กพช. เตรียมเปิดขายซองประมูล 'เอราวัณ-บงกช'

08 มี.ค. 2561 | 07:41 น.
-8 มี.ค. 61- นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 1/2561 (ครั้งที่ 14) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน โดยที่ประชุม กพช. ได้มีมติรับทราบในหลักการเกี่ยวกับแนวทางการบริหารจัดการแหล่งก๊าซธรรมชาติที่สัมปทานจะสิ้นอายุ ในปี พ.ศ. 2565-2666 สรุป ดังนี้

 

[caption id="attachment_266299" align="aligncenter" width="503"] ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน[/caption]

1.รับทราบการพิจารณาของคณะกรรมการปิโตรเลียม ที่ได้ประเมินว่า ปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติที่มีอยู่ในแต่ละหลุมและโอกาสพบปิโตรเลียมเชิงพาณิชย์ของแหล่งเอราวัณและบงกชนั้น เข้าตามหลักเกณฑ์การใช้สัญญาแบ่งปันผลผลิตในการบริหารจัดการหลังจากสัมปทานสิ้นสุดอายุลง

2.รับทราบในหลักการข้อเสนอของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ในการกำหนดเงื่อนไขที่ให้ผู้รับสัมปทานรายเดิมชำระค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนสิ่งติดตั้งที่จะส่งมอบให้รัฐตามสัญญาสัมปทานตามสัดส่วนของทรัพยากรปิโตรเลียมที่ได้ผลิตไปแล้ว และที่คงเหลือหลังการส่งมอบ


app-Arthit_01

3.รับทราบในหลักการเงื่อนไขหลักที่จะกำหนดในข้อเสนอของผู้เข้าร่วมประมูล ดังนี้
- กำหนดพื้นที่สำหรับการประมูลแหล่งเอราวัณ ตามสัญญาสัมปทานเลขที่ 1/2515/5 และเลขที่ 2/2515/6 ซึ่งจะสิ้นอายุสัมปทาน วันที่ 23 เมษายน 2565 รวมเป็นแปลงสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่จะบริหารภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต 1 สัญญา (แปลง G1/61) และให้เสนอปริมาณผลิตขั้นต่ำ 800 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี
- กำหนดพื้นที่สำหรับการประมูลแหล่งบงกช ตามสัญญาสัมปทาน เลขที่ 5/2515/9 ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานวันที่ 23 เมษายน 2565 และสัญญาสัมปทาน เลขที่ 3/2515/7 ซึ่งจะสิ้นสุดอายุสัมปทานวันที่ 7 มีนาคม 2566 รวมแปลงสำรวจและผลิตปิโตรเลียมที่จะบริหารภายใต้สัญญาแบ่งปันผลผลิต 1 สัญญา (แปลง G2/61) และให้เสนอปริมาณผลิตขั้นต่ำ 700 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 10 ปี
- ให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอราคาก๊าซธรรมชาติ โดยอ้างอิงราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในปัจจุบันตามสูตรราคาที่จะกำหนดในเอกสารเงื่อนไขการประมูล
- ให้ผู้เข้าร่วมประมูลเสนอสัดส่วนการแบ่งกำไรให้แก่รัฐ ซึ่งจะต้องไม่ต่ำกว่า 50%

4.รับทราบในหลักการของแผนการบริหารจัดการการประมูล โดยเริ่มประกาศเชิญชวนในเดือนเมษายน โดยคาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญากับผู้ชนะการประมูลได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562


บาร์ไลน์ฐาน

นอกจากนี้ กพช. เห็นชอบการปรับลดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เพื่อเป็นการผ่อนภาระประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการต่าง ๆ ในเรื่องต้นทุนรายจ่าย ที่อาจจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคานํ้ามันในตลาดโลกที่อาจปรับตัวสูงขึ้น และด้วยฐานะการเงินของกองทุนฯ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 มีอยู่ในระดับสูงถึงประมาณ 40,000 ล้านบาท ที่ประชุม กพช. เห็นชอบการปรับลดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ตามที่คณะกรรมการกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเสนอ จากปัจจุบันที่เก็บ 0.25 บาท/ลิตร คงเหลือ 0.10 บาท/ลิตร ลดชั่วคราวเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งในระยะเวลาดังกล่าว กองทุนฯ ก็ยังมีเงินทุนสำรองเพียงพอที่จะสามารถดำเนินกิจกรรมตามปกติได้อย่างต่อเนื่อง

สำหรับเงินส่วนที่ลด 0.15 บาท/ลิตร จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้บริโภคได้ 5,350 ล้านบาทต่อปี ซึ่งถ้าเก็บแบบนี้ กิจกรรมกองทุนฯ จะมีเงินรายรับสำหรับใช้ตามแผนการดำเนินงานของกองทุนฯ ประมาณปีละ 10,000 ล้านบาท โดยการปรับลดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนฯ นํ้ามันเบนซิน นํ้ามันแก๊สโซฮอล และนํ้ามันดีเซล เริ่มจัดเก็บตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และปรับอัตราการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนฯ เพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

นอกจากนี้ กพช. เห็นชอบกฎกระทรวงกำหนดประเภท หรือขนาดของอาคาร และมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการ ในการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. .... (Building Energy Code)


TP09-3342-1A

ที่ประชุม กพช. เห็นชอบการออกกฎกระทรวงฯ เพื่อเป็นมาตรการบังคับใช้ขั้นต่ำกับอาคารขนาดใหญ่ที่มีปริมาณการใช้พลังงานสูง เรียกว่า เกณฑ์มาตรฐานประสิทธิภาพด้านพลังงานในอาคาร (Building Energy Code) ด้วยการกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานกับอาคาร ที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลงตั้งแต่เริ่มต้นออกแบบอาคาร เพื่อให้อาคารมีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกำหนดให้อาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลง 9 ประเภทอาคาร ได้แก่ 1) สำนักงาน 2) โรงแรม 3) โรงพยาบาล 4) ศูนย์การค้า 5) โรงมหรสพ 6) สถานบริการ 7) อาคารชุมนุมคน 8) อาคารชุด และ9) สถานศึกษา ที่มีขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป ต้องออกแบบให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่ระบุในกฎกระทรวงฯ ได้แก่ ระบบกรอบอาคาร ระบบปรับอากาศ ระบบไฟฟ้าแสงสว่าง ระบบผลิตน้ำร้อน และการใช้พลังงานหมุนเวียน โดยให้มีการบังคับใช้กับอาคารขนาดใหญ่ที่มีความพร้อมก่อนและทยอยบังคับใช้กับอาคารทั้ง 9 ประเภท ภายใน 3 ปี โดยมีกรอบการดำเนินงาน ดังนี้

- ปีที่ 1 บังคับใช้กับอาคาร ขนาดตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
- ปีที่ 2 บังคับใช้กับอาคาร ขนาดตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตร ขึ้นไป
- ปีที่ 3 บังคับใช้กับอาคาร ขนาดตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตร ขึ้นไป

ทั้งนี้ การกำหนดมาตรฐานด้านพลังงานของอาคารที่จะก่อสร้างใหม่หรือดัดแปลง จะทำให้การใช้พลังงานภายในอาคารมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประหยัดพลังงานได้มากกว่าร้อยละ 10 โดยมีเป้าหมายว่าภายใน 20 ปี จะสามารถประหยัดไฟฟ้าได้รวมประมาณ 13,700 ล้านหน่วย หรือคิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 47,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ร่างกระกฎกระทรวง BEC นี้ จะต้องนำเสนอ ครม. พิจารณาตามลำดับต่อไป


……………….
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
เปิด TOR ปิโตรเลียม! บีบ กพช. เร่งประมูล
พลังงานชงทีโออาร์เอราวัณ-บงกชเข้ากพช.มี.ค.นี้

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว