ม.หอการค้า ปรับคาดการณ์ GDP ปี 61 โต 4.4% จากเดิมคาด 4.2%

19 ก.พ. 2561 | 11:08 น.
ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ปรับตัวเลขจีดีพีขึ้นเป็น 4.4 %จากเดิม 4.2% จากปัจจัยบวกเศรษฐกิจโลก -ประเทศคู่ค้าสดใสเกินคาด ภาครัฐโหมกระตุ้นรากหญ้า ส่งออก ท่องเที่ยว รวมเงินสะพัดเฉียดสามแสนล้านบาท

552095 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงประมาณการภาวะเศรษฐกิจไทย(จีดีพี) ในปีนี้ว่า จะขยายตัวได้ 4.4% จากเดิมที่คาดการณ์ในเดือนต.ค. 2560 ว่าจะขยายตัว 4.2% โดยสาเหตุที่ต้องปรับประมาณการการขยายตัวทางเศรษฐกิจใหม่มาจากปัจจัยบวกคือ  การส่งออกสินค้าฟื้นตัวชัดเจนขึ้นและคาดว่าจะโตที่ประมาณ 6% ตามเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่องและขยายตัวสูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ ขณะที่การขยายตัวของเศรษฐกิจโลกในปีที่ผ่านมาขยายตัวที่ 3.7% ในปีนี้คาดว่าจะขยายตัวที่ 3.9%  อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่ประมาณ 1.3%  ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยอยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ค่าเงินบาทเฉลี่ย 31.0 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ และการที่ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) คงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ 1.5% รวมทั้งภาคท่องเที่ยวที่ยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ระดับราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้นทำให้รายได้เกษตรกรเพิ่มขึ้น การลงทุนภาคเอกชนฟื้นตัวตามการส่งออก นอกจากนี้การลงทุนของภาครัฐที่มีมากขึ้น จากการลงทุนในโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ( อีอีซี) และอยู่ใต้สมมติฐานว่าการเมืองไทยจะต้องมีเสถียรภาพ

Ad_Online-03-503x62-1 “การปรับเพิ่มจีดีพีขึ้นนั้น มาจากเม็ดเงินที่คาดว่าจะเข้ามาในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น 276,800 ล้านบาท แบ่งเป็นเม็ดเงินจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้นกว่า 100,800 ล้านบาทรายได้จากการท่องเที่ยวที่เพิ่มเข้ามา 80,000 ล้านบาท การปรับขึ้นอัตราค่าแรงขั้นต่ำอีก 60,000 ล้านบาท และบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย ระยะที่2 ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินเข้ามาหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจกว่าอีก 36,000 ล้านบาท” นายธนวรรธน์ กล่าว

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลต่อจีดีพีของไทยในปีนี้คือ นโยบายเศรษฐกิจของสหรัฐที่ยังคงมีความไม่แน่นอนส่งผลกระทบระดับความไม่แน่นอนของเศรษฐกิจโลกในภาพรวม อัตราดอกเบี้ยของโลกที่มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจจีนที่ยังขยายตัวในระดับต่ำกว่าศักยภาพ  รวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่ามากเมื่อเทียบกับประเทศคู่ค้าสำคัญ  โดยแข็งค่าขึ้นมาแล้ว กว่า 4% จากต้นปีที่ผ่านมา แต่คาดว่าค่าเงินบาทในปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 31 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ภาวะครัวเรือนยังอยู่ในเกิดที่สูง ทำให้สถาบันการเงินอย่างระมัดระวังในการปล่อยกู้อยู่และกำลังการผลิตส่วนเกินที่ยังคงอยู่ในระดับสูง ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว