ส่องสมรภูมิ! '5 โซเชียลมีเดีย' ยอดนิยมคนไทย

06 มี.ค. 2561 | 12:02 น.
1823

การแข่งขันและการเปลี่ยนแปลงบนสื่อสังคมออนไลน์ หรือ โซเชียล เกิดขึ้นตลอดเวลาและรวดเร็ว โดยโซเชียลมีเดีย 5 แพลตฟอร์มหลักที่เป็นที่นิยมใช้งาน ประกอบด้วย เฟซบุ๊ก, กูเกิล, ทวิตเตอร์, ไลน์ และพันทิป ต่างมีบริการใหม่ ๆ ออกมารักษาฐานผู้ใช้ไว้และเพิ่มผู้ใช้ใหม่ตลอดเวลา ส่วนบริการของแพลตฟอร์มใดนั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้หรือผู้บริโภคเป็นผู้ตัดสิน

ในเวที “ไทยแลนด์โซเชียล อวอร์ดส์ 2018” ที่จัดโดย บริษัท โธธ โซเชียล จำกัด ผู้ให้บริการวิเคราะห์ข้อมูลบนโซเชียลมีเดีย มี 5 แพลตฟอร์มหลัก ที่มีคนไทยใช้งานมากสุด ได้ออกมาเปิดเผยทิศทางของแต่ละแพลตฟอร์มในปี 2561 และพฤติกรรมการใช้งานในปีที่ผ่านมา

โดย ‘อภิศิลป์ ตรุงกานนท์’ เว็บไซต์พันทิป กล่าวว่า ในปี 2561 พันทิปจะบริการใหม่ คือ Brand Expert Account คือ บัญชีของแบรนด์ที่ใช้เข้าไปตอบเชิงแก้ปัญหาที่มีประโยชน์ แต่ต้องไม่ใช่เรื่องของการขายสินค้าและเข้าไปใช้บริการได้ฟรี นอกจากนี้ ในไตรมาส 2 ยังมีแผนนำแบรนด์รีวิว (Brand Review : BR) กลับมาให้บริการ เพราะเชื่อว่า คอนเทนต์ที่ดีของแบรนด์จะมีประโยชน์


TP5-3345-A

สำหรับพฤติกรรมการใช้งานพันทิปปีที่ผ่านมา ห้องที่มีการเข้าไปดูฟีดมากที่สุด คือ ห้องบางขุนพรม ห้องที่คุยเรื่องละครดารานักแสดง แสดงให้เห็นพฤติกรรมผู้ใช้ชื่นชอบความบันเทิง รองลงมา คือ ศุภชลาศัย ห้องฟุตบอล วอลเลย์บอล ห้องที่มีเอ็นเกจสูงสุด คือ ศาลประชาคม รวมเรื่องกฎหมาย การร้องเรียน ห้องที่มียอดผู้อ่านกระทู้สูงสุด คือ บลูแพลนเน็ต ซึ่งเป็นห้องเที่ยว รองลงมาโต๊ะเครื่องแป้ง รีวิวเครื่องสำอาง และห้องลุมพินี ห้องเกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนพฤติกรรมนักการตลาดนั้น แบรนด์มาใช้แอดเวอร์ทอเรียลมากขึ้น โดยพันทิปมีทีมงานผลิตคอนเทนต์ให้กับแบรนด์โดยตรง

ด้าน ‘ชนะชัย ไชยปัญญา’ ตัวแทนอย่างเป็นทางการในไทยของทวิตเตอร์ ปีทองทวิตเตอร์ กล่าวว่า ปีที่ผ่านมา ถือเป็นปีทองของทวิตเตอร์ ทั่วโลกมีผู้ใช้เติบโตขึ้นเป็นจำนวนมาก แต่ที่น่าสนใจ คือ ไทยเป็นประเทศที่มียอดการเติบโตสูงสุด โดยวัยรุ่นอายุ 16-24 ปี เข้าใช้มากที่สุด เนื่องจากทวิตเตอร์เป็นที่หลบลี้ภัยจากพ่อแม่และครูประจำชั้นของบรรดาวัยรุ่น และมีผู้มีชื่อเสียง หรือ Influencer หน้าใหม่ ๆ เข้ามามากขึ้น อาทิ เป๊ก ผลิตโชค (Peck Palit) มียอดคนตามอันดับ 3 ของไทย หรือ โอ๊ต ปราโมทย์ มีคนติดตาม 1 ล้านคน ผู้ใช้ใช้ตามเทรนด์หรือประเด็นร้อนทุก ๆ เรื่อง จึงทำให้ทวิตเตอร์มีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วมาก และ 0 กลายเป็น 1 สำนักข่าวของโลกไปแล้ว บนหน้าเทรนด์กลายเป็นพาดหัวข่าวที่ทุกคนช่วยกันเขียนโปรโมตเทรนด์ ซึ่งถือเป็นโปรดักต์ที่จะทรงพลังของทวิตเตอร์ โดยในปีนี้ทวิตเตอร์มีนโยบายสนับสนุนเรื่องของคอนเทนต์มากขึ้นด้วย


บาร์ไลน์ฐาน

ขณะที่ ‘นรสิทธิ์ สิทธิเวชวิจิตร’ ไลน์ประเทศไทย กล่าวว่า ปีนี้ไลน์จะเปิดให้บริการดาต้าแมเนจเมนต์โซลูชัน ที่จะเข้ามาบริหารข้อมูล หรือ ดาต้า มากกว่าปั่นแค่ยอดตัวเลข โดยเริ่มต้นจาก บิสิเนส คอนเน็กต์ ที่เปิดให้แบรนด์เชื่อมต่อกับระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์ หรือ CRM หลังบ้าน เพื่อวางแผนได้ทันที ขณะเดียวกันปีนี้จะเปิดให้ผู้มีชื่อเสียงมาแนะนำสินค้า หรือ บริการ โดยใช้ชื่อว่า ไลน์ ไอดอล

สำหรับตัวเลขผู้ใช้ไลน์ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง โดยมีผู้ใช้งานประจำ 41 ล้านคน ผู้ที่เข้ามาจะเป็นนิวเจเนอเรชันของอินเตอร์เน็ต หรือ กลุ่มที่ไม่เคยเล่นอินเตอร์เน็ตมาก่อน อาทิ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์ และเจน X

ด้าน ‘ดวงพร พรหมอ่อน’ เฟซบุ๊กประเทศไทย กล่าวว่า สำหรับปีนี้ เฟซบุ๊กจะมุ่งให้ความสำคัญกับบริการมาร์เก็ตเพลสและโซเชียลคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นบริการอี-คอมเมิร์ซ ส่วนฟีเจอร์เดิมที่มีอยู่นั้น ยังมองว่า เป็นประโยชน์กับนักการตลาด หรือ แบรนด์ ที่มองว่า ควรใช้ประโยชน์หรือประสิทธิผลอย่างเต็มที่ก่อน เนื่องจากที่ผ่านมา มีกรณีผู้ซื้อโฆษณาผิดประเภทกันมาก ทำให้การเข้าถึงโฆษณาไม่เป็นตามเป้าหมาย ไม่ใช่เฟซบุ๊กไปปรับอัลกอริทึม แต่เป็นเพราะเลือกผิด ทำให้ไม่เกิดประสิทธิผลเต็มที่

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ

ส่วนการใช้งานปีที่ผ่านมานั้น เฟซบุ๊กกลายเป็นแพลตฟอร์มที่นำ Live ไปใช้ในการขายสินค้าออนไลน์มากที่สุดในโลก นอกจากนี้ กลุ่มใช้งานเฟซบุ๊กประมาณ 70% จะมีการใช้งานแบบ On The Go คือ เลื่อนดูข้อมูลเร็วมาก ดังนั้น การสื่อสารเนื้อหายาวมาก จึงไม่เป็นที่นิยม ซึ่งนักการตลาดหรือแบรนด์ควรระมัดระวังเรื่องของรูปแบบการสื่อสารให้ถูกต้อง

‘ไมเคิล จิตติวาณิชย์’ แห่งกูเกิลประเทศไทย ปีนี้กูเกิลจะมีการสร้างแบรนด์ไปสู่การปฏิบัติ อาทิ ทรูวิวฟอร์แอกชัน ที่เมื่อผู้ใช้รับชมโฆษณาเสร็จแล้ว สามารถคลิกต่อไปเป็น Call To Actions ได้ทันที ส่วนเทรนด์การใช้งานยูทูบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ กูเกิล อีโคซิสเต็ม นั้น ปีที่ผ่านมา จะเห็นการไซมัสแคสต์ (Simulcast) ที่มีการนำเสนอเนื้อหาบนทีวีและในยูทูบพร้อมกัน นอกจากนี้ ปีที่ผ่านมา ยังพบผู้ใช้ต่างจังหวัดมากขึ้น โดยดูจากสถิติการรับชมมิวสิกวิดีโอเพลงบนยูทูบ เพลงลูกทุ่งติด 6 ใน 10 วิดีโอ ที่คนดูมากที่สุด


……………….
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,345 วันที่ 4-7 มี.ค. 2561 หน้า 05

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว