"นิพิฐ" งัดหลักฐานเด็ดน็อค "สุภา" รับสินบนคดีปาล์มอินโด

23 ก.พ. 2561 | 06:15 น.
1249

“นิพิฐ” แฉหมัดเด็ดหลักฐานมัด “สุภา” มีเอี่ยวพยานปากเอกรับสินบนคดีทุจริตปาล์มอินโดฯ แถม ป.ป.ช. ยังแอบอ้างลงลายเซ็นในการสอบสวน ทั้งที่ไม่มีการพบปะกัน

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2661 นายนิพิฐ อิศรางกูร ณ อยุธยา ได้ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมครั้งที่ 16 ต่อประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอคัดค้านและขอเปลี่ยนตัว นางสาวสุภา ปิยะจิตติ กรรมการ ป.ป.ช. ผู้รับผิดชอบสำนวนคดีทุจริตโครงการปาล์มน้ำมัน ที่ประเทศอินโดนีเซีย เนื่องจากมีพยานหลักฐานใหม่และเป็นพยานหลักฐานสำคัญที่ทำให้การพิจารณาวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. เปลี่ยนแปลงไป


S__17571930

หนึ่งในหลักฐานสำคัญ เป็นการสนทนาผ่านทางโปรแกรมวอตส์แอปป์ (WhatsApp) ระหว่าง นายบูลฮัน หรือ นายบูรฮาน พยานคนสำคัญที่นางสาวสุภา พร้อมทั้งคณะ ป.ป.ช. บินไปสอบสวนที่ประเทศอินโดนีเซีย กับนางแนนซี่ มาร์ตาสุตา อดีตรองประธานของ KITHA หอการค้าอินโดนีเซีย


006-20130729112828-503x335
โดยบทสนทนาบางช่วงบางตอน ที่มีการนำรูปนางสาวสุภามาเอ่ยถึง นางแนนซี่ ระบุขึ้นว่า “นั่น เป็นผู้หญิงคนนี้จริงใช่ไหม ที่เป็นผู้สอบสวนคุณบูรฮาน ในวันที่ 7 สิงหาคม 2560” นายบูรฮาน กล่าวตอบไปว่า “ไม่ มันไม่ใช่ผู้หญิงคนนี้” และนางแนนซี่ไล่ถามอีกว่า “คุณแน่ใจว่าคุณได้ลงลายมือชื่อในรายงานของผลการสอบสวนในวันที่ 7 สิงหาคม 2560" ซึ่งนายบูรฮานตอบไปว่า “คุณแนนซี่ฟังผม ผมไม่ได้เซ็นอะไรทั้งสิ้นในเวลานั้น และผมไม่ต้องการเข้าไปเกี่ยวข้องกับเรื่องของพวกเขาทั้งหมด” นางแนนซี่ กล่าวขึ้นมาว่า “นี่หมายความว่ามีการกลั่นแกล้งทำลายกัน คุณสุภา จาก ป.ป.ช. ประเทศ ได้แจ้งข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงและออกทางสื่อในประเทศไทย มีการกลั่นแกล้งกันด้วยลายมือชื่อปลอมของคุณบูรฮานในรายงานผลการสอบสวนหลังจากการสอบสวนในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 ซึ่งทั้งหมดได้ถูกทำขึ้นโดย ป.ป.ช. ประเทศไทย ดังนั้นนี่คือข้อสรุปใช่ไหม” นายบูรฮาน สวนกลับมาทันทีว่า “พวกเขากล้าแสดงลายมือชื่อของผมเพื่อไปยืนยันเลยหรือ ซึ่งผมไม่ได้ขยับเคลื่อนไหวเข้าออกจากห้องผมเลย” ซึ่งนางแนนซี่ ได้โต้ตอบอีกว่า “คุณสุภาแจ้งว่าเขาเป็นเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ประเทศไทย ผู้ซึ่งได้ทำการสอบสวนคุณบูรฮานด้วยตัวเองที่จาการ์ตาในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 และเขายังประกาศว่าคุณบูรฮานได้ลงลายมือชื่อยืนยันในรายงานผลการสอบสวนในวันเดียวกันด้วย” ซึ่งนายบูรฮาน ยืนยันว่า “ผมไม่เคยเห็นหน้าเธอเลย”

จากบทสนทนาดังกล่าวเริ่มเรื่องมาจาก นางรสยา เธียรวรรณ รักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTGE ถูกฟ้องเป็นจำเลย ในคดีอาญาต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางถึง 5 คดี และถูกกล่าวหาต่อ ป.ป.ช. ว่า ทุจริตในโครงการปลูกปาล์มอินโดนีเซีย 1 คดี ปัจจุบันอยู่ในระหว่างไต่สวน ได้นำถุงสินบนมาให้ นายบูลฮัน หรือ บูรฮาน เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2560 ก่อนที่ ป.ป.ช. จะเดินทางไปสอบเพียง 48 ชั่วโมง นั่นแสดงว่าความลับของทางราชการ การข่าวของ ป.ป.ช. รั่วไหล หรือว่า จงใจให้รั่วไหล ซึ่งนางสาวสุภาฯ และเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ควรได้รู้และเข้าข่ายเกี่ยวข้องกับถุงสินบน เนื่องจากมีชื่อเจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. นั่งเครื่องบินกลับลำเดียวกันกับ นางรสยา เธียรวรรณ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2560 ด้วยสายการบิน TG0434 ซึ่งไม่ใช่เหตุบังเอิญอย่างแน่นอน


S__45121543

นอกจากนี้ นายบูรฮานผู้รับถุงสินบนได้ยอมรับว่ามีการให้สินบนจริงพร้อมพยานหลักฐานภาพถ่าย เมื่อจับได้คาหนังคาเขาแล้วนายนิพิฐฯ จึงยื่นเรื่องร้องขอความเป็นธรรมให้นางสาวสุภาฯ สอบสวนเรื่องกรณีสินบนหลายครั้งแต่นางสาวสุภาฯ กลับละเว้นไม่สอบสวนตนเองและสอบสวนนางรสยาเกี่ยวกับเรื่องสินบนแต่อย่างใด

ยังมีการให้ข่าวผ่านสำนักข่าวอิศราเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2560 เกี่ยวกับการสอบสวนวันที่ 7 สิงหาคม 2560 – วันที่ 8 สิงหาคม 2560 ว่า นางสาวสุภาฯ ได้สอบสวนหรือสอบปากคำพยานนายบูรฮานในระหว่างวันที่ 7–8 สิงหาคม 2560 ด้วยตนเอง ระหว่างสอบปากคำพบนายบูรฮานเดินเข้าออกห้องเกือบตลอดเวลา เข้าใจว่าเพื่อปรึกษาทนายความและเมื่อสอบปากคำเสร็จได้ยอมลงนามแต่โดยดี  ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริงแต่อย่างใด

โดยสรุปจากพยานหลักฐานบทสนทนาผ่านวอตส์แอปป์ (WhatsApp) ได้ความจริงว่า ในวันสอบสวนดังกล่าวนั้น นางสาวสุภาฯ ไม่ได้เข้าร่วมการสอบสวน ไม่มีการเดินเข้า ๆ ออก ๆ ห้องของนายบูรฮานซึ่งเขานั่งอยู่ในที่สอบสวนตลอดการสอบสวน นายบูรฮานไม่มีการติดต่อทนายความเลย ที่สำคัญที่สุดไม่มีการตกลงเซ็นเอกสารหรือลงนามในเอกสารใดๆทั้งสิ้นจากนายบูรฮานในวันที่ 7 สิงหาคม 2560 หรือวันถัดมา
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว
ทั้งหมดจึงเป็นการให้การโดยประจักษ์พยานชาวอินโดนีเซีย ซึ่งยอมรับว่า เป็นผู้รับถุงสินบนและประจักษ์พยานผู้เห็นถุงสินบนของนางรสยาในวันที่ 4 สิงหาคม 2560โดยพยานทั้ง 2 คนยินยอมให้นำพยานหลักฐานมาใช้ในชั้นศาลและจะมาเบิกความต่อศาลต่อไป


ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว