ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จะเชิญพรรคการเมืองหารือ

04 มี.ค. 2561 | 05:56 น.
สวนดุสิตโพลสำรวจประชาชนคิดอย่างไร? กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จะเชิญพรรคการเมืองหารือ

จากที่ พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวช่วงหนึ่ง ระหว่างรายการ "ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" (เมื่อวันที่ 24 ก.พ.ที่ผ่านมา) ว่าจะมีการเชิญทุกพรรคการเมืองมาพูดคุยหารือเรื่องกำหนดวันเลือกตั้ง ซึ่งถือเป็นวาระสำคัญของบ้านเมืองที่จะส่งผลให้ประเทศเดินหน้า และเกิดความชัดเจนมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพื่อสะท้อนความคิดเห็นของประชาชนต่อกรณีดังกล่าว “สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ได้สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ จำนวนทั้งสิ้น 1,232 คน ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2561 สรุปผลได้ ดังนี้

1. ประชาชนคิดอย่างไร? กรณี พล.อ.ประยุทธ์ จะเชิญทุกพรรคการเมืองมาพูดคุยหารือเรื่องกำหนดวันเลือกตั้ง
อันดับ 1 เป็นการเริ่มต้นที่ดี ได้พูดคุยทำความเข้าใจกัน 47.38%
อันดับ 2 หากทุกฝ่ายให้ความร่วมมือ ก็น่าจะช่วยแก้ปัญหาบ้านเมืองได้ในระดับหนึ่ง 28.22%
อันดับ 3 อยากให้มีการเลือกตั้งโดยเร็ว 25.80%
อันดับ 4 ต้องรอดูท่าทีของแต่ละพรรค 20.95%
อันดับ 5 กังวลว่าจะมีความเห็นที่ไม่ตรงกัน เกิดความขัดแย้ง บางพรรคไม่เข้าร่วม 18.39%

dusit

2. เรื่องอะไร? ที่ประชาชนอยากให้ “พล.อ.ประยุทธ์” กับ “พรรคการเมือง” พูดคุยกันมากที่สุด
อันดับ 1 กำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจน 52.25%
อันดับ 2 กฎ กติกา ข้อกำหนด ที่ต้องปฏิบัติร่วมกัน 34.93%
อันดับ 3 การเตรียมความพร้อม ปัญหา อุปสรรคของแต่ละพรรค 28.28%
อันดับ 4 การป้องกันการทุจริต ซื้อสิทธิ ขายเสียง 21.62%
อันดับ 5 การปลดล็อคพรรคการเมือง ยกเลิกการควบคุมพรรค 19.08%

3. ประชาชนคิดว่าการนัดทุกพรรคการเมืองมาพูดคุยหารือครั้งนี้ จะทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างไร?
อันดับ 1 เหมือนเดิม 53.65% เพราะ ไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง ปัญหาการเมืองแก้ไขได้ยาก อยากให้เร่งแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ฯลฯ
อันดับ 2 ดีขึ้น 42.37% เพราะ การเลือกตั้งมีความคืบหน้า ชัดเจนมากขึ้น แต่ละพรรคได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและหาทางออกร่วมกัน ฯลฯ
อันดับ 3 แย่ลง 3.98% เพราะ แต่ละฝ่ายยังคงมีความขัดแย้ง แบ่งขั้วทางการเมือง นักการเมืองหน้าเดิม แนวคิดเดิม ๆ ไม่น่าจะมีอะไรดีขึ้น ฯลฯ

บาร์ไลน์ฐาน

4. สิ่งที่ประชาชนจะได้จากการพูดคุยหารือระหว่าง“พล.อ.ประยุทธ์” กับ “พรรคการเมือง” ในครั้งนี้
อันดับ 1 กำหนดวันเลือกตั้งมีความชัดเจนมากขึ้น 54.28%
อันดับ 2 ความเชื่อมั่น มั่นใจว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นจริง 36.51%
อันดับ 3 ทำให้มีเวลาได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลือกตั้ง 22.94%
อันดับ 4 แสดงให้เห็นถึงบรรยากาศทางการเมืองที่ดีขึ้น 22.13%
อันดับ 5 ได้เห็นท่าทีของรัฐบาล และแนวคิดของแต่ละพรรค 20.52%

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว