‘ไทยเบฟ’ทุ่ม2แสนล้านปิดดีล4ยักษ์3ประเทศ เบอร์1เบียร์อาเซียน

01 มี.ค. 2561 | 06:12 น.
ไทยเบฟ โชว์ผลงานเฟส 2 “วิชัน 2020” เทงบกว่า 2 แสนล้านซื้อหุ้น 4 บริษัทใหญ่ เล็งออกหุ้นกู้ชำระหนี้ มุ่งหน้าสู่การเป็นผู้นำเครื่องดื่มครบวงจรในอาเซียน พร้อมขึ้นเบอร์ 1 เบียร์อาเซียนครองส่วนแบ่ง 25% หลังปิดดีล “ซาเบโก”

ตามวิชัน 2020 ซึ่งเป็นแผนการดำเนินธุรกิจของกลุ่มไทยเบฟ ภายในปี 2558-2563 ที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรในภูมิภาคอาเซียน ที่เติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนด้วยกลยุทธ์ 5 ข้อ ได้แก่ 1. Growth หรือ การเติบโตทั้งด้านรายได้และกำไร 2.Diversity หรือ การขยายธุรกิจ ซึ่งบริษัทจะนำสินค้าที่มีความหลากหลายเข้าทำตลาด 3. Reach หรือ กลยุทธ์การขายและกระจายสินค้าที่แข็งแกร่งเข้าถึงผู้บริโภคทุกพื้นที่ 4. Brand หรือกลยุทธ์การสร้างแบรนด์ และ 5. Professionalism หรือ กลยุทธ์การสร้างทีมงานมืออาชีพ

MP36-3343-A โดยปัจจุบันแผนธุรกิจดังกล่าวดำเนินถึงช่วงระยะที่ 2 ซึ่งเหลือระยะเวลาดำเนินธุรกิจให้ได้ตามเป้าหมายอีก 3 ปี ที่นายฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การดำเนินธุรกิจยังคงไปตามแผนที่วางไว้ ตามวิชันที่มุ่งสู่การเป็นผู้ประกอบการที่มั่นคงและยั่งยืน โดยช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560 ซึ่งเป็นไตรมาสแรกของปีงบประมาณของบริษัท ได้เข้าไปลงทุนใน 4 บริษัทด้วยเงินลงทุนรวมประมาณ 2 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 1. การเข้าซื้อหุ้น สัดส่วน 76% ของกิจการร้านอาหารประเภทหม้อต้ม หรือ Hot Pot และร้านอาหารไทยภายใต้การดำเนินงานของบริษัท สไปซ์ ออฟ เอเชีย จำกัด (Spice of Asia) ซึ่งมีจำนวน 10 ร้านค้า ในประเทศไทย 2. การเข้าซื้อหุ้น 75% ของกลุ่มแกรนด์ รอยัล (Grand Royal Group) ซึ่งเป็นกลุ่มผู้ผลิตสุรารายใหญ่ที่สุดของประเทศเมียนมา 3.การเข้าซื้อกิจการร้านเคเอฟซี (KFC) กว่า 252 สาขาในประเทศไทย และ 4.การเข้าซื้อหุ้น 53.6% ของธุรกิจเบียร์อันดับ 1 ของเวียดนาม ไซ่ง่อน เบียร์ แอลกอฮอล์ คอร์ ปอเรชั่น หรือ ซาเบโก (Sabeco) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตเบียร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม

“การขยายในภูมิภาคและเลือกลงทุนในเวียดนามและเมียนมา เพราะสอดคล้องนโยบายกับอาเซียน แอสวัน ที่วางจุดยืนเป็นผู้นำในอาเซียนและตลาดอาเซียนมีอัตราการเติบโตมากที่สุดในโลก หากมองลึกลงไปจะเห็นว่า 2 ประเทศที่เติบโตคือเมียนมา และเวียดนาม”

นอกจากสภาพเศรษฐกิจที่เติบโต และยังมีด้านประชากรและสังคม เพราะประชากรเมียนมา 53 ล้านคน ส่วนเวียดนามมีประมาณ 92-95 ล้านคน ที่สำคัญ คือ เด็กรุ่นใหม่ที่มีกำลังซื้อ และมีเศรษฐกิจเติบโตถึง 7% ด้วยสภาพเศรษฐกิจ เรามองซีแอลเอ็มวี บวกไทย ส่วนประเทศฟิลิปปินส์และอินโดนีเซีย อยู่ไกลไปนิดหนึ่ง วันนี้ไทยเบฟ กำลังวางแพลตฟอร์มการเติบโตในระดับภูมิภาค”

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6 โดยในประเทศเมียนมาจะเน้นการทำตลาดสุราประเภทวิสกี้มากกว่า เนื่องจากมีขนาดตลาดที่ใหญ่ พันธมิตรมีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 60% มียอดขายกว่า 60 ล้านลิตร และเป็นแบรนด์ที่ติดอันดับ 1 ใน 50 ของโลกด้วย โดยบริษัทในเมียนมามีผลประกอบการช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2560 ที่มียอดขาย 1,822 ล้านบาท มีกำไร 455 ล้านบาท ขณะที่ประเทศเวียดนาม ตลาดเบียร์ใหญ่กว่าสุรา โดยมีปริมาณถึง 4,400 ล้านลิตร และมีโอกาสเติบโตเพิ่มมากขึ้นจากฐานโครงสร้างประชากร ที่ยังมีสัดส่วนเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ซึ่งบริษัทที่ได้เข้าไปร่วมทุนมีส่วนแบ่งการตลาดเบียร์มากถึง 41% เป็นผู้นำตลาดอยู่ในปัจจุบัน และมีกำไรสุทธิถึง 7,200 ล้านบาท จึงถือว่าการเข้าไปร่วมทุนกับพันธมิตรที่เป็นโลคัลแชมเปี้ยนที่จะสร้างผลประโยชน์กลับมาให้กับผู้ถือหุ้น

นายฐาปน กล่าวอีกว่า ภายหลังจากได้เข้าร่วมทุนกับพันธมิตร จะส่งผลให้ธุรกิจเบียร์ของกลุ่มไทยเบฟ ก้าวขึ้นเป็นผู้นำตลาดในอาเซียน ด้วยสัดส่วน 25% จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 9% ในเชิงปริมาณ ถือว่าเป็นรายใหญ่สุดในอาเซียน ที่ปัจจุบันมีขนาดตลาดเบียร์กว่า 9,000 ล้านลิตร โดยในปีที่ผ่านมาจากข้อมูลของยูโรมอนิเตอร์ อ้างอิงจากนิกเกอิ อาเซียนรีวิว ระบุว่า ในตลาดเบียร์อาเซียน ผู้นำตลาดได้แก่ ซานมิเกล ด้วยส่วนแบ่ง 19% รองลงมาได้แก่ ซาเบโก 17% ไฮเนเก้น 14% สิงห์ 13% คาร์ลสเบิร์ก 12% ช้าง 9% และฮาเบโก้ 7% ซานมิเกลมีส่วนแบ่งตลาด ขณะที่ตลาดในประเทศไทยมีประมาณ 2,000 ล้านลิตร และยังส่งผลให้สัดส่วนของกลุ่มธุรกิจแอลกอฮอล์เป็น 78% ส่วนธุรกิจนอนแอลกอฮอล์มีสัดส่วน 22% จากก่อนหน้าที่มีสัดส่วนเกือบ 45%
แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1
สำหรับเงินทุนที่จะนำมาใช้ในการชำระค่าหุ้นจากการเข้าไปลงทุนในบริษัททั้ง 4 แห่งนั้น กลุ่มไทยเบฟมีกระแสเงินสดที่ได้จากการดำเนินธุรกิจและผลตอบแทนจากเข้าลงทุนในบริษัทย่อยปีละ 3 หมื่นล้านบาท แต่ในขณะเดียวกันก็มีแผนที่จะออกหุ้นกู้ ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการเตรียมสำรวจความต้องการซื้อและโรดโชว์ให้นักลงทุนและสถาบันการเงิน เพื่อจะได้รู้แนวทางการออกหุ้นกู้และอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเบื้องต้นจะรู้ผลในรายละเอียดต่างๆ ช่วงเดือนมีนาคมนี้ มูลค่า 5 หมื่นล้านบาทและคาดว่าจะออกขายหุ้นกู้ปีละ 2 ครั้งใน 2 ปีนี้ แต่อาจจะออกหุ้นกู้ไม่ถึง 4 ครั้ง เพราะส่วนหนึ่งจะมีผลตอบแทนกลับมาจากการเข้าไปลงทุน ซึ่งล่าสุดได้รับผลตอบแทนจากการเข้าลงทุนซาเบโก มูลค่า 52 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ด้านผลประกอบการของ บมจ. ไทยเบฟในปีที่ผ่านมา (ตุลาคม 2559-กันยายน 2560) มีรายได้รวม 1.89 แสนล้านบาท ลดลง 0.02% มีกำไรสุทธิ 2.61 หมื่นล้านบาท เติบโต 4.6% ขณะที่ผลประกอบการในไตรมาสแรก 1/2561 (ตุลาคม-ธันวาคม 2560) มีรายได้ 4.56 หมื่นล้านบาท กำไร 3,000 ล้านบาท

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,343 วันที่ 25 - 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
e-book-1-503x62