นักวิจัยอังกฤษดักแรงลมในอุโมงค์รถไฟมาผลิตไฟฟ้า

24 ก.พ. 2561 | 14:47 น.
เราเคยเห็น “กังหันลม” ตั้งตระหง่านคอยดักกระแสลมที่พัดผ่านในพื้นที่กว้างๆ เช่นในทุ่งหญ้า บนชายหาด และในท้องทะเล กันมาบ้างแล้ว ยิ่งกระแสลมมีความแรงเป็นเวลานานๆ ในแต่ละวันก็ยิ่งทำให้กังหันลมผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประสิทธิภาพดีขึ้นตามไปด้วยนอกจากสภาพแวดล้อมโล่งแจ้งในธรรมชาติแล้ว นักวิจัยยังคงพยายามค้นหาสถานที่อื่นๆ ที่เหมาะสมในการติดตั้งกังหันลมเพื่อการผลิตกระแสไฟฟ้า ยิ่งถ้าเป็นสถานที่ที่มีกระแสลมแรงได้ตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน และไม่เกี่ยงว่าสภาวะอากาศในวันนั้นจะเป็นเช่นไร นั่นก็คงเป็นสถานที่ที่เหมาะสมอย่างที่สุด

MP25-3342-5 โมยา พาวเวอร์ เป็นบริษัทสตาร์ตอัพที่เชี่ยวชาญด้านการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานลมในโครงสร้างอาคารที่มีอยู่เดิม บริษัทกำลังทดลองทำกังหันดักลมที่ไหลผ่านช่องอุโมงค์ของรถไฟใต้ดินในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เจ้าของความคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้คือ ชาร์ลอตต์ สลิงส์บีนักศึกษาชั้นปริญญาโท สาขาวิศวกรรมการออกแบบนวัตกรรมจากอิมพีเรียล คอลเลจ ลอนดอนและมหาวิทยาลัยศิลปะ “รอยัลคอลเลจ ออฟ อาร์ท” (อาร์ซีเอ)สลิงส์บีก่อตั้ง “โมยา พาวเวอร์”ขึ้นเพื่อจัดทำโครงการสาธิตการทำกังหันดักลมในช่องอุโมงค์รถไฟโดยเธออธิบายว่า กังหันลมดังกล่าวสามารถติดตั้งในพื้นที่ที่เป็นช่องแคบๆ หรือแม้กระทั่งบนสะพาน และด้านหน้าอาคาร ขอให้เป็นพื้นที่ที่มีลมพัดผ่าน

MP25-3342-6 แต่ทั้งนี้ส่วนสำคัญของกังหันดักลมคือ แผ่นพลาสติกกึ่งโปร่งแสงชิ้นเล็กๆ ราคาถูก สามารถปรับใช้ได้หลายรูปแบบ หน้าที่หลักของมันคือดักจับพลังงานลมที่พัดอื้ออึงอยู่อุโมงค์รถไฟ ที่นั่นยังมีทั้งแรงสั่นสะเทือน คาดว่าความแรงของลมในอุโมงค์นั้นจะเพียงพอสำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง และสามารถปั่นไฟได้ราว 10% ของแผงโซลาร์เซลล์ในพื้นที่ 1 ตารางเมตร นักวิจัยเชื่อว่านี่คือทางเลือกใหม่สำหรับการผลิตกระแสไฟฟ้าในเมืองใหญ่ซึ่งมีพื้นที่จำกัด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,342 วันที่ 22 - 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว