สกว.กับบทวิจัยโครงสร้างพื้นฐาน ความท้าทายการพัฒนา WEC

07 มี.ค. 2561 | 23:33 น.
เมื่อช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2561 ที่ผ่านมา “ฐานเศรษฐกิจ” ได้มีโอกาสสัมภาษณ์พิเศษ ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบูรณาการวิจัยและความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ได้สาระดีๆด้านการพัฒนาเมือง การพัฒนาระบบขนส่งหรือโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาเศรษฐกิจของจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และตาก มานำเสนอในหลายประเด็น โดยเฉพาะจากการที่สกว.ได้เข้าไปร่วมจัดประชุมระดมความเห็นแนวทางการสนับสนุนการวิจัยเพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก (Western Economic Corridor : WEC)

[caption id="attachment_265077" align="aligncenter" width="351"]  ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม ผศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม[/caption]

++แนวทางขับเคลื่อนบทวิจัย
ผศ.ดร.ปุ่น ได้ชี้ให้เห็นถึงขุมกำลังที่จะไปขับเคลื่อนบทวิจัยด้านการพัฒนาเศรษฐกิจให้เกิดผลเป็นรูปธรรมว่า ได้จัดให้มีคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก นำโดยนายสิงห์ พงษ์สุทธิ์ ที่ปรึกษา WEC โดยได้จัดประชุมคณะกรรมการ WEC จำนวน 22 คนขึ้นที่จังหวัดสุโขทัย ไปเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา การจัดประชุมในครั้งนี้สืบเนื่องจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรม การพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) ดำเนินการศึกษาระเบียงเศรษฐกิจ WEC ดังกล่าว

“การผลักดันและหนุนเสริมระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก นับเป็นความท้าทายอย่างมากต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต กล่าวคือ WEC มีข้อเด่นและข้อจำกัดในตัวเอง โดยความท้าทายดังกล่าวได้แก่ ความสามารถในการยกระดับ corridor ให้เป็น logistic ซึ่งปัจจัยที่จะช่วยได้นั่นคือ โครง สร้างพื้นฐานสำคัญสำหรับการเป็น WEC ที่มีคุณภาพจะต้องผลักดันในสาขาอะไรบ้าง”

TP12-3345-2A ++การจัดประชุม
ครั้งนี้ผศ.ดร.ปุ่นยังชี้ให้เห็นรายละเอียดอีกว่า จุดที่เห็นตรงกันในที่ประชุมคือ ความสามารถสูงสุดในการเชื่อมต่อการเดินทางระหว่าง 3 เมือง ได้แก่ พิษณุโลก สุโขทัย และแม่สอด(จ.ตาก) และความสามารถในการเชื่อมต่อกับประเทศคู่ค้า ได้แก่ เมียนมา อินเดีย กลุ่มประเทศในเอเชียใต้ ซึ่งโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมและขนส่งที่มีอยู่นั้นไม่เพียงพอ เช่นเดียวกับปัจจัยด้านข้อมูลพร้อมองค์ความรู้ในสาขาที่เกี่ยวข้อง

โดยในส่วนปัจจัยหลักที่จำเป็นจะต้องลงทุนเพื่อกระตุ้นการพัฒนา WEC แบ่งออกเป็น 2 ส่วนได้แก่ ปัจจัยแรก ระเบียงเศรษฐกิจต้องมีชุดความรู้ที่ชัดเจน ปัจจัยที่ 2 ความสามารถในการผลักดันให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เป็นการสนับสนุนให้เกิด Infra state ภายในระเบียงเศรษฐกิจที่มีประสิทธิภาพ จนเมื่อถึงจุดหนึ่งต้องพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่อการขนส่งและการเดินทางให้ถึงท่าเรือ ท่าอากาศยาน และศูนย์การขนส่งทางราง

“จุดแข็งของระเบียงเศรษฐกิจ WEC คือการเชื่อมต่อ แม่สอด ตาก สุโขทัย พิษณุโลกเข้าด้วยกัน เพื่อให้บริการกลุ่มลูกค้าส่วนใหญ่ที่มาจากเมียนมาและเอเชียใต้ หน้าที่หลักของระเบียงเศรษฐกิจ WEC คือการเป็นพื้นที่ที่เชี่ยวชาญหรือชำนาญการในการเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านฝั่งตะวันตก ระเบียงเศรษฐกิจนี้จึงมีความได้เปรียบในการเป็น Hub ฝั่งตะวันตก”

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ ++องค์ประกอบสำคัญมีอะไร
ทั้งนี้ผศ.ดร.ปุ่นยังกล่าวถึงองค์ประกอบสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจอีกว่าจำเป็นจะต้องกระตุ้นให้เกิดกิจกรรมใน 4 ส่วน ประกอบด้วย

1.People Connectivity ได้แก่ การเชื่อมต่อระหว่างคนและสินค้าในระเบียงด้วยกันเอง และระหว่างระเบียงกับลูกค้าภายนอก นโยบายหลักที่ต้องส่งเสริม People Connectivity จะเกิดขึ้นจากการแบ่งปันทรัพยากร ซึ่งจะทำให้เกิดความเชื่อมั่น และสามารถสร้าง Area Cooperative ที่เป็นฐานข้อมูลและฐานการพัฒนากลไกให้กับประชาชนในพื้นที่

2.Logistic Connectivity ได้แก่ การเชื่อมต่อทางด้านกายภาพ ด้านการเงิน จะต้องสร้างกรอบการพัฒนาที่ชัดเจน ซึ่งจะได้จากการวิจัยเชิงลึก

3.Trade Facility ได้แก่ การทำให้เห็นภาพว่า ทรัพยากรสามารถผสมผสานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าขายด้วยกันเองหรือกับประเทศด้านตะวันตก และ 4.Investment Connectivity ได้แก่ การกระตุ้นให้ไทยร่วมลงทุนกับประเทศอื่นๆ เมื่อมีการลงทุนแล้วจะมีการดึงเอาประชากรที่อยู่ใน corridor เข้ามาช่วยสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจ

บาร์ไลน์ฐาน “ทั้งหมดนี้คือเค้าโครงการพัฒนาเศรษฐกิจของ WEC Corridor เป็นกลไกสำคัญในการประสานส่วนต่างๆในพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่ง สกว.จะให้การสนับสนุนเงินทุนและทรัพยากรในการวิจัยเพื่อยกระดับองค์ความรู้และสร้างฐานข้อมูลที่จำเป็น พร้อมสนับสนุนการสร้างเครือข่ายการเชื่อมต่อที่เป็นปัจจัยกระตุ้นการพัฒนา เพื่อให้ WEC เดินหน้าสู่เป้าหมายที่ต้องการ”

ทางด้านแนวทางปฏิบัตินั้น ผศ.ดร.ปุ่นกล่าวว่าได้มอบหมายให้คณะกรรมการ WEC ที่ประกอบด้วย หอการค้า สภาอุตสาหกรรมฯ ชมรมธนาคาร และสภาการท่องเที่ยว ฯจัดทำรายละเอียดโครงการที่ระบุความจำเป็นในการศึกษาวิจัยเพื่อขับเคลื่อนการลงทุนทางเศรษฐกิจแล้วนำเสนอตรงต่อสกว. ต่อจากนั้นจะมีการประชุมสรุปแนวทางในการวิจัยและการคัดเลือกหัวข้อพร้อมคณะผู้วิจัยต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,345 วันที่ 4 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว