ครม.ไฟเขียวความตกลงร่วมมือไทยกับ”เซิร์น”

20 ก.พ. 2561 | 10:11 น.
วันนี้ (20 กุมภาพันธ์ 2561)  เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ตึกบัญชาการ 1 ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) เสนอ

20180220022455

โดยอนุมัติการจัดทำและลงนามความตกลงความร่วมมือระหว่างประเทศ ระหว่างองค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป(เซิร์น) (The European Organization for Nuclear Research: CERN)และราชอาณาจักรไทย เกี่ยวกับความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีด้านฟิสิกส์พลังงานสูง ทั้งนี้ หากมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแก้ไขร่างความตกลงความร่วมมือฯ ในส่วนที่ไม่ใช่สาระสำคัญ ให้ วท. หารือร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ (กต.) (กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย) เพื่อพิจารณาดำเนินการแก้ไขได้โดยไม่ต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง และให้ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นผู้ลงนามในร่างความตกลงความร่วมมือดังกล่าว

ทั้งนี้ 1. เซิร์นก่อตั้งเมื่อ ค.ศ.1954 มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส มีหน้าที่อำนวยความสะดวกแก่ผู้มาใช้เครื่องเร่งอนุภาคและโครงสร้างพื้นฐานอื่นสำหรับงานวิจัยฟิสิกส์พลังงานสูง โดยประเทศไทยมีความร่วมมือทางวิชาการกับเซิร์นมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยพระกรุณาธิคุณของสมเด็จพระเทพรัตนาชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี ซึ่งในระหว่างปี 2543 – 2558 ได้ทรงนำคณะนักวิทยาศาสตร์ไทยไปเยือนเซิร์นถึง 5 ครั้ง รวมทั้งมีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่างหน่วยงานของไทยกับหน่วยงาน/สถานีวิจัยของเซิร์นด้วย

AW_Online-03 2. การดำเนินงานความร่วมมือกับเซิร์นดำเนินงานภายใต้มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นองค์ประธานกรรมการมูลนิธิและมี สวทช. เป็นฝ่ายเลขานุการ ซึ่งนับตั้งแต่ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน การดำเนินความร่วมมือระหว่างไทยกับเซิร์นได้ขยายกว้างขวางขึ้น มีหน่วยงานเข้าร่วม จำนวน 13 แห่ง และมีโครงการความร่วมมือ จำนวน 6 โครงการ

3. ร่างความตกลงความร่วมมือดังกล่าว เป็นการแสดงเจตนารมณ์และกำหนดกรอบของความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่างประเทศไทยกับเซิร์น เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และผู้ปฏิบัติงานด้านเทคนิคของไทย ได้เข้าร่วมในโครงการวิจัยต่าง ๆ ของเซิร์น ภายใต้พื้นฐานของการได้รับประโยชน์ร่วมกัน (mutual benefit) โดยไทยจะสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และผู้ปฏิบัติงานด้านเทคนิค จากมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่าง ๆ ได้เข้าร่วมในโครงการวิจัยของเซิร์น ในสาขาที่สถาบันของไทยมีความเชี่ยวชาญ รวมถึงสาขาฟิสิกส์เชิงทฤษฎี และฟิสิกส์เชิงทดลอง วิศวกรรมด้านเครื่องเร่งอนุภาคและเครื่องตรวจวัด และการคำนวณ โดยเซิร์นจะเปิดโอกาสให้นักวิทยาศาสตร์ วิศวกร และผู้ปฏิบัติงานด้านเทคนิคของไทย สามารถสมัครเข้ารับการพิจารณาเป็น Association Member ของเซิร์น ทำงานวิจัยที่เซิร์นโดยเซิร์นอาจพิจารณาให้การสนับสนุนค่าใช้จ่ายในระหว่างที่ปฏิบัติงานที่เซิร์นด้วย ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว