บอร์ด SMEs อนุมัติงบ 1.2 พันล้านหนุนเอสเอ็มอี

08 มี.ค. 2561 | 03:46 น.
 

บอร์ด SMEs อนุมัติงบประมาณปี 2561 วงเงิน 1,219 ล้านบาท เดินหน้างานบูรณาการส่งเสริม SME 4.0 ตามยุทธศาสตร์ชาติ  หนุนใช้ดิจิทัลเป็นเครื่องมือเชื่อมโยงสู่ฐานรากระดับชุมชน  ตั้งเป้าสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจโดยรวมกว่า 3.7 พันล้านบาท

[caption id="attachment_266208" align="aligncenter" width="503"] นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล[/caption]

นายสุวรรณชัย โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เฉพาะกิจ) ครั้งที่ 1/2561 เมื่อวันที่ 7 มี.ค. 2561  ซึ่งมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฯ มีมติเห็นชอบจัดสรรงบประมาณจำนวน 1,219 ล้านบาท เพื่อบูรณาการงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้สอดคล้องกับมาตรการเร่งด่วนในการช่วยเหลือเอสเอ็มอีตามยุทธศาสตร์ชาติใน 4 แนวทาง คือ 1) สร้างและพัฒนาวิสาหกิจเริ่มต้นและผู้ประกอบการรายใหม่ (Startup) วงเงิน 141.51 ล้านบาท มีเป้าหมายพัฒนาบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ 10,000 ราย และสร้างนักรบเศรษฐกิจใหม่เข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 3,000 กิจการ

,2) ส่งเสริม SME กลุ่มทั่วไป (Regular) ให้มีศักยภาพมากขึ้นและให้ความช่วยเหลือ SME ที่ประสบปัญหาทางธุรกิจ (Turnaround) วงเงิน 505.88 ล้านบาท  ตั้งเป้าพัฒนาเครือข่าย 33 เครือข่าย ส่งเสริมผู้ประกอบการ 74,032 ราย พัฒนาผลิตภัณฑ์และส่งเสริมการขาย 101,482 ผลิตภัณฑ์ และจัดงานประกวด 2 งาน 3) ส่งเสริม SME ที่มีศักยภาพ (Strong) ให้มีความสามารถในการแข่งขันได้มากขึ้น วงเงิน 40.76 ล้านบาท ตั้งเป้าให้ความรู้ด้านการตลาด 2,000 ราย และสนับสนุนด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศรวม 2,000 กิจการ

และ 4) พัฒนาปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการประกอบธุรกิจเพื่อการส่งเสริม SME (Ecosystem) 531.28 ล้านบาท โดยจัดทำแผนการดำเนินงาน 2 แผน ศึกษาวิจัยและจัดทำรายงานที่เป็นประโยชน์จำนวน 23 เรื่อง จัดทำฐานข้อมูลสนับสนุนการประกอบธุรกิจให้แก่ SME 7 ระบบ สร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างประเทศจำนวน 25 เครือข่าย และให้คำแนะนำปรึกษาแก่ SME จำนวน 188,850 ราย   โดยภาพรวมในปีนี้คาดว่า SME จะสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจไม่น้อยกว่า 3,760 ล้านบาท ผู้ประกอบการแต่ละรายมียอดขายเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ รวมถึงความสามารถในการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าและบริการที่ร้อยละ 20

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีมติเห็นชอบการจัดสรรเงินกองทุนฯ เพื่อดำเนินโครงการศึกษาเพื่อขับเคลื่อนการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจ (Doing Business) ระยะที่ 2 วงเงินงบประมาณ 30 ล้านบาท ให้แก่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) เพื่อสนับสนุนการยกร่างกฎหมายที่เกี่ยวกับหลักประกันธุรกิจใหม่ตามมาตรฐานสากล การศึกษาและแผนปฏิบัติการแนวทางการยกระดับการอำนวยความสะดวกในการประกอบธุรกิจให้ดียิ่งขึ้น และแนวทางการพัฒนาการเข้าถึง  E-Government  ด้านต่าง ๆ โดยผลการดำเนิน

web_link_95

“โครงการในระยะที่ 1 ก.พ.ร. มีข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาบริการของหน่วยงานภาครัฐให้มีความง่ายต่อการประกอบธุรกิจจำนวน 79 กิจกรรม และมีหน่วยงานต่าง ๆ ปรับปรุงประสิทธิภาพตามข้อเสนอแนะ 26 กิจกรรม ส่งผลให้ประเทศไทยสามารถปรับอันดับประเมินความยากง่ายในการประกอบธุรกิจจากอันดับที่ 46 ในปี 2560 เป็นอันดับที่ 26 ในปี 2561 โดยมีตัวชี้วัดที่ได้รับการปรับปรุง 8 ด้านจาก 10 ด้าน และติด 1 ใน 10 ของประเทศที่มีการปรับปรุงมากที่สุดอีกด้วย”