ทางออกนอกตำรา : เบื้องลึก โรงงานยาสูบถังแตก!

07 มี.ค. 2561 | 13:15 น.
255645 6139601 อกอีแป้นจะแตกตาย เมื่อจู่ๆ คุณดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ ผู้อำนวยการโรงงานยาสูบ ออกมาเปิดเผยอย่างไม่อายว่า ตั้งแต่มีการปรับภาษีสรรพสามิตใหม่มา ทำให้โรงงานยาสูบต้นทุนหายกำไรลดฮวบฮาบ จึงได้เสนอเรื่องไปยังกระทรวงการคลังเพื่อขอให้ช่วยกู้เงินมาใช้ดำเนินงานในโรงงานยาสูบใน 2 เรื่องหลัก

1.ขอกู้เงินมาใช้ในการลงทุนติดตั้งเครื่องจักรที่โรงงานยาสูบแห่งใหม่ในปีนี้ 2,900 ล้านบาท จากงบลงทุนทั้งหมด 7,000 ล้านบาท

2.ขอกู้เงินมาใช้เสริมสภาพคล่องที่จะเริ่มมีผลกระทบตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป เพื่อนำมาจ่ายเป็นเงินเดือนให้กับพนักงาน

เธอบอกว่า นี่เป็นครั้งแรกที่โรงงานยาสูบต้องขอกู้เงิน โดยให้กระทรวงการคลังมาช่วยคํ้าประกันให้
1520508955887 สาเหตุใหญ่ คุณดาวน้อยบอกว่า เป็นผลกระทบจากภาษียาสูบใหม่ ทำให้โรงงานยาสูบไม่มีกำไร จากเดิมที่มีสภาพคล่องเพิ่มเข้ามาเดือนละ 4,000 ล้านบาท แต่ตอนนี้ไม่มีเข้ามาเลย และเหลือสภาพคล่องในการใช้จ่ายของโรงงานยาสูบไม่ถึง 5,000 ล้านบาท พอใช้จ่ายไปถึงพฤษภาคมนี้เท่านั้น จึงจำเป็นต้องกู้มาใช้จ่าย คาดว่าจะเป็นหลักพันล้านบาท

เธอบอกว่า ตั้งแต่ปรับภาษีสรรพสามิตใหม่ ทำให้ส่วนแบ่งการตลาดในปีนี้ลดฮวบลงเหลือ 56% จากเดิมมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ไม่ตํ่ากว่า 80% จำนวนผลิตลดลงเหลือ 18,000 ล้านมวน จากเดิม 30,000 ล้านมวน

ใครตกใจหรือไม่ผมไม่รู้ แต่ผมเชื่อว่า บรรดาพนักงานโรงงานยาสูบตกใจ ขวัญหนีดีฝ่อกันทั้งคลองเตย
10-41 อย่าลืมว่าตลอดระยะ 10-20 ปีมา โรงงานยาสูบถือเป็นรัฐวิสาหกิจชั้นดี จ่ายเงินเข้าคลังปีละ 7,000-9,000 ล้านบาท ติดอันดับ 1 ใน 10 ของรัฐวิสาหกิจไทยมาตลอด จ่ายเงินโบนัสให้พนักงานปีละไม่น้อยกว่า 5-10 เดือนมาต่อเนื่อง ปีก่อนโน้นจ่ายโบนัสไป 7 เดือน เพียงแค่ 4 เดือนหลังภาษีสรรพสามิตใหม่บังคับใช้กลับไม่มีเงินเหลือมาจ่ายแม้แต่เงินเดือนพนักงาน

ไม่ตกอกตกใจกันก็เกินเลยไปแล้วครับพี่น้อง...
แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ
w644 ปีที่แล้วโรงงานยาสูบร่อนหนังสือ “ปกแดง” ถึงกระทรวงการคลัง และกรมสรรพสามิต เพื่อให้เร่งแก้ปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎกระทรวงกำหนดอัตราภาษียาสูบ ภายใต้พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560 โดยเสนอให้กลับไปใช้โครงสร้างอัตราภาษีเดิมก่อนที่กฎหมายนี้จะบังคับใช้ก่อน และจะต้องมีมาตรการป้องกันทางด้านราคา (ดัมพ์ราคา) เมื่อจะใช้โครงสร้างภาษีใหม่ด้วย

ตอนนั้นผมจำได้คุณดาวน้อยบอกว่า โรงงานยาสูบประเมินว่าจะทำให้ในปีงบประมาณ 2561 นี้ อาจประสบภาวะขาดทุน 1,575 ล้านบาท จนไม่มีเงินนำส่งรัฐ จากปกติที่ต้องนำส่ง 88% ของกำไรสุทธิทุกปี อย่างเช่น ในปีงบประมาณ 2560 ที่มีกำไรสุทธิ 9,344.37 ล้านบาท ต้องนำส่งรายได้ 8,816.56 ล้านบาท

45458548 หากสถานการณ์ยังคงเป็นไปเช่นเดิม จะทำให้โรงงานยาสูบขาดทุนอย่างต่อเนื่อง กระทั่งต้องเข้าสู่แผนฟื้นฟูกิจการในที่สุด รวมถึงจะส่งผลกระทบต่อการย้ายโรงงานไปอยู่ที่สวนอุตสาหกรรมโรจนะ จ.พระนครศรีอยุธยา ตามแผนเดิม เนื่องจากพนักงานขาดความมั่นใจในองค์กร เนื่องจากรายได้มีแนวโน้มลดลง และเกิดการต่อต้าน ซึ่งหากไม่สามารถย้ายโรงงานได้ตามแผน จะยิ่งทำให้โรงงานยาสูบได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง

ผมจำได้ตอนนั้นต่อรองกันหลายรอบแต่สุดท้ายกระทรวงการคลังก็ไม่ถอย....ตอนนี้ฝีแตกครับ...
แต่ใครก็ไม่เชื่อว่าภายในไม่ถึงเวลา 4-5 เดือน โรงงานยาสูบจะถังแตกไปได้

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 อีกทั้งหากไปดูโครงสร้างภาษีบุหรี่เดิม เก็บจากปริมาณ หรือ คิดจากราคา แล้วแต่ว่า อย่างไหนจะเก็บภาษีได้มากกว่า ที่ผ่านมาคือ คิดจากราคาหน้าโรงงาน และราคานำเข้า สำหรับบุหรี่ต่างประเทศ ซึ่งเต็มเพดาน 90% แล้ว กรมสรรพสามิต จึงปรับปรุงการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตทั้งระบบ เปลี่ยนโครงสร้างภาษีบุหรี่ใหม่

ภาษีใหม่ ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมา เก็บภาษีทั้งจากปริมาณ และราคาขายปลีก คือ เก็บภาษีมวนละ 1.20 บาท หรือซองละ 24 บาท เท่ากันทั้งบุหรี่ไทยของโรงงานยาสูบ และบุหรี่นอก บวกด้วยภาษีที่คิดตามราคาขายปลีก บุหรี่ที่ขายซองละไม่เกิน 60 บาท เสียภาษี 20% เป็นเวลา 2 ปี หลังจากนั้นจะขึ้นภาษีเป็น 40% เพื่อให้โรงงานยาสูบมีเวลาปรับตัว

ส่วนบุหรี่ที่ขายกันซองละ 60 บาทขึ้นไป เสียภาษี 40% ทันที
Oral_Cancer ตรงนี้แหละครับคือตัวปัญหา ในการจัดการ เพราะที่ผ่านมาโรงงานยาสูบ ผูกขาดตลาดบุหรี่ตลาดล่าง ในระดับราคาซองละกว่า 40-50 กว่าบาท แต่เพียงผู้เดียวมายาวนาน มีบุหรี่ยี่ห้อต่างๆ ขายในตลาดอยู่ 10-16 ยี่ห้อ

ขณะที่บุหรี่ต่างประเทศขายกันซองละ 70 บาทขึ้นไป
White_Cigarette_Box_PNG_Clipart-925 พอเป็นเช่นนี้เกิดอะไรขึ้นรู้มั้ยครับโรงงานยาสูบสั่งขึ้นราคาบุหรี่ตลาดล่างเป็นซองละ 60 บาท เกือบทุกยี่ห้อ เพราะต้องเสียภาษีเพิ่มขึ้น

ขณะที่บุหรี่นอกหลายยี่ห้อลดราคาขายปลีกจากกว่า 70-75 บาท ลงมาเหลือเพียงซองละ 60 บาท เพื่อเสียภาษีในอัตรา 20%

ลูกค้า ชาวบ้านทั่วไป สิงห์อมควันทั้งหลายที่เคยสูบบุหรี่ไทย หันมาสูบบุหรี่นอกเกลื่อนเมืองเพราะราคา 60 บาทเท่ากัน แต่ได้ยกระดับการสูดควันขึ้นไปสูบบุหรี่นอกกันจำนวนมาก

ตั้งแต่บัดนั้นจนบัดนาวบุหรี่นอกยี่ห้อที่ใช้กลยุทธ์ด้านราคาแบบ ขายดีเทนํ้าเทท่า จนหลายยี่ห้อขาด

บริษัทบุหรี่ต่างประเทศที่ปรับลดราคาลงมาแย่งชิงส่วนแบ่งทางการตลาดของบุหรี่ไทยไปมาก จนทำให้ยอดขายบุหรี่ของโรงงานยาสูบลดลงเกือบ 50%
sigara-640x320 แถมการลดราคาขายลงมา 10- 12-15 บาท ต่อซอง แต่เสียภาษีถูกลง 16 บาท เหลือกินส่วนต่างถึง 1-4 บาทต่อซองได้อีก รับไป 2 ต่อ จากการปรับราคาเพื่อเลี่ยงการเสียภาษีสรรพสามิตรอบใหม่ที่คิดจากราคา

ขณะที่ยอดขายบุหรี่ของโรงงานยาสูบตั้งแต่เดือนตุลาคม 2560 เป็นต้นมาถึงปัจจุบัน ลดลงอย่างน่าตกใจ ยอดขายของโรงงานยาสูบลดลง จึงน่าจะมาจากการวางแผนกลยุทธ์ทางการตลาดมากกว่าโครงสร้างภาษีใช่หรือไม่

แล้วบรรดานายทหาร คนของกระทรวงการคลัง ที่ไปนั่งเป็นกรรมการในโรงงานยาสูบจะทำอย่างไร....ใครช่วยบอกที

ชมย้อนหลัง...
ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ : เบื้องหลังยาสูบถังแตก พิษภาษีหรือบริหาร?


ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ | อะไรทำให้ 'โรงงานยาสูบ' ถังแตก! "ภาษี-บริหาร" (05/03/61)



..........................
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา/ หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ/ ฉบับ 3346 ระหว่างวันที่ 8-10 มี.ค.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว