‘SEA’ประเมินผลกระทบทุกมิติ ทางออกขัดแย้งสร้างโรงไฟฟ้า

04 มี.ค. 2561 | 11:12 น.
หนึ่งในเงื่อนไขที่ “ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน” ทำ “เอ็มโอยู” กับกลุ่มผู้ชุมนุมเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานีไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหิน จนยุติการชุมนุม คือ ให้กระทรวงพลังงานจัดทำ รายงานการประเมินผล กระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ เอส อีเอ (SEA : Strategic Environmental Assessment)

เพื่อศึกษาว่าพื้นที่จังหวัดกระบี่และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีความเหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่ โดยมีเงื่อนเวลาให้ทำเอสอีเอเสร็จสิ้นภายในเวลา 9 เดือน ต้องมีนักวิชาการที่เป็นกลาง และเป็นที่ยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย

แนวคิดของเอสอีเอเริ่มขึ้นตั้งแต่ปี 2513 ในสหรัฐอเมริกา จากนั้นหลายประเทศที่พัฒนาแล้วนำมาประยุกต์ใช้ ส่วนประเทศ ไทยเริ่มใช้เอสอีเอมาแล้วกว่า 10 ปีที่ผ่านมา เคยมีการแต่งตั้ง “คณะอนุกรรมการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์” ภายใต้ “คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ” เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2548 มีการแต่งตั้งคณะทำงานจัดทำรายละเอียดแนวทางการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธ ศาสตร์ เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2549 ยังถูกเขียนใน แผนจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม ปี 2550-2554 และ “แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ” ฉบับที่ 10 (ปี 2550-2554) ระบุถึงบทบาทภาครัฐในการผลักดันให้เกิดระบบประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์

เอสอีเอ เป็นกลไกการทำรายงานที่มีความยืดหยุ่นไม่มีรูปแบบชัดเจน ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและวัตถุประสงค์ของการนำเอสอีเอไปใช้ แต่สิ่งที่เหมือนกัน คือ “ต้องทำตั้งแต่ก่อนการทำนโยบาย” มีกระบวน การประเมินผลกระทบทั้งแง่บวก-แง่ลบในทุกมิติทั้งสิ่งแวด ล้อม สังคม เศรษฐกิจ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดในพื้นที่ ดึงการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและสาธารณะทุกขั้นตอน นำไปสู่ผลรายงานที่ถูกใช้ประกอบการตัดสินใจของผู้มีอำนาจในการตัดสินใจว่าจะทำนโยบายนี้ต่อหรือไม่

ประเทศไทยมีการทำเอส อีเอแล้วหลายโครงการ เช่น ศึกษาเขตเศรษฐกิจชายแดนพิเศษ จังหวัดเชียงราย เมื่อปี 2548 ศึกษาโครงการการจัดการนํ้าในลุ่มนํ้ายม เมื่อเดือนมิถุนายน 2550 ศึกษาในพื้นที่จังหวัดชาย แดนทะเลภาคใต้ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช กระบี่ พังงา และภูเก็ต และการศึกษาโครง การประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์เบื้องต้นเพื่อการบริหารจัดการทรัพยากร (แร่ตะกั่ว สังกะสี) อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี เมื่อเดือนมิถุนายน 2552

TP14-3345-A ตัวอย่างรายงานเอสอีเอการจัดการนํ้าในลุ่มนํ้ายม ขณะนั้นผลรายงานมี 4 ทางเลือก

1. มีการพัฒนาเฉพาะมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและการปรับปรุงประสิทธิภาพการชลประทาน

2. มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างการพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดกลาง ทั้งอ่างเก็บนํ้าและฝาย/ประตู ระบายนํ้าตามลำนํ้ายม รวมถึงการพัฒนาและจัดสรรนํ้าโครงการขนาดเล็กในพื้นที่ประสบภัยแล้งซํ้าซาก

3. มีการพัฒนาในมาตร การไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง ทั้งโครงการพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดกลางและแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแม่นํ้ายม และเขื่อนแม่นํ้ายมตอนบน

และ 4. มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้างทั้งการพัฒนาแหล่งนํ้าขนาดกลางและแหล่งนํ้าขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแก่งเสือเต้น

การศึกษาได้ระบุด้วยว่า ทางเลือกการพัฒนาโครงการ ตามข้อ 4 เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพมากที่สุด โดยมีความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1, 2 และ 3 ในด้านความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ ทางเลือกที่ 4 จะให้ผลประโยชน์สุทธิมากกว่าทางเลือกที่ 3 และทางเลือกที่ 2 ตามลำดับ

ซึ่งเอสอีเอ โครงการนี้ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มนํ้ายมตอน บนและลุ่มนํ้ายมตอนล่าง 9 จังหวัด ได้แก่ พะเยา ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มนํ้ายมทั้ง 11 ลุ่มนํ้า 161 ตำบล 31 อำเภอ มีผู้เข้าร่วมประชุม 6,313 คน มีการประชุมร่วมกันทั้ง หมด 9 ครั้ง

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ++แนะรัฐบาลให้กฟผ.ทำตาม SEA
นายประสิทธิชัย หนูนวล ผู้ประสานงานเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน กล่าวว่า ยอมรับ การทำเอสอีเอมากกว่าการทำอีไอเอ (ผลกระทบด้าน สิ่งแวดล้อม) หากผลออกมาอย่างไรก็ยอมรับ เพราะเชื่อมั่นว่าการทำเอสอีเอคืองานวิชาการ เป็นการศึกษาเชิงศักยภาพของพื้นที่ ที่ดูมิติเศรษฐศาสตร์ สิ่งแวดล้อม คุณภาพชีวิต แต่เสนอให้รัฐบาลออกประกาศให้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กระทรวงพลังงาน นำรายงานเอสอีเอไปบังคับใช้ เพื่อยุติโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน หากผลเอส อีเอออกมาว่าไม่ควรสร้าง

ด้าน ผศ.ดร.ดลเดช ตั้งตระการพงษ์ กรรมการฝ่ายวิชาการ สมาคมวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า เห็นด้วยที่รัฐบาลจัดให้มีการทำรายงานผลกระทบเชิงยุทธศาสตร์ หรือ เอสอีเอ (SEA) ในการทำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานถ่านหินจังหวัดกระบี่และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา เพราะมีความเป็นสากลและเป็นที่ยอมรับกว่าการทำรายงานผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม หรือ อีไอเอ ที่จุดเริ่มต้นต่างกัน อีไอเอ คือการทำรายงานในโครง การที่จะทำ เพื่อทำให้มีผลกระทบน้อยที่สุด แต่ เอสอีเอ คือ การทำรายงานเพื่อนำมาตัด สินใจ มีหลายทางเลือกว่าจะทำหรือไม่ทำก็ได้ และนอกจากความเป็นสากลของเอสอีเอจะเป็นที่ยอมรับแล้ว การทำเอสอีเอถูกระบุเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการกู้เงินจากธนาคารโลกด้วย หากโครงการใดมีความประสงค์จะกู้เงินจากธนาคารโลก ก็ต้องมีการทำเอสอีเอเพื่อให้เข้าเงื่อนไข

“ด้วยการนำยุทธศาสตร์ใหญ่มากาง อาจจะเป็นยุทธ ศาสตร์จังหวัด ยุทธศาสตร์ภูมิภาค เช่น ยุทธศาสตร์อันดามัน ยุทธศาสตร์ภาคใต้ ยุทธศาสตร์จังหวัดกระบี่ เอามากางดูว่า ในยุทธศาสตร์จะมีโครงการอะไรบ้างแหล่งท่องเที่ยว สร้างถนน สร้างรถไฟฟ้า อะไรตรงไหน มีความจำเป็นยังไงในการมีโรงไฟฟ้าเพิ่ม ถ้ามีจะเป็นอย่างไร หรือเอาโครงการ ทั้งภูมิภาคมาดูทั้งหมด แล้วโครงการโรงไฟฟ้าคือหนึ่ง ในนั้น จะได้เห็นยุทธศาสตร์ทั้งภาคว่าอะไรควรมีหรือไม่ควรมี”
ผศ.ดร.ดลเดช กล่าวอีกว่า เมื่อได้รายงานเอสอีเอ แล้ว จากนั้นคำถามที่จะระบุในรายงานจะระบุว่า “จะดำเนิน โครงการหรือไม่” ซึ่งขั้นตอนนี้รัฐบาลจะเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะทำอะไรต่อ

เรื่อง : จีรพงษ์ ประเสริฐพลกรัง
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,345 วันที่ 4 - 7 มีนาคม พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว