ข้าพระบาท ทาสประชาชน : ทศวรรษใหม่ ของกสทช.

22 ก.พ. 2561 | 13:36 น.
2121252121 20170705SOCIAL คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. มีจุดกำเนิดและที่มาขององค์กร ครั้งแรกโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 อันเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่สังคมเรียกว่า “ฉบับปฏิรูปหรือฉบับประชาชน” ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่มีประชาชนจำนวนมากได้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว ทั้งได้ออกมาร่วมรณรงค์ทั่วประเทศชูธงเขียว สนับสนุนให้สภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบ ผู้เขียนเป็นหนึ่งในจำนวนประชาชนที่ออกมารณรงค์ในครั้งนั้นด้วย เพราะเห็นว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์และส่งเสริมสิทธิเสรีภาพแก่ประชาชนที่สุด เท่าที่ประเทศไทยเคยมีรัฐธรรมนูญใช้ในการปกครองบ้านเมือง การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 จึงต้องถือเป็นปฐมบทของ กสทช.
d10fc5fa01b9a73a76dd4dab8b140e20 มาตรา 40 ของรัฐธรรมนูญดังกล่าวได้บัญญัติและวางหลักการเรื่องนี้ไว้ว่า “คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรค 1 และกำกับดูแลการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำเนินการตามวรรค 2 ต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติ และระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรมความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม”

20170509_L_TVDIGITAL

เมื่อรัฐธรรมนูญ 2540 กำหนดให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระดังกล่าวขึ้น สภาผู้แทนราษฎรจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 เพื่อจัดตั้ง กสทช.นับแต่นั้นมา กสทช. จึงได้มีบทบาทหน้าที่เป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญตลอดมา จนเมื่อครบกำหนด 10 ปี เกิดการปฏิวัติยึดอำนาจและยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2540 กสทช.จึงมีการเปลี่ยนแปลงเพราะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2550 แต่ก็ยังคงหลักการเดิมคือ รัฐธรรมนูญ 2550 ได้บัญญัติเรื่องนี้ไว้ในมาตรา 47 แต่ได้มีการยกเลิก พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ 2543 โดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติขณะนั้น และได้ตราพระราชบัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 มาบังคับใช้แทนจนถึงปัจจุบัน แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ ในช่วงเวลา 20 ปีหรือ 2 ทศวรรษที่ผ่านมาของ กสทช.มีผลการปฏิบัติงานที่สำคัญๆมากมาย เป็นหน่วยงานที่สร้างความสำเร็จในหลายเรื่องที่สร้างสีสัน และมีรายได้ส่งเข้ารัฐจำนวนหลายหมื่นหรือนับแสนล้านบาท จากการประมูลทีวีดิจิตอลและการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 เมกะเฮิรตซ์ โดยเฉพาะการจัดประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 เมกะเฮิรตซ์รวม 2 ครั้งในปี 2559 ตามคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มีรายได้เกิดขึ้นคิดเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้นถึง 151,952 ล้านบาท นำส่งเป็นรายได้ของแผ่นดิน นอกจากนี้ กสทช.ยังมีบทบาทและผลการปฏิบัติหน้าที่ด้านอื่นๆอีก ตามที่กฎหมายกำหนด จึงจะเห็นได้ว่า กสทช.เป็นองค์กรที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของชาติเป็นอย่างยิ่งในช่วงเวลาดังกล่าว

maxresdefault

ปัจจุบันโลกเริ่มเข้าสู่ยุคระบบเศรษฐกิจและสังคมดิจิตอล ที่เทคโนโลยีดิจิตอลจะไม่ได้เป็นเพียงเครื่องมือสนับสนุนการทำงานเท่านั้น หากแต่มันจะหลอมรวมเข้ากับชีวิตคน และกำลังเปลี่ยนโครงสร้างรูปแบบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ กระบวนการผลิต การค้า การบริการ และกระบวนการทางสังคมอื่นๆ รวมถึงการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลไปอย่างสิ้นเชิง ประเทศไทยอยู่ในช่วงเวลาที่รัฐบาลกำลังเร่งนำเทคโนโลยีดิจิตอล มาใช้เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศ เพิ่มโอกาสในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยได้มีการตราพระราชบัญญัติการพัฒนาดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม พ.ศ.2560  ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว
แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ ทั้งยังได้มีการตราพระราชบัญญัติ ปรับปรุงกระทรวง  ทบวง กรม (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2559 เพื่อจัดตั้งกระทรวงดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ขึ้นอีกด้วย กฎหมายฉบับดังกล่าวนี้ ยังได้กำหนดบทบาทและอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ให้มีความเกี่ยวข้องและเชื่อมโยงกับคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ขณะเดียวกัน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 60 ก็ได้มีการบัญญัติหลักการที่มีการแก้ไขใหม่ที่แตกต่างจากรัฐธรรมนูญ 2540 และ2550 ทำให้ กสทช. มิได้เป็นองค์กรอิสระดังเดิม แต่เป็นอิสระโดยมีรัฐบาลผ่านกระทรวงและคณะกรรมการดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เข้ามาเกี่ยวข้องตามกฎหมายดังกล่าว

ก้าวขึ้นสู่ปี 2561 ถือได้ว่า กสทช.กำลังก้าวเข้าสู่ทศวรรษที่ 3 ภายใต้บริบททางสังคมและพลวัตของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีดิจิตอล ที่เข้ามามีบทบาทต่อวิถีชีวิต และต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคมของโลกยุคปัจจุบัน กสทช.ในทศวรรษใหม่ จำต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ ที่ท้าทายนี้

apphuman-995561

แต่อย่างไรก็ตาม  กสทช.จักต้องยึดมั่นและระลึกไว้เสมอก็คือ พระบรมราชโองการโปรดเก้ลาฯ ที่พระราชทานในโอกาสครบรอบสถาปนา 100 ปี กรมไปรษณีย์โทรเลข และวันสื่อสารแห่งชาติ 4 สิงหาคม 2526 ซึ่งผู้เขียนขอคัดมาบางส่วนดังนี้

“ทุกฝ่ายและทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารของประเทศ จึงควรได้ร่วมมือกันดำเนินงานและประสานผลงานกันอย่างใกล้ชิดและสอดคล้อง สำคัญที่สุดควรจะได้พยายามศึกษาค้นคว้าวิชาการและเทคโนโลยีอันทันสมัยให้ลึกและกว้างขวาง แล้วพิจารณาเลือกเฟ้นส่วนที่ดี มีประสิทธิภาพแน่นอนมาปรับปรุงใช้ด้วยความฉลาดริเริ่ม ให้พอเหมาะพอสมกับฐานะและสภาพบ้านเมืองของเรา เพื่อให้กิจการสื่อสารของชาติมีโอกาสได้พัฒนาอย่างเต็มที่ และสามารถอำนวยประโยชน์แก่การสร้างเสริมเศรษฐกิจ สังคมและเสถียรภาพของบ้านเมืองได้อย่างสมบูรณ์แท้จริง”

......................
คอลัมน์ : ข้าพระบาท ทาสประชาชน/ หนังสือพิมพ์ฐานเศราฐกิจ /ฉบับ 3342 ระหว่างวันที่ 22-24 ก.พ.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว