เปิดแผนปฏิรูปประเทศด้านสังคม

20 ก.พ. 2561 | 08:17 น.
ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา เผยถึงแผนการปฏิรูปประเทศด้านสังคม

I แนวทางการจัดทำแผน
1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
2. ดำเนินการตามกรอบรัฐธรรมนูญ
3. ใช้นโยบายของรัฐบาลเป็นส่วนสำคัญในการร่างแผน
4. อาศัยข้อเสนอของ สปท. และ สปช.

oom

II เป้าหมาย
1. ปรับปรุงระบบการออมทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับ เพื่อให้คนไทยทุกคนที่มีอาชีพมีเงิน ใช้พอสมควรหลังพ้นวัยทำงาน ภายในระยะเวลาตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ
2. มีกองทุนเพื่อให้กู้ยืมสำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางสังคม และมีกฎหมาย สนับสนุนวิสาหกิจเพื่อสังคมภายใน 5 ปี
3. ปรับปรุงระบบความช่วยเหลือและเสริมสร้างศักยภาพผู้ด้อยโอกาส ผู้สูงวัย ผู้เสียเปรียบทางสังคม ตลอดจนลดความเหลื่อมล้ำเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์และบริการของรัฐ ซึ่งให้แก่ บุคคลต่างอาชีพภายใน 5 ปี

4. ส่งเสริมให้ชุมชนส่วนใหญ่มีความเข้มแข็งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การบริหารชุมชน และการบริหารทรัพยากร ตลอดจนการจัดการข้อมูลและองค์ความรู้ของชุมชน ภายใน ระยะเวลาตามแผนแม่บทยุทธศาสตร์ชาติ
5. จัดตั้งกลไกเพื่อนำศักยภาพของอาสาสมัครและกลุ่มพลังต่างๆ มาช่วยขับเคลื่อนสังคมให้ เป็นสังคมคุณภาพตามแนวทางจิตอาสาอย่างต่อเนื่องและจริงจัง

oom2

III วิธีการ
1. การปฏิรูปการออม สวัสดิการสังคม และการลงทุนด้านสังคม กำหนดเป้าหมายลดความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการสังคม และให้คนไทยมีรายได้หลัง อายุการทำงานและผู้สูงวัยไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30 ของรายได้สุดท้าย ด้วยการส่งเสริมการออมภาค บังคับโดยคืนภาษีมูลค่าเพิ่มส่วนหนึ่งเป็นเงินออมให้กับกลุ่มเป้าหมาย แก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการสังคมระหว่างกลุ่มต่างๆ เช่น กลุ่มข้าราชการ ลูกจ้าง กลุ่มอาชีพอิสระ เป็นต้น รวมถึงการระดมทุนเพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนให้เทศบาลและองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้กู้ยืม

โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6

เพื่อลงทุนในบริการสาธารณะด้านสังคม เช่น สถานที่ดูแลผู้ป่วยนอกโรงพยาบาล สถานที่ดูแลผู้สูงวัย แหล่งเรียนรู้ พื้นที่นันทนาการ ฯลฯ ตลอดจนการปฏิรูประบบการสงเคราะห์ผู้ด้อยโอกาส โดยการจัดสรรค่าใช้จ่ายด้วยวิธีคิดอัตราเฉลี่ยต่อหัว ในลักษณะใกล้เคียงกับวิธีการบริการทางสาธารณสุข แทนการจัดทำ ความช่วยเหลือในลักษณะเป็นโครงการ โดยต้องมอบให้องค์กรปกครองท้องถิ่นหรือชุมชนเป็นผู้จัดทำและเก็บรักษาข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยตนเอง เพื่อให้ความช่วยเหลือของรัฐพุ่งไปสู่กลุ่มเป้าหมายได้ถูกต้อง

oom1

2. การปฏิรูปโอกาสการพัฒนาสังคมโดยสนับสนุนให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง และการขับเคลื่อน สังคมด้วยจิตสาธารณะ
ปฏิรูปชุมชนให้เข้มแข็งโดยสร้างโอกาสให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเพิ่มพูน รายได้และทรัพย์สินของตนเอง โดยการเร่งรัดการออกกฎหมายสำคัญ เช่น การจัดทำ พ.ร.บ. รองรับสิทธิชุมชน พ.ร.บ.ยุติธรรมชุมชน แก้ไข พ.ร.บ.สภาองค์กรชุมชน เป็นต้น ตลอดจนสร้างหลักประกันการออมและทรัพย์สินชุมชนด้วยการปลูกไม้ยืนต้น ทั้งนี้ต้องขจัดอุปสรรคต่างๆ ใน การปลูกและนำไม้ยืนต้นไปใช้ ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายป่าไม้ และกฎหมายหลักประกันธุรกิจให้เหมาะสม มีการจัดระบบสนับสนุนการขับเคลื่อนทางสังคมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม ด้วยการเสริมสร้างและฟื้นฟูจิตสาธารณะผ่านอาสาสมัครและกลุ่มพลังต่างๆ ให้มีการลงมือช่วยงานสาธารณะอย่างแข็งขันและต่อเนื่อง ทั้งนี้ จะต้องมีการปลูกฝังการสร้างความ ตระหนักรู้ในการร่วมมือสร้างสังคมที่ดีควบคู่ไปด้วย

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว