แม่ทัพโออิชิ กับภารกิจ 1+1 ไม่ใช่ 2 แต่ต้องเป็น 11

24 ก.พ. 2561 | 00:52 น.
การก้าวเข้าเป็นหนึ่งใน “ฟันเฟือง” ขององค์กรขนาดใหญ่อย่าง “ไทยเบฟเวอเรจ”กลายเป็นความท้าทายของ “ทิพ-นงนุช บูรณะเศรษฐกุล” สาวนักบริหารที่คลุกคลีอยู่ในแวดวงธุรกิจอาหาร/ร้านอาหารในองค์กรที่ได้ชื่อว่าเป็นอินเตอร์เนชั่นแนลมาตลอดกว่า 10 ปี และวันนี้เธอกำลังสวมหมวก “กรรมการผู้จัดการ” บริษัทโออิชิ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)แม่ทัพใหญ่ที่พร้อมขับเคลื่อนนาวาลำนี้ออกสู่โลกกว้างร่วมกับอีกกว่า 7,000 ชีวิต“ความท้าทาย” คือ เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างไทย

[caption id="attachment_261147" align="aligncenter" width="336"] นงนุช บูรณะเศรษฐกุล นงนุช บูรณะเศรษฐกุล[/caption]

“ความท้าทาย” คือ เมื่อยักษ์ใหญ่อย่างไทยเบฟเวอเรจ เบอร์ 1 ด้านธุรกิจเครื่องดื่ม และยังมีธุรกิจอีกหลากหลาย เมื่อจะก้าวเข้าสู่ธุรกิจอาหาร

“จะเริ่มต้นจากอะไร การเติมเต็ม การต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่ จะทำอย่างไรเพื่อให้ 1 + 1 ไม่ใช่ 2 แต่ต้องเป็น 11”

“คุณทิพ” เล่าให้ฟังว่า ทิพเป็นพนักงานคนที่ 1 ของ Food of Asia (FOA) พอร์ตธุรกิจอาหารของไทยเบฟ ความที่อยู่บริษัทอินเตอร์ มาตลอด มีคน มีไดเร็กชันจากเมืองนอก แต่เมื่อต้องเริ่มต้นนับ 1 เธอจึงเลือกที่จะเป็นทั้งผู้บริหาร โอเปอเรชัน และลงมือทำเองในเกือบทุกหน้าที่ พร้อมๆ กับการคัดสรรคนเข้าทำงาน

“สิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องมีคือ Entrepreneurs mindset สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้สูงทำได้ทุกอย่าง และเข้าใจอะไรง่าย และต้องไม่อยู่ในกรอบจนเกินไป”

MP25-3342-2 มีหลายสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ เมื่อไม่รู้ก็ต้องศึกษาเพิ่ม การจะเดินหน้า จะเดินรูปแบบไหน จะเริ่มนับ 1 ใหม่ หรือจะถอยหลัง การจะมุ่งเติบโตด้วยการขยายสาขา แต่จะกลายเป็นภาระในอนาคต โดยไม่ได้ทำกำไร จะส่งผลอย่างไร สิ่งต่างๆ เหล่านี้ถูกนำมาประมวลผล และเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ต้องนำมาคิด มาวางแผน

วันนี้พฤติกรรมการจับจ่าย วิถีชีวิตของผู้บริโภคเปลี่ยนไป เราจะคิด จะขาย จะทำตลาดตามที่เราต้องการเหมือนก่อนไม่ได้ แต่ต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค และลงลึกในรายละเอียดถึงผลที่จะตามมา จากความร่วมมือของทุกฝ่ายทั้งการตลาดลูกค้า ซัพพลายเชน และโอเปอเรชั่น แม้จะเพิ่งเริ่มต้นเมื่อปลายปีที่ผ่านมา แต่ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นคือเสียงตอบรับจากลูกค้าในเชิงบวก การร่นระยะเวลาทำให้ทำโปรโมชันได้เร็วยิ่งขึ้น ได้วัตถุดิบดีมีคุณภาพ และในราคาที่คุ้มค่า วันนี้แม้ผลประกอบการโดยรวมในปีที่ผ่านมาจะมีรายได้ลดลงเล็กน้อย แต่ตัวเลขกำไรกลับเติบโตเพิ่มขึ้นเกือบ 30%
ความท้าทายไม่ใช่อยู่ที่การบริหารจัดการให้ประสบความสำเร็จเท่านั้น แต่การต้องวิ่งไล่ล่าเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงและเข้ามามีบทบาทต่อธุรกิจ ต่อชีวิตประจำวันทุกคนเป็นอีกหนึ่งภารกิจที่ต้องทำ

MP25-3342-3 “เราอาจไม่ได้เตรียมความพร้อมด้านความรู้เรื่องดิจิตอลสำหรับองค์กรตั้งแต่เมื่อ 3-5 ปีที่แล้ว ดังนั้น ในเรื่องของบุคลากร ทีมงานที่จะมูฟ เรายังเตรียมพร้อมไม่ทัน เด็กรุ่นใหม่ที่มีความคิด แต่อาจจะยังไม่มีประสบการณ์ทำธุรกิจการจะผสมผสานกันและก้าวได้เร็วจึงเป็นความท้าทาย”

หากถาม “คุณทิพ” ว่าอะไรคือสิ่งที่ยากที่สุดในการทำงาน เธอตอบทันทีว่า “คน”พร้อมกับขยายความว่า เธอสามารถดำเนินธุรกิจเองได้แม้ว่าจะไม่ได้เก่งด้านใดเลย นอกจากเก่งคน หากสามารถทำหน้าที่เป็น “คอนดักเตอร์”ทำให้เดินหน้าไปเป็นทีมได้

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ วันนี้สิ่งที่ “โออิชิ กรุ๊ป” กำลังเผชิญคือคนในระบบที่เก่ง มากฝีมือและอยู่กันมานาน มีความรู้เรื่องธุรกิจอย่างดีความท้าทายไม่ใช่เรื่องการเพิ่มจำนวนคนแต่ทำอย่างไร ให้เอาความเก่งของพวกเขาออกมาและทำให้คิดต่าง เพราะการอยู่ในระบบนานๆ ทำให้เกิดความเคยชิน จึงต้องดึงสิ่งที่เขา Expert ออกมาและทำให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

“คุณทิพ” ยังบอกอีกว่า เธอเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับคุณค่ากับตัวเองมากๆ หากทำงานที่ไหนแล้วไม่มี value ก็จะไม่มี motivation ไม่อยากทำวันนี้สิ่งที่ทำหลายๆ อย่างจึงเป็นการสร้างแรงบันดาลใจให้กับตัวเอง ครอบครัวและคนรอบข้างนั่นเอง

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,342 วันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว