"ล็อกซเล่ย์" ตั้ง "ธงชัย" เป็นประธานกรรมการบริษัท

23 ก.พ. 2561 | 12:12 น.
ล็อกซเล่ย์ ตั้ง “ธงชัย” เป็นประธานกรรมการบริษัท จัดทัพใหม่ มุ่งโตทั้งรายได้และกำไร

-23 ก.พ. 61- คณะกรรมการบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ได้มีมติแต่งตั้ง นายธงชัย ล่ำซำ เข้าดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท แทนนายไพโรจน์ ล่ำซำ ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมไป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นไป

นายธงชัย ล่ำซำ เริ่มทำงานที่บริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี 2513 จนถึงปัจจุบัน และดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ระหว่างปี 2527-2559

[caption id="attachment_262322" align="aligncenter" width="330"] ธงชัย ล่ำซำ ธงชัย ล่ำซำ[/caption]

นายสุรช ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการใหญ่เปิดเผยผลการดำเนินงานของปี2560 ที่ผ่านมา ระบุว่า กลุ่มบริษัทล็อกซเล่ย์ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยทำรายได้อยู่ที่ 15,369 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 14%เมื่อเทียบกับปี 2559 และผลกำไรจากการดำเนินงานปกติของปี 2560 อยู่ที่ 351ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 266 ล้านบาทในปีก่อน แต่กำไรสุทธิที่ลดลงมาเป็น 50 ล้านบาท เนื่องจากมีรายการตั้งสำรองที่ 397 ล้านบาทสาเหตุที่สำรองสูงดังกล่าว เพราะบริษัทฯ ตั้งสำรองเต็มจำนวนเพื่อลดภาระการตั้งสำรองที่เกิดขึ้นทุกปี

[caption id="attachment_262323" align="aligncenter" width="334"] สุรช ล่ำซำ สุรช ล่ำซำ[/caption]

“การจัดทัพใหม่ของบริษัทฯ แบ่งเป็น 5 กลุ่มธุรกิจ ส่งผลดีต่อบริษัทฯ ในการลบภาพการทำธุรกิจหลากหลายแบบเดิมๆซึ่งมีทั้งธุรกิจที่ทำกำไรและขาดทุน การจัดทัพใหม่ บริษัทฯเลือกเฉพาะธุรกิจที่ทำกำไร มีศักยภาพและอยู่ในอุตสาหกรรมที่มีการเติบโต ในแต่ละกลุ่มธุรกิจจะมีหน่วยงานที่มีสายงานที่ใกล้เคียงกัน มีลักษณะที่เอื้อกันทำให้สามารถสร้างจุดแข็งเพื่อต่อยอดรายได้ และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน รวมทั้งสามารถปรับลดค่าใช้จ่ายที่ซ้ำซ้อนกัน คือมีSynergy ทั้งด้านการเพิ่มรายได้และการลดค่าใช้จ่าย” นายสุรช กล่าว
DSCN3388 ส่วนภาพรวมแผนธุรกิจของปีนี้ บริษัทฯ วางกลุ่มธุรกิจบริการอาหารและจัดจำหน่าย และกลุ่มพลังงานเป็นกลุ่มที่มีฐานรายได้ที่แข็งแกร่ง ส่วนกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ธุรกิจเน็ตเวิร์คโซลูชั่นส์ และธุรกิจบริการเป็นกลุ่มที่ผลักดันการเติบโตของรายได้ในปี 2561 ซึ่งการเติบโตของกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศจะได้แรงหนุนจากแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (National E-payment Plan)ค่อนข้างมาก รวมทั้งฐานลูกค้าเดิมทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีการลงทุนเพิ่มด้านเทคโนโลยีสารสนเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0