‘บีทีเอส’เปิดทางโล่งให้กทม. เจรจาขอใช้งบหมื่นล้านบาท

10 มี.ค. 2561 | 14:20 น.
บีทีเอสเปิดทางกทม.เจรจาค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้า(E&M) และค่าดอกเบี้ยรถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายช่วงเหนือ-ใต้วงเงิน 3.2 หมื่นล้านพร้อมดอก เบี้ยหลังสบน. แนะให้กทม.ไปเจรจาทยอยผ่อนปีละ 1,000 ล้านบาทในระยะ 10 ปี บิ๊กบีทีเอสเผยขอดูเงื่อนไขให้ชัดเจนก่อน

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) (บีทีเอส) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ต่อกรณีที่สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) แนะให้กรุงเทพมหานคร (กทม.) ไปเจรจาบีทีเอสเพื่อขอให้ช่วยสนับสนุนค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้า (E&M) รวมดอกเบี้ยโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการและช่วงหมอชิต-คูคตวงเงินรวมกว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ว่ายังไม่มีการติดต่อเจรจาใดๆ ทั้งสิ้นในขณะนี้จากผู้บริหารกทม. เนื่องจากคงเห็นว่าดอกเบี้ยและเงื่อนไขต้องหาแหล่งทุนจากที่สบน.กำหนดเอาไว้ให้ชัดเจนก่อนเพราะดอกเบี้ยจะราคาถูกกว่ามาขอกู้จากเอกชนนั่นเอง

[caption id="attachment_52846" align="aligncenter" width="363"] สุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด สุรพงษ์ เลาหะอัญญา
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่
บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด[/caption]

โดยในเบื้องต้นนั้นยืนยันว่าบีทีเอสพร้อมสนับสนุนงบค่าดอกเบี้ยที่กำหนดวงเงินไว้ราว 1 หมื่นล้านบาทเท่านั้น โดยจะต้องผ่อนชำระ 10 ปีแรกปีละ 1,000 ล้านบาท (ปี 2562-2572) ส่วนหลังจากนั้นกระทรวงการคลังจะจัดหาเงินกู้ต่อให้กทม.เพื่อชำระค่า E&M ดังกล่าว ซึ่งจะทำให้ กทม. สามารถประหยัดดอกเบี้ยไปได้ประมาณ 1,500 ล้านบาท

สำหรับเงินที่จะนำไปลงทุนโครงการระดับแสนล้านบาทบีทีเอสสามารถจัดหาได้ เบื้องต้นกรณีนี้มีการสอบถามข้อมูลกับบีทีเอสเบื้องต้นเท่านั้น แต่บีทีเอสไม่ใช่สถาบันการเงิน อีกทั้งระหว่างช่วงนี้ไปถึงปี 2573 มีดอกเบี้ยเกิดขึ้นซึ่งสบน. อยากให้กทม.เจรจาบีทีเอสให้สนับสนุน ดังนั้นคงต้องขอดูเงื่อนไขที่กทม.จะยื่นให้บีทีเอสพิจารณาก่อน ยืนยันว่าบีทีเอสช่วยได้แต่ดอกเบี้ยจะสูงกว่าแหล่งทุนที่คลังจัดหามา เช่นเดียวกับค่าติดตั้งงานระบบไฟฟ้าซึ่งสบน.ไม่สามารถให้กทม.กู้ต่อเพื่อชำระค่าดอกเบี้ยในระยะ 10 ปีแรกนี้ได้จึงให้กทม.เจรจากับบีทีเอสเพื่อขอให้ช่วยชำระค่างานติดตั้งระบบไฟฟ้าจำนวน 2.2 หมื่นล้านบาทในปี 2563

“กทม.คงต้องไปปรับกระ บวนการตามที่คณะกรรมการจัดระบบการจราจรทางบก (คจร.) ให้ความเห็นไปเมื่อการประชุมครั้งล่าสุดที่ผ่านมา หลังจากนั้นก็ต้องนำเสนอสภากทม.เห็นชอบต่อไป แต่ไม่กระทบระยะเวลาให้บริการเพราะกทม.ได้ว่าจ้างให้บีทีเอสเดินรถไปแล้วเมื่อปี 2560 ที่ผ่านมาโดยบริษัทกรุงเทพธนาคมจำกัด ได้ว่าจ้างวงเงิน 1.4 แสนล้านบาทต่อระยะเวลาให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง 25 ปีเพราะรัฐบาลและกทม.ต้องการให้สามารถเปิดเดินรถในเดือนธันวาคม 2561 ตามแผน”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,346 วันที่ 8 - 10 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว