LPC ร่วมส่งเสริมคุณภาพชีวิตสตรีด้อยโอกาส

07 มี.ค. 2561 | 05:19 น.
ตลอดระยะเวลา 28 ปีของการพัฒนาอาคารชุดพักอาศัย บริษัท แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (LPN) ไม่เพียงแต่มุ่งพัฒนาคุณค่าผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้ “ลุมพินี” เป็นแบรนด์ที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างตรงใจสร้าง “ชุมชนน่าอยู่” (Livable Community) และความสุขที่แท้จริงของการอยู่อาศัยเท่านั้น แต่ยังมุ่งเน้นให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มสตรีด้อย โอกาส ซึ่งจากข้อมูลของสำนักกิ จการสตรีและสถาบันครอบครัว กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ สรุปจำนวนเหตุการณ์ความรุนแรงใน ครอบครัวประจำปี 2551 - 2556 พบว่าปี 2554 เป็นปีที่มีเหตุการณ์ความรุนแรง ในครอบครัวสูงที่สุด คือ จำนวน 1,096 และหลังจากนั้นตัวเลขได้สูงขึ้น ถึงประมาณ 1,200 เหตุการณ์ ส่งผลให้สตรีที่โดนกระทำความรุนแรงทางด้านร่างกายและจิตใจ รวมถึงการเอารัดเอาเปรียบจากสัง คมเหล่านั้นเป็นผู้ด้อยโอกาสในสังคมไทย

ภาพพนักงาน LPC (1) ด้วยเหตุนี้ จึงได้จุดประกายให้ LPN  จัดตั้งบริษัทเพื่อสังคมในนามบริษัท ลุมพินี พร็อพเพอร์ตี้ เซอร์วิส แอนด์ แคร์ จำกัด (LPC) ตามนโยบาย “Social Enterprise” ซึ่งนับว่าเป็นมิติใหม่ในการจ้างงานด้านบริการทำความสะอาดที่มุ่งเน้นความยั่งยืนและเปิดโอกาสให้กับกลุ่มสตรีด้ อยโอกาสในสังคมไทยเป็นหลัก การบริหารดำเนินการในรูปแบบที่ LPN ลงทุนโดยไม่ปันผลกลับมาที่ตนเอง แต่จะปันผลกำไรกลับคืนสู่พนักงาน LPC ในรูปแบบค่าตอบแทนและสวัสดิ การต่างๆ ที่มากกว่าบริษัททั่วไป หนึ่งในนั้น คือ เงินเดือนที่สูงกว่ามาตรฐานค่าแรงขั้นต่ำถึง 10% โดยจุดเริ่มต้นของธุรกิจนี้เกิด จากปัญหาการจัดจ้างแม่บ้านลงพื้ นที่คอนโดมิเนียม ซึ่งในตอนแรกจำเป็นต้องอาศัยรูป แบบบริษัททำความสะอาดต่างๆ แต่พบว่ามีกติกาที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ผู้ที่เข้ามาทำงานไม่สามารถรับงานต่อเนื่องในระยะยาวได้ จึงเป็นแนวคิดในการก่อตั้ง LPC เมื่อปี 2554

ภาพพนักงาน LPC (2) รูปแบบการว่าจ้างของ LPC ยังแตกต่างออกไป โดยในตลาดบริการทำความสะอาดทั่วไปจะคิดค่าจ้างเป็นรายคน แต่ LPC เปลี่ยนวิธีรับงานเป็นระบบเหมา บริหารจัดการคนให้เหมาะสมกับพื้ นที่ในการทำความสะอาดแต่ละครั้ง ทำให้สามารถลดจำนวนคนลง และเพิ่มรายได้ให้กับพนักงานในการว่าจ้างครั้งนั้นๆ  ได้ นอกเหนือไปจากการสร้างงาน สร้างอาชีพเพื่อให้พนักงาน LPC มีรายได้และเลี้ยงดูครอบครัวได้แล้ว ยังมุ่งเน้นให้การศึกษาขั้นพื้น ฐานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้วยการจัดให้มีระบบ“การศึกษานอกโรงเรียน” จัดครูสอนหนังสือด้านการอ่านและ การเขียนให้กับพนักงานที่ยังไม่ สามารถอ่านออกเขียนได้ อีกส่วนหนึ่งคือการมอบอาชีพเสริม เช่น การนวดแผนไทย ด้วยการส่งพนักงานไปเรียนกับครู ผู้เชี่ยวชาญ เป็นการติดอาวุธให้ ด้วยหวังว่าแม้ออกจากงานไป พวกเขาจะมีวิชาความรู้ติดตัวและ นำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ในอนาคต

ภาพพนักงาน LPC และจากการที่ LPC ได้สร้างโอกาสและคุณภาพชีวิตที่ ดีให้กับพนักงานกลุ่มนี้ เมื่อมีโอกาสและว่างจากงานประจำ พวกเขาจึงได้รวมตัวกันทำความดีต อบแทนสังคม ด้วยการทำความสะอาดบริเวณรอบๆ โครงการที่ทำงานอยู่ เช่น ป้ายรถเมล์ สะพานลอย วัด เพื่อสร้างทัศนียภาพให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น

ภาพพนักงาน LPC (5) ปัจจุบัน LPC มีพนักงานรวม 1,200 คน เป้าหมายต่อไปของบริษัท คือ การดำเนินการให้ได้ มาตรฐานการบริการสากล ISO 9001:2015 เพื่อขยายงานบริการออกไปสู่ภายน อกมากยิ่งขึ้น อันจะเป็นหนทางหนึ่งที่สร้างโอก าส สร้างศักดิ์ศรี และสร้างความสุข ให้กับสตรีเหล่านี้อย่างยั่งยืน ต่อไป