เชื่อมโลจิสติกส์ภาคใต้ ทางหลวงเท 1,500 ล.ขยายพระราม2-มหาชัย

12 มี.ค. 2561 | 04:47 น.
ทล.เดินหน้าโครงการทางหลวงหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) เชื่อมพระราม 2 เปิดทางโลจิสติกส์สู่ภาคใต้ รวมระยะทาง 75 กม. คาดใช้งบกว่า 1 หมื่นล้านบาท แบ่ง 3 ตอนดำเนินการ ประเดิมช่วงแรกสิ้นสุดมหาชัย ใช้งบปี 62 วงเงิน 1,500 ล้านบาท

แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่จังหวัดเพชรบุรีในวันที่ 6 มีนาคม 2561 หวังว่าโครงการสำคัญของกระทรวงคมนาคมจะได้รับการผลักดันและนำรายงานครม.โดยเฉพาะโครงการที่เชื่อมจากกรุงเทพฯและภาคกลางตอนล่างไปสู่พื้นที่โซนภาคใต้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการในส่วนของกรมทางหลวง (ทล.) ถนนหมายเลข 35 (ธนบุรี-ปากท่อ) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มีทั้งโครงการที่พร้อมดำเนินการนำเสนอขออนุมัติเปิดประมูลและโครงการที่อยู่ระหว่างการลงพื้นที่ก่อสร้าง อาทิ รถไฟทางคู่เส้นทางหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร และรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน

TP12-3346-1B “ส่วนใหญ่ยังจัดเป็นข้อ มูลรายงานแผนการพัฒนาภาคกลางตอนล่าง อาทิ งบประมาณประจำปี 2562 จะนำเสนอโครง การก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 35 ตอนพระราม 2 ระยะทาง 10.5 กิโลเมตรให้สามารถเชื่อมต่อกับโครงการทางด่วนช่วงพระราม 3-ดาวคะนอง-วงแหวนรอบนอกกาญจนาภิเษก ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) ที่อยู่ระหว่างการเร่งเปิดประมูลโครงการ”

ด้านแหล่งข่าวของกรมทางหลวงระบุว่า ทล.ยังอยู่ระหว่างการเร่งผลักดันโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ หรือถนนพระราม 2 ซึ่งเป็นทางหลวงที่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี 2516 มีวัตถุ ประสงค์เพื่อเป็นเส้นทางหลักในการคมนาคมขนส่งสู่ภาคใต้ซึ่งจะช่วยย่นระยะทางลงสู่ภาคใต้ได้สั้นกว่าถนนเพชรเกษม ประมาณ 40 กิโลเมตร
โดยมีการก่อสร้างขยายเป็นทางขนาด 8-12 ช่องจราจรแล้วในบางช่วง ปัจจุบันถนนพระราม 2 มีการจราจรประมาณ 1-1.5 แสนคันต่อวัน และยังมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้เกิดปัญหาการจราจรติดขัดในช่วงชั่วโมงเร่งด่วนและวันหยุดในเทศกาลต่างๆ ทล.จึงมีแนวคิดที่จะก่อสร้างทางยกระดับบนทาง หลวงหมายเลข 35 สายธนบุรี-ปากท่อ (ถนนพระราม 2) ในลักษณะรูปแบบทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) ซึ่งมีการควบคุมการเข้า-ออกและระบบจัดเก็บค่าธรรมเนียมผ่านทาง เพื่อแก้ปัญหาการจราจรดังกล่าว และเสริมโครงข่ายทาง หลวงเชื่อมโยงระหว่างพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล กับพื้นที่ภาคใต้ เพื่อให้การเดินทางเป็นไปด้วยความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทาง สามารถลดต้นทุนการขนส่งสู่ภาคใต้ รวมทั้งยังเป็นการเพิ่มศักยภาพด้านการแข่งขันของประเทศอีกด้วย

TP12-3346-2B โดยแนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นจากบริเวณจุดตัดทางหลวงหมายเลข 35 กับทางหลวงพิเศษหมายเลข 9 (ถนนกาญจนาภิเษก) บริเวณทางแยกต่างระดับบางขุนเทียน กิโลเมตรที่ 9+731 ไปบรรจบกับทางหลวงหมายเลข 4 (ถนนเพชรเกษม) บริเวณทางแยกต่างระดับวังมะนาว กิโลเมตรที่ 84+000) อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี รวมระยะทางประมาณ 75 กิโล เมตร โดยมีจุดขึ้น-ลง จำนวน 7 จุด คือ 1. บางขุนเทียน 2. พันท้ายนรสิงห์ 3. มหาชัยเมืองใหม่ 4. สมุทรสาคร 5. บ้านแพ้ว 6. สมุทรสงคราม และ 7. วังมะนาว อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี

“แบ่งเป็น 3 ตอนดำเนินการ ส่วนรูปแบบโครงการเป็นทางหลวงพิเศษเก็บค่าผ่านทาง โดยบางช่วงเป็นทางยกระดับ บางช่วงเป็นทางพิเศษระดับพื้น เพื่อไม่ให้บุคคลภายนอกเข้ามาในพื้นที่ ซึ่งมีเขตทางกว้าง 80 เมตร การพัฒนาโครงการดังกล่าวจะพัฒนาในเขตทางเดิม โดยลงเสาเข็มบนพื้นที่เกาะกลางถนน จุดที่เป็นจุดกลับรถจะมีการเพิ่มพื้นที่ และจะมีการชดเชยค่าเวนคืนที่ดินแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบ ในส่วนงบประมาณของแนวเส้นทางตัวยกระดับทั้งสายประมาณ 7,800 ล้านบาท ส่วนแนวขยายเส้นทางด้านล่างประมาณ 8,100 ล้านบาท โดยในปี 2562 จะดำเนินการถึงช่วงมหาชัยคาดว่าจะใช้งบราว 1,500 ล้านบาท”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,346 วันที่ 8 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว