

meak2

ด้านการพัฒนารถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล กระทรวงฯ เปิดให้บริการแล้ว 5โครงการ ระยะทางรวม 109.8กม. ได้แก่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) ระยะทาง 28.5 กม. รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) ระยะทาง 21 กม. รถไฟฟ้าสายสีเขียวเข้ม (หมอชิต-สำโรง) ระยะทาง 23.3 กม. รถไฟฟ้าสายสีเขียวอ่อน (สนามกีฬา-บางหว้า) ระยะทาง 14 กม. และรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-เตาปูน) ระยะทาง 23 กม.

การพัฒนาเส้นทางเชื่อมถนนสู่ประตูเศรษฐกิจ โดยขยายช่องจราจร 4 ช่อง บนถนนหลวงและถนนหลวงชนบท โดยดำเนินการขยายทางหลวงสายประธานทั่วประเทศ เป็น 4 ช่องจราจร เปลี่ยนถนนลูกรังเป็นถนนลาดยาง ระยะทางรวม 2,630 กม. ก่อสร้างถนนเพื่อสนับสนุนโครงการหลวงและโครงการพระราชดาริ 86 สาย และก่อสร้างสะพานชุมชนในภูมิภาค จำนวน 45 สะพาน

การพัฒนาโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือโดยสารในแม่นาเจ้าพระยา เพื่อยกระดับท่าเรือโดยสารสาธารณะให้เป็น “สถานีเรือ” ด้วยการปรับปรุงท่าเรือโดยสารในแม่น้าเจ้าพระยา 17 แห่ง ได้แก่ ท่าเรือสมุทรปราการ ท่าเรือบางหัวเสือ ท่าเรือบางกะเจ้านอก ท่าเรือสาทร ท่าเรือสี่พระยา ท่าเรือกรมเจ้าท่า ท่าเรือดินแดง ท่าเรือราชวงศ์ ท่าเรือสะพานพุทธ ท่าเรือราชินี ท่าเรือท่าเตียน ท่าเรือท่าช้าง ท่าเรือพรานนก ท่าเรือเทเวศร์ ท่าเรือเกียกกาย ท่าเรือเขียวไข่กา และท่าเรือพระราม 5

meak3

 

การดำเนินการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ระยะทางทั้งหมด 2,506 กิโลเมตร เพื่อเป็นทางเลือกและอำนวยความสะดวกในการเดินทางที่รวดเร็วขึ้น สำหรับประชาชนและนักท่องเที่ยว โดยเส้นทางที่ 1 คือ เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย จากหนองคายเชื่อมไปประเทศลาวและต่อไปยังคุนหมิง ประเทศจีน เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีน เพื่อเชื่อมโยงระบบรถไฟระหว่างประเทศ และเส้นทางที่ 2 คือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 672 กิโลเมตร เป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ส่วนการดำเนินการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) โดยความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชม. สนามบินอู่ตะเภาสามารถเชื่อกรุงเทพฯ ได้ใน 45 นาที (เทียบกับ 2-3 ชั่วโมง โดยรถยนต์)

การพัฒนาศูนย์การขนส่งชายแดน/พัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค โครงการพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย ผ่านเส้นทาง R3A และเปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งเป็นระบบราง เพื่อขนส่งไปยังท่าเรือ โครงการศูนย์การขนส่งชายแดน จ.นครพนม รองรับการขนส่งสินค้าผ่านถนนสาย R12 โครงการพัฒนาสถานีขนส่งสินค้าภูมิภาค 17 แห่ง เชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางถนนทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

“กระทรวงคมนาคม เดินหน้า One Transport for All มุ่งมั่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งเพื่อความสุขของประชาชนคนไทยทุกคน”

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว