มิกซ์ยูสเปลี่ยนเมือง กลุ่มเซ็นทรัล-เบียร์ช้างบูมกรุงเทพฯชั้นใน

24 ก.พ. 2561 | 05:43 น.
กูรูฟันธงใน 3-5 ปีโครงการมิกซ์ยูสครองพื้นที่กรุงเทพฯชั้นใน จากการใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์คุ้มค่าสูงสุด ขณะราคาถีบตัวแพงลิ่ว แถมหายาก

ไม่เพียงรถไฟฟ้า 2 ระบบคือ บีทีเอส หรือสายสีเขียว และ เอ็มอาร์ที หรือสายสีนํ้าเงิน จะเป็นระบบขนส่งมวลชนยอดนิยมของมนุษย์ทำงานในกรุงเทพฯ ที่สามารถเปลี่ยนวิถีการอยู่อาศัยของคนในกรุงเทพ มหานครจากแนวราบเป็นมนุษย์คอนโดมิเนียม ส่งผลให้ตลาดที่อยู่อาศัยแนวสูงเติบโตอย่างมากในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นจำนวนโครงการคอนโดมิเนียมที่เปิดขาย และราคาที่ดินก็ถีบตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว

และไม่เพียงพลิกโฉมการอยู่อาศัยจากแนวราบสู่แนวสูง อนาคตจะเห็นโครงการอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ครบวงจรทั้งที่พักอาศัย และเชิงพาณิชย์ ผุดขึ้นจำนวนมากบนทำเลทองรถไฟฟ้า 2 เส้นทางที่กล่าวมา ถึงแม้ภาครัฐจะเร่งขับเคลื่อนระบบรางให้ครอบ คลุมพื้นที่ทั่วกรุงเทพฯและปริมณฑล

MP29-3342-A ทั้งนี้ทำเลที่ผู้ประกอบการในแวดวงอสังหาริมทรัพย์ให้ความสนใจมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ ย่านเพลินจิต ที่มีกลุ่มเซ็นทรัลยึดหัวหาดอยู่เดิม จากที่มีแค่ห้างเซ็นทรัล สาขาชิดลม ก็ขยายการลงทุนโครงการเซ็นทรัล เอ็มบาสซี พร้อมโรงแรมแกรนด์ไฮแอท จับลูกค้าระดับบน และล่าสุดยังได้ที่ดินสถานทูตอังกฤษที่อยู่ติดกันมาเพิ่มอีก 23 ไร่ ทำให้อาณาจักรเซ็นทรัลในย่านนี้ขยายใหญ่ขึ้น

บนย่านเดียวกันนี้ยังมีโครงการระดับไฮเอนด์อย่าง 98 ไวร์เลส โครงการคอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรีของบริษัท แสนสิริ จำกัด , ปาร์ค อีโคเพล็กซ์ อาคารสำนักงานเกรดเอ และสำนักงานธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาเพลินจิตที่สร้างใหม่และเพิ่งเปิดตัว ทำให้ย่านการค้าที่แยกเพลินจิตเป็นโหนดที่น่าจับตาจะสามารถดึงดูดลูกค้าบนถนนสุขุมวิทได้อย่างต่อเนื่องจากย่านปทุมวัน และแยกราชดำริ ก่อนที่ทำเลย่านพระราม 4 จะเกิดขึ้น

[caption id="attachment_261268" align="aligncenter" width="335"] วสันต์ คงจันทร์ วสันต์ คงจันทร์[/caption]

นายวสันต์ คงจันทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท โมเดอร์น พร็อพเพอร์ตี้คอนซัลแทนส์จำกัด กล่าวว่า จากราคาที่ดินแพงและหายากในเขตกรุงเทพฯชั้นใน จากรถไฟฟ้าที่เปิดให้บริการปัจจุบัน มองว่าใน 3-5 ปี ข้างหน้าการพัฒนาคอนโดมิเนียมเพื่ออยู่อาศัยเพียงอย่างเดียวคงเกิดขึ้นยาก แต่กลับเห็นการพัฒนารูปแบบมิกซ์ยูสมากขึ้นเพื่อให้เกิดความคุ้มค่า โดยเฉพาะที่ดินสถานทูตอังกฤษเนื้อที่ 23 ไร่ บริเวณแยกเพลินจิตของค่ายเซ็นทรัล ถือเป็นที่ดินแปลงใหญ่ ประเมินว่าภายในโครงการจะมีคอมเพล็กซ์หรู ช็อปปิ้งมอลล์ โรงแรม อาคารสำนักงาน และเรสิเดนเชียล รองรับคนต่างชาติเช่าระยะยาว แข่งกับโครงการวัน แบงค็อก ที่พระราม 4 ของกลุ่มนายเจริญ สิริวัฒนภักดี โดยบริษัท ทีซีซี แอสเซ็ทส์ฯ ร่วมกับกลุ่มเฟรเซอร์ จากสิงคโปร์ ที่จะพัฒนาโครงการรูปแบบไม่ต่างกัน

และยังมีโครงการมิกซ์ยูสอื่นของนายเจริญอีกหลายพื้นที่ในย่านกลางเมือง มี เดอะปาร์ค หัวมุมถนนพระราม 4 ตัดถนนรัชดาภิเษก ผุดโครงการโรงแรม อาคารสำนักงาน ร้านค้าปลีก และร้านอาหาร หรือโครงการสามย่านมิตรทาวน์ บนแยกสามย่าน

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 นอกจากนี้ยังมีโครงการปาร์คนายเลิศ โครงการของโรงแรมดุสิตจับมือกับค่ายเซ็นทรัล รวมถึงสำนักงานจัดการทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยยังมีแผนพัฒนาที่ดินจุฬาฯย่านบรรทัดทอง อีกทั้งโครงการของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ที่ย่านหลังสวน

แม้คนรุ่นใหม่มีความต้องการคอนโดมิเนียมใกล้แหล่งงานอย่างเพลินจิต แต่ด้วยราคาต่อตารางเมตรที่สูงขึ้นๆ ทำให้ต้องขยับออกไปอยู่กรุงเทพฯชั้นกลาง อาทิ พหลโยธิน รัชดาฯ พระราม 9 ซีบีดีรองแทน สุขุมวิท เพลินจิต สีลมสาทร ซึ่งเป็นซีบีดีปัจจุบัน

“รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดินเอ็มอาร์ที เป็น 2 เส้นทางหลัก ที่มนุษย์คอนโดฯ ต้องขยับทำเลซื้อออกมาอยู่ไกลขึ้น อาทิ พหลโยธิน อ่อนนุช แบริ่ง สำโรง ขณะที่สายสีนํ้าเงินจะเป็นทำเล บางแค ปิ่นเกล้า ทำเลเหล่านี้เริ่มมีแหล่งงาน และการค้าขายหนาแน่น ห้างมีครบ” นอกโครงการขนาดใหญ่ใจกลางเมือง พื้นที่รองลงมา ยังมี โครงการ มักกะสัน ศูนย์บางซื่อ ฯลฯ ที่ขยับออกมานอกทำเลใจกลางเมืองและจะมีคอนโดมิเนียม แหล่งช็อปปิ่งแหล่งงานเกิดขึ้น

MP33-3283-2 ด้านนายพรนริศ ชวนไชยสิทธิ์ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย กล่าวว่าแนวโน้มการพัฒนา ตึกสูงในเมืองยิ่งยากขึ้น จากราคาที่ดินแพง แต่ปลายปีนี้จะเห็นการซื้อขายของค่ายใหญ่เพิ่มขึ้น ซึ่งล่าสุดอยู่ระหว่างต่อรองแต่เจ้าของที่ดินยังโก่งราคา

อย่างไรก็ดี เมื่อกลางใจเมืองหาที่ดินยาก ส่งผลให้ทั้งคอนโดมิเนียม แหล่งช็อปปิ้ง ต้องขยับออกไปกลางเมืองและชานเมือง จากแนวราบเป็นแนวสูง ไปตามเส้นทางที่รถไฟฟ้าจะเกิดขึ้นใหม่

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,342 วันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว