รถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต กระตุ้นความเจริญกทม.โซนเหนือ

21 ก.พ. 2561 | 03:30 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

โครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างในส่วนของสายสีแดงอ่อน (ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน) ระยะทางประมาณ 15 กิโลเมตร ในปี 2552 แล้วเสร็จเมื่อปี 2555 ประกอบด้วย 3 สถานี คือ สถานีตลิ่งชัน สถานีบางบำหรุ และสถานีบางซ่อน ซึ่งในอนาคตจะมีโครงการก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 3 สถานี คือ สถานีบ้านฉิมพลี สถานีบางกรวย-กฟผ. และสถานีสะพานพระราม 6 ที่ระบุเอาไว้ในโครงการระบบรถไฟชานเมืองสายสีแดงอ่อน (ช่วงตลิ่งชัน-ศาลายา) ที่อยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)

ในส่วนโครงการระบบรถไฟชานเมือง(สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-รังสิต ตามแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ ประกอบด้วย 10 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ/สถานีจตุจักร /สถานีวัดเสมียนนารี /สถานีบางเขน สถานีทุ่งสองห้อง/สถานีหลักสี่ /สถานีการเคหะฯ/สถานีดอนเมือง/สถานีหลักหก และสถานีรังสิต รวมระยะทางประมาณ 26.3 กิโลเมตร

TP12-3342-1A โดยช่วงที่ผ่านมาร.ฟ.ท.ได้ทำสัญญาในส่วนของสัญญาที่ 1 งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อและศูนย์ซ่อมบำรุง กับกิจการร่วมค้า เอสยู ประกอบด้วย บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) มูลค่างานตามสัญญากว่า 2.9 หมื่นล้านบาท และสัญญาที่ 2 บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ดำเนินการสำหรับงานโยธาทางรถไฟช่วงบางซื่อ- รังสิต มูลค่างานตามสัญญากว่า 2.1 หมื่นล้านบาท

นอกจากนั้นเมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2559 ร.ฟ.ท. ยังได้ลงนามสัญญาจ้างในสัญญาที่ 3 (งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล และจัดหาตู้รถไฟฟ้า) อย่างเป็นทางการไปเรียบร้อยแล้วโดยลงนามสัญญากับกิจการร่วมค้า MHSC ซึ่งเป็นการผนึกกำลังร่วมกันของบริษัทระดับแนวหน้าของประเทศญี่ปุ่น 3 บริษัท ประกอบด้วย Mitsubishi Heavy Industries บริษัทชั้นนำด้านวิศวกรรมของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีประสบการณ์ในการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนโครงการต่างๆทั่วโลก Hitachi บริษัทผู้ผลิตชั้นนำของประเทศญี่ปุ่น ผู้นำเสนอเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ระบบรถไฟที่เป็นเลิศสำหรับระบบขนส่งทางราง และ Sumitomo Corporation หนึ่งในบริษัทชั้นนำด้านการค้าและการลงทุนของประเทศญี่ปุ่น ที่มีสำนักงานอยู่ทุกภูมิภาคทั่วโลกเพื่อตอบสนองต่อความต้องการที่แตกต่างและหลากหลายในแต่ละภูมิภาค

สำหรับสัญญาที่ 3 นั้นจะครอบคลุมในส่วนของงานออกแบบและก่อสร้างรางรถไฟ ระบบไฟฟ้าและส่งกำลัง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบติดต่อสื่อสาร ระบบจัดเก็บค่าโดยสารอัตโนมัติ และตู้รถโดยสาร ภายใต้มูลค่าสัญญากว่า 3.2 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ รถไฟฟ้าเส้นทางนี้มีประโยชน์ที่จะช่วยลดปัญหาการจราจรที่ติดขัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟกับถนน จำนวน 8 จุด ลดการเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย สามารถใช้ประโยชน์เพื่อการเดินรถไฟทางไกลสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรองรับการเดินรถที่มีอยู่ในปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกเหนือจากจะใช้ประโยชน์เพื่อการเดินรถระบบรถไฟชานเมืองได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปลอดภัย ซึ่งจะช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิงของประเทศได้อย่างมาก เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม นับว่าเป็นระบบขนส่งทางรถไฟที่สะดวก ทันสมัย ตรงเวลา

อีกทั้งยังจะจูงใจให้คนหันมาใช้บริการรถไฟมากขึ้น โดยคาดว่าเมื่อเปิดให้บริการจะรองรับปริมาณผู้โดยสารจากรังสิตสู่บางซื่อไม่น้อยกว่า 3.06 แสนคน/วัน(ในปีที่เปิดดำเนินการ) และเมื่อขยายโครงการจากบางซื่อไปชุมทางบ้านภาชีในอนาคต จะรองรับปริมาณผู้โดยสารที่คาดว่าจะมีประมาณกว่า 4.4 แสนคน/วัน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,342 วันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว