ทางออกนอกตำรา : ยกแรก ‘เค้กปิโตรเลียม’ ขาใหญ่พรึ่บ

24 ก.พ. 2561 | 10:03 น.
6598

560000001096201 ในที่สุดเค้กก้อนโตด้านปิโตรเลียมในอ่าว ก. ของไทย “แหล่งบงกช-แหล่งเอราวัณ” ซึ่งในแต่ละปีรัฐได้ค่าภาคหลวงอยู่เฉลี่ยราว 4.13 หมื่นล้านบาท เก็บภาษีปิโตรเลียมได้ 4.61 หมื่นล้านบาท และผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษอีก 1,102 ล้านบาท ที่ยืดเยื้อยาวนานจากการต่อต้านของกลุ่มขาหุ้นพลังงานภายใต้การนำของ“เจ๊โรส-รสนา” และคณะ กำลังได้ข้อยุติ ในการเปิดหน้าเค้ก

เป็นข้อยุติ เมื่อ ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ออกมาชี้แจงว่า จะเสนอกรอบการประมูลแหล่งปิโตรเลียมบงกช และเอราวัณ ที่จะหมดอายุสัมปทานลงในปี 2565-2566 เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในวันที่ 7 มี.ค.2561

[caption id="attachment_262662" align="aligncenter" width="503"] ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน[/caption]

ก่อนจะเปิดเงื่อนไขการประมูล (TOR) ในหลากหลายรูปแบบในเดือน เม.ย.2561 หลังจากนั้นจะทำการคัดเลือกผู้ประมูล เชื่อว่าจะรู้ผลได้ในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค.2561

“เมื่อรู้ผลก็จะเจรจาต่อรองกับผู้ได้รับคัดเลือก เพื่อนำไปสู่การลงนามสัญญาได้ในเดือน ก.พ.2562 เรื่องเปิดประมูลใหม่ต้องเกิดความชัดเจนภายในปีนี้ ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงด้านพลังงาน” ศิริ กล่าว
top-facts-from-the-history-of-crude-oil-in-nigeria ศิริ ชี้แจงว่า หลังจากรายงานต่อที่ประชุม กพช.แล้ว ก็จะนำกรอบที่ได้รับการอนุมัติไปหารือกับกลุ่มบริษัท เชฟรอนฯ และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมฯ (PTTEP) ซึ่งเป็นผู้รับสัมปทานของทั้ง 2 แหล่งในปัจจุบัน ก่อนจะนำบทสรุปไปเสนอต่อกพช.อีกครั้งในเดือนเม.ย. ก่อนจะออกประกาศเชิญชวนประมูลต่อไป ซึ่งล่าช้าจากเดิมที่เคยคาดว่าจะออก TOR ได้ภายในเดือนมี.ค.

ในเบื้องต้นกำหนดกรอบการประมูลหลัก 2 ประเด็น คือ 1.ในการลงทุนขุดเจาะสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในแหล่งเอราวัณและบงกชนั้น เอกชนที่จะเข้ามาดำเนินการจะต้องผลิตก๊าซธรรมชาติจากทั้ง 2 แหล่ง ให้ได้ไม่ตํ่ากว่า 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน

2.ก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้จะจำหน่ายให้ในราคาที่ไม่สูงกว่าราคาปัจจุบัน ขณะที่ปัจจุบันทั้ง 2 แห่งมีกำลังการผลิตรวมที่ 2,100 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน

ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องดำเนินการให้มีความชัดเจนเกี่ยวกับการประมูล เพราะหากยังไม่มีความชัดเจนอาจจะทำให้เอกชนรายเดิมไม่ลงทุนต่อเนื่อง หรืออาจไม่เข้ามาลงทุนก็จะก่อให้เกิดความเสียหายได้
แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ผมสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานจากการชี้แจงของรมว.พลังงานให้เห็นภาพชัดขึ้นมาอีกนิดว่า การกำหนดอัตรากำลังการผลิตขั้นตํ่า 1,500 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน จะเป็นจุดคัดกรองผู้ประกอบการที่มีศักยภาพ เพราะหากชนะการประมูลจะต้องดำเนินการตามเงื่อนไขให้สำเร็จ  เพื่อให้เกิดการผลิตปิโตรเลียมอย่างต่อเนื่อง และหากเป็นรายใหม่ๆ เข้ามาประเทศจะได้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ๆในการสำรวจขุดเจาะและผลิต เกิดการถ่ายถอดเทคโนโลยี

แต่ผลเสียที่เกิดขึ้น และเป็นที่น่ากังวลหากรายใหม่หรือรายเล็กๆ ชนะประมูลขึ้นมา จะส่งผลทำให้การผลิตสะดุดลง เพราะมีข้อเสียเปรียบกว่ารายเก่า ที่มีข้อมูลด้านการผลิต บุคลากรมีความเชี่ยวชาญ ที่ดำเนินการผลิตมาแล้ว 30 ปี และพัฒนาเทคโนโลยีดังนั้น หากรายใหม่ชนะการประมูล ก็ต้องทำการศึกษาข้อมูลอย่างรอบด้าน หรือเริ่มนับหนึ่งใหม่ หากไม่สามารถรักษาเสถียรภาพทางการผลิตได้ จะกระทบต่อการจัดหาก๊าซแอลเอ็นจีจากต่างประเทศเพิ่มขึ้น

เพราะหากกำลังการผลิตก๊าซหายไป 2 พันล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เท่ากับว่า จะต้องนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีกว่า 14 ล้านตัน/ปี จากปัจจุบันที่นำเข้าอยู่ราว 4-5 ล้านตัน/ปี
aaaP1-2-3162 ผมทราบมาว่า ขณะนี้ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานอย่างน้อย 6-7 ราย สนใจเข้าประมูล ได้แก่  1. เชฟรอน 2. ปตท.สผ. 3.บริษัท Mitsui Oil Exploration จากญี่ปุ่น 4.บริษัท อีโค่ โอเรียนท์ รีซอสเซส (ประเทศไทย)ฯ กลุ่มนักลงทุนจากซาอุดีอาระเบีย5. บริษัท ทีพีไอ โพลีน

แต่ตัวแปรสำคัญอยู่ที่รายใหม่ 2 ราย กลุ่มแรกที่ประกาศชิงเค้กก้อนนี้แน่นอนคือ กลุ่ม CNOOC (China National Offshore Oil Corporation) จากจีนพร้อมเข้ามาแข่งขัน
14929436051492943656l อีกกลุ่มที่สวมดีหมีหัวใจเสือมาสู้แน่นอนคือ กลุ่มบริษัท มูบาดาลา ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในเครือ Mubadala Petroleum ของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เพราะต้องการขยายกำลังผลิตปิโตรเลียมและสร้างการเติบโตของบริษัทในประเทศไทย แม้ว่าแหล่งปิโตรเลียมทั้ง 2 แปลงจะดำเนินการผลิตมานาน ร่วม 30 ปี แต่กลุ่มมูบาดาลาเชื่อว่ายังเป็นแหล่งที่มีศักยภาพที่จะดำเนินการผลิตได้อีกนาน ไม่ตํ่ากว่า 10 ปี

กลุ่มนี้มีความเกี่ยวพันทั้งทางตรงและทางอ้อมกับเศรษฐีเมืองไทย 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทักษิณชินวัตร กับ กลุ่มโสภณพนิช ชนิดที่ยากจะบอกว่าไม่เกี่ยวข้อง
แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์-2 ราเชด อัล บลูชิ กรรมการผู้จัดการ บริษัทมูบาดาลา ปิโตรเลียม (ประเทศไทย)ฯ เคยประกาศชัดว่า ไม่เพียง 2 แปลงนี้เท่านั้น แต่แปลงอื่นก็สนใจเข้าร่วมประมูลสำรวจและผลิตปิโตรเลียมรอบใหม่ในไทยด้วย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางการลงทุน (ฮับ) ในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากทำเลที่ตั้งของไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งที่จะเชื่อมโยงการค้าและการลงทุนในภูมิภาคอยู่แล้ว

ปัจจุบัน มูบาดาลา ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) มีกำลังผลิตปิโตรเลียมรวม 3 หมื่นบาร์เรล/วัน จาก 3 แหล่งในประเทศไทย คือ แหล่งมโนราห์ แหล่งนงเยาว์ และแหล่งจัสมิน

shutterstock_382067620 สำหรับกลุ่มมูบาดาลา เข้ามาลงทุนในไทยตั้งแต่ปี 2547 ใช้เงินลงทุนรวมกว่า 5,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เข้ามาซื้อกิจการทั้งหมดของ บริษัท Pearl Energy ที่เป็นสัญชาติอเมริกันตั้งอยู่ในประเทศสิงคโปร์ จึงได้สิทธิสัมปทานปิโตรเลียมในไทย อินโดนีเซีย เวียดนาม และมาเลเซีย โดยในประเทศไทยกลุ่มมูบาดาลาได้รับสัมปทานปิโตรเลียมอยู่หลายแปลง โดยเฉพาะแปลงที่ซื้อมาจากบริษัท Harrods Energy คือ แปลง B5/27 ในอ่าวไทย ซึ่ง Pearl Energy เป็นผู้สำรวจพบ จนสามารถพัฒนาแหล่งนํ้ามันดิบขนาดเล็กชื่อว่า “แหล่งจัสมิน แหล่งบานเย็น” เมื่อรวมกับ แหล่ง มราห์ แหล่งนงเยาว์ แล้ว ทำให้กลุ่มนี้น่าจับตามอง

ปัจจุบันบริษัทกลุ่มมูบาดาลา จ้างพนักงานคนไทยอยู่จำนวนมาก  แค่ระฆังลั่น ปี่กลองเชิด สนามปิโตรเลียมก็ร้อนฉ่าขึ้นมาแล้ว นี่ไม่นับการขยับตัวของกลุ่มขาต้านพลังงานที่จะเข้มข้นร้อนแรงมากขึ้น

ฉบับหน้าผมจะพาไปดูรายละเอียดของข้อกฎหมายที่เปิดทางให้รัฐบาลใช้เป็นเครื่องมือในการขุดเจาะปิโตรเลียม ขุมทรัพย์แสนล้านในอ่าวไทย

....................
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา/ หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ / ฉบับ 3343  ระหว่างวันที่ 25-28 ก.พ.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว