ทางออกนอกตำรา : ดับไฟโรงไฟฟ้าถ่านหิน

21 ก.พ. 2561 | 12:54 น.
326565 002 ต้องชื่นชม ดร.ศิริ จิระพงษ์พันธ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และแกนนำเครือข่ายคนสงขลา-ปัตตานี ไม่เอาโรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหิน ที่ร่วมกันยุติข้อขัดแย้งในเรื่องมหากาพย์ลุยไฟสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน|

ที่ต้องชื่นชม เพราะนี่คือการยอมถอยหลัง 3 ก้าวของภาครัฐที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย ไม่ใช่ยืนแข็งสุดโต่งเช่นในอดีต
และนี่อาจเป็นลายเซ็นรัฐมนตรีที่มีค่ามากในประวัติศาสตร์พลังงานไทย ที่รัฐมนตรีคนไหนก็ไม่กล้าลงนาม แต่ดร.ศิริ กล้าทำ
003 ขณะที่กลุ่มประชาชนก็แสดงให้เห็นถึงวุฒิภาวะทางความคิดที่ดี ไม่ใช่ค้านดะอย่างไร้เหตุผล ถือเป็นการชุมนุมทางการเมืองในภาคพลเมืองที่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่าง

ไปดูเงื่อนไขที่ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงกัน จะเห็นถึงการรอมชอมในการแก้ปัญหามวลชน ที่รัฐบาลควรใช้เป็นแม่แบบในการแก้ปัญหากับชุมชนในระยะยาว

1. เครือข่ายปกป้อง 2 ฝั่งทะเลกระบี่-เทพายุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันกับ ดร.ศิริ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยให้กระทรวงพลังงานจัดทำรายงานประเมินผลกระทบถึงยุทธศาสตร์ว่า พื้นที่จังหวัดกระบี่และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา มีความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินหรือไม่

2. การดำเนินการจะต้องทำโดยนักวิชาการที่มีความเป็นกลาง และทั้ง 2 ฝ่ายยอมรับ
006 3. หากผลการศึกษาชี้ชัดว่าการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินไม่เหมาะสม กฟผ.จะต้องยุติการดำเนินการก่อสร้าง โดยจะต้องทำรายงานให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน นับตั้งแต่วันนี้

4. ขอให้ กฟผ.ถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพหรือ EHIA โรงไฟฟ้าถ่านหินเทพาและโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ฉบับใหม่ ออกจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมภายใน 3 วันเพื่อยุติความขัดแย้งของคนในพื้นที่ กระบี่ และอำเภอเทพา จังหวัดสงขลา

5. ทันทีที่ได้ข้อยุติกลุ่มผู้ชุมนุมและแกนนำก็เก็บข้าวของเดินทางกลับบ้านทันที

ถือเป็นการเจรจาข้อขัดแย้งของมวลชนอย่างมีปัญญา และถือเป็นการยกระดับทางความคิดของการเมืองภาคพลเมือง และการตัดสินใจทางนโยบาย ที่รู้จักผ่อนหนักผ่อนเบา
007 ขณะที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ปิดประตูไปโดยปริยาย หลังจากนี้ไปรัฐบาลก็มีเวลาขบคิด ว่าจะทำอย่างไรต่อไป ไม่ใช่ว่าต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นไฟดับ ภาคธุรกิจ ประชาชนเดือดร้อนแน่นอน เหมือนในอดีต
การกระทำเช่นนั้น ไม่ต้องบอกก็รู้ได้ว่า รัฐใช้กำลังขู่เข็ญกระทำชำเราคนปักษ์ใต้ โดยไม่มีทางเลือก

ผมไปตรวจสอบกำลังการใช้ไฟฟ้าและการผลิตไฟฟ้าในภาคใต้ พบข้อมูลว่าปัจจุบันมีกำลังผลิตจริงอยู่ที่ 2,624 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตติดตั้ง 2,788 เมกะวัตต์ แบ่งเป็นจากโรงไฟฟ้าจะนะ และโรงไฟฟ้าขนอม รวม 2,024 เมกะวัตต์
ที่เหลือมาจากโรงไฟฟ้าพลังนํ้า (เขื่อน) 108 เมกะวัตต์ โรงไฟฟ้าชีวมวล 29 เมกะวัตต์
เป็นไฟฟ้าที่ส่งผ่านมาจากสายส่งจากภาคกลางลงไปอีก 460 เมกะวัตต์
G0DL5oPyrtt5HBAi4AKjur6gxtUupMvIgsTv1zO5LBDL4fLJbUjrS7 ขณะที่ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่ 2,624 เมกะวัตต์ มีการคาดเดาความต้องการใช้ไฟฟ้าในพื้นที่ภาคใต้ว่ามีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 3.4%

นี่จึงเป็นเงื่อนไขว่าภาคใต้ยังคงอยู่ในภาวะไฟฟ้าตกและดับได้ หากว่าไม่มีการสร้างโรงไฟฟ้ามารองรับ

คำถามคือ เป็นจริงเช่นนั้นหรือไม่ ในกทม.มีโรงไฟฟ้าที่ผลิตเพียงพอกับความต้องการหรือไม่
คำตอบคือ ไม่พอ...

แล้วที่กทม.เขาทำอย่างไร ใช่ซื้อไฟมาจากที่อื่นหรือไม่ ถ้าใช่เขาทำอย่างไร...ภาคใต้ก็ควรทำเช่นนั้น อย่ามาบอกว่า คนใต้ใช้ไฟก็ต้องสร้างโรงไฟฟ้าที่ภาคใต้นะครับ…
o3cfxJ7Thu122215
ความจริงไม่ว่าสร้างได้หรือสร้างไม่ได้ ผมเห็นว่ารัฐบาลควรพิจารณาดำเนินการคู่ขนานกันคือเพิ่มจำนวนและขนาดของสายส่งแรงดันสูงเพื่อลากไฟจากโรงไฟฟ้าหลักที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่งตรงไปในพื้นที่ฝั่งอันดามัน และลากสายส่งหลักจากภาคกลางไปภาคใต้

เรื่องนี้ต้องทำทันที อย่าไปลังเลว่า ต้นทุนจะสูง ไม่ว่าสูงไม่สูงก็เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องทำอยู่แล้ว
ต่อมาก็ควรสนับสนุนการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล ภาคใต้มียางพาราเต็มไปหมด หากนำมาเป็นเชื้อเพลิงได้จะช่วยได้มาก และควรสนับสนุนโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนขึ้นใน 3 จังหวัดชายแดนใต้คู่ขนานไป

ผมเชื่อว่า ภาคเอกชนเขาพร้อมลงทุน อย่าปักธงแค่โรงไฟฟ้าถ่านหินอย่างเดียวเชียวครับ
Easing-Supplies-to-Pull-Coking-Coal-Down-to-USD-150-steel360
......................
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา / หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ/ ฉบับ 3342  ระหว่างวันที่ 22-24 ก.พ.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว