ทางออกนอกตำรา : คลี่ปมภาษีที่ดินฯ แทงใจดำนายทุน

17 ก.พ. 2561 | 12:14 น.
5454854 บ้าน ผมยังขออนุญาต พาคุณผู้อ่านมาดูอัตราจัดเก็บภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ที่กฎหมายกำลังเข้าสู่การพิจารณาของสนช.ในวาระ 2 วาระ 3 และถือเป็นกฎหมายที่แทงใจดำนายทุน เศรษฐี มหาเศรษฐี ราชาที่ดิน อย่างหนักหน่วงจนทำลายสถิติในการพิจารณาที่ยาวนานที่สุด 1 ปีครึ่งเลยทีเดียว กฎหมายนี้มีผลกับเราทุกคน จึงต้องรู้เท่าทันมัน
กฎหมายนี้หัวใจอยู่ที่เพดานการจัดเก็บ และอัตราการจัดเก็บกรณีใช้พื้นที่เพื่อการเกษตรกรรม อัตราเพดานกำหนดไว้ 0.15% แต่อัตราที่จัดเก็บภาษีเขาจะคิดตามมูลค่าของที่ดิน

ถ้าที่ดินเกษตรกรรมนั้นมูลค่า 0-75 ล้านบาท จะจัดเก็บภาษี 0.01%
ถ้าที่ดินนั้นมูลค่า 75-100 ล้านบาท จะเก็บ 0.03%
ถ้าที่ดินเกษตรกรรมนั้นมีมูลค่า 100-500 ล้านบาท เขาจะจัดเก็บ 0.05%
ถ้าที่ดินเกษตรกรรมนั้นมีมูลค่า 500-1,000 ล้านบาท เขาจะจัดเก็บ 0.07%
ถ้าที่ดินเกษตรกรรมนั้นมีมูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จัดเก็บ 0.1%

อย่างไรก็ตาม เพื่อดูแลเกษตรกรรายย่อย ถ้าหากเป็นการถือครองโดยบุคคลธรรมดาจะได้รับการยกเว้นภาษี อปท. สำหรับที่ดินเกษตรกรรมมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านบาท
เมื่อคำนวณออกมาจะพบว่า บุคคลธรรมดาที่มีที่ดินเกษตรมูลค่า 100 ล้านบาท จะเสียภาษีประมาณ 10,000 บาท
ถ้ามีที่ดินมูลค่า 200 ล้านบาท จะเสียภาษีประมาณ 60,000 บาท
home-2003068_960_720 คราวนี้มาดูบ้านพักอาศัย อัตราเพดานอยู่ที่ 0.3% อัตราที่จัดเก็บคิดตามมูลค่าทรัพย์สินที่มีการประเมินเช่นกัน
โดยมูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตรา 0.02%
บ้านมูลค่า 50-75 ล้านบาท อัตรา 0.03%
บ้านที่อยู่อาศัยมูลค่า 75-100 ล้านบาท จัดเก็บ 0.05%
บ้านมูลค่า 100 ล้านบาท ขึ้นไปจัดเก็บ 0.1%

อย่างไรก็ตาม บ้านหลังหลัก ที่มีเจ้าของบ้านและที่ดินมีชื่อในทะเบียนบ้านได้รับยกเว้นภาษีสำหรับมูลค่า 20 ล้านบาท
ผมยกตัวอย่างภาระภาษีนั้น กรณีบ้านมูลค่าที่ดิน 50 ล้านบาท เสียภาษี 6,000 บาท
ถ้าเป็นบ้านท่านเศรษฐีที่มีมูลค่า 100 ล้านบาท ซึ่งมีอยู่ไม่กี่หลังจะเสียภาษี 26,000 บาท
ถ้าเป็นคฤหาสถ์ ชาโตว์ใหญ่ของมหาเศรษฐีมูลค่า 200 ล้านบาท เสียภาษี 126,000 บาท

อัตราภาษีอื่นๆ (พาณิชยกรรม) อัตราเพดานอยู่ที่ 1.2% โดยมูลค่า 0-50 ล้านบาท จัดเก็บ 0.3% มูลค่า 50-200 ล้านบาท จัดเก็บ 0.4% มูลค่า 200-1,000 ล้านบาท จัดเก็บ 0.5% มูลค่า 1,000-5,000 ล้านบาท จัดเก็บ 0.6% มูลค่า 5,000 ล้านบาท ขึ้นไป จัดเก็บ 0.7%
Ad_Online-03-503x62-1 27749959_1994136043939274_2101905019666006706_n เพื่อให้เห็นภาพ ถ้านำอาคารที่ดิน สิ่งปลูกสร้างทำพาณิชยกรรมแล้วทรัพย์สินนั้นมีมูลค่า 50 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีรวม 150,000 บาท

ถ้านำที่ดิน สิ่งปลูกสร้างที่มีมูลค่า 100 ล้านบาทมาทำการพาณิชย์ เป็นการค้าขาย โกดัง ลานจอดรถ สตูดิโอ ฯลฯจะต้องเสียภาษี 350,000 บาท

ถ้าทรัพย์เพื่อการพาณิชย์นั้นมีมูลค่า 500 ล้านบาท จะต้องเสียภาษี 2,250,000 บาท
ถ้าเป็นห้างสรรพสินค้า อาคารสูง ซูเปอร์มาร์เก็ต คอมมิวนิตีมอลล์มูลค่า 1,000 ล้านบาทขึ้นไป จะต้องเสียภาษี 4,750,000 บาท

ถ้าคุณไม่ทำอะไรเลย ปล่อยไว้เป็นที่ดินรกร้างว่างเปล่า อัตราเพดานภาษีอยู่ที่ 1.2% และจะเสียเพิ่มอัตราภาษี 0.3% ทุก 3 ปี แต่รวมไม่เกิน 3%

กฎหมายฉบับนี้ถือว่าแทงใจคนรวยอย่างมาก ผมไม่แปลกใจที่บรรดาหอการค้า สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จึงพยายามอย่างมากที่จะสกัดกั้นและหาทางผ่อนหนักเป็นเบา
แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 ล่าสุดผมทราบว่า สภาหอการค้าเสนอเรื่องไปยังกรรมาธิการ สนช.เพื่อให้พิจารณาข้อทักท้วงเพิ่มเติม ดังนี้

1. ทำอย่างไรที่จะดูแลไม่ให้ร่างกฎหมายฉบับใหม่นี้มีภาระตกไปอยู่กับเอสเอ็มอี ที่อาจต้องมีต้นทุนค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น
2. ทำอย่างไรที่จะทำให้การจัดเก็บภาษีฉบับใหม่ไม่มีปัญหา ซึ่งหมายถึงต้องลดการใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในการตีความและการใช้ดุลพินิจ เช่น การพิจารณาแปลงที่ดินสำหรับทำเกษตรกรรมหรือพาณิชย์
3. ทำอย่างไรที่เมื่อกฎหมายบังคับใช้ในปี 2562 แล้วจะมีความโปร่งใสในการจัดเก็บภาษี โดยเฉพาะการตีความของเจ้าหน้าที่ อาจจะเป็นผลทำให้ผู้บริโภคไม่อยากจ่ายภาษีเนื่องจากไม่ได้รับความเป็นธรรม
house-1429409_960_720 จะเห็นว่าข้อกังวลของตัวแทนคนรวยอยู่ที่ “อัตราจัดเก็บ” เนื่องจากรายได้เป็นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ จึงมีข้อกังวลว่าการจัดทำเพดานภาษีตั้งไว้มีโอกาสเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่ใช้ดุลพินิจในการเรียกเก็บภาษีได้ เพราะที่ผ่านมาเพื่อนบ้านแปลงที่ดินติดกันแต่เสียภาษีไม่เท่ากัน ทำอย่างไรจึงจะกำหนด “อัตราจัดเก็บจริง” ให้มีผลบังคับใช้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ไม่ต้องใช้ดุลพินิจอีกต่อไป

ในเรื่องนี้ผมตามไปสืบค้นกับกรรมาธิการมาแล้ว เขายืนยันชัดว่าอัตราจัดเก็บ หรือที่เรียกว่า “ภาระภาษี” ถูกกำหนดเป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว

คราวนี้ผมตามไปดูอีกว่า ที่เอสเอ็มอีเขาเดือดร้อนนั้นกรรมาธิการ สนช.คิดอย่างไร

ปรากฏว่าเห็นแล้วต้องขอบคุณมากๆ และดีใจแทน เพราะมีการมาร์กไว้เป็นสาระสำคัญในการพิจารณาเลยทีเดียวในเรื่องการดูแลผู้ประกอบการรายเล็กรายย่อย โดยเฉพาะกลุ่มเอสเอ็มอี

ผมสรุปให้ชัดลงไปว่า เขาลงลึกขนาดพิจารณากันว่า ถ้าผู้ประกอบการใช้ตึกแถวหรืออาคารพาณิชย์มาทำการค้าจะคิดภาษีอย่างไร
classic-home-png-002-retouching-thaidrawing-house-0063 เช่น นำตึกแถวย่านสุขุมวิท สีลม สาทร มาทำร้านก๋วยเตี๋ยว แต่ใช้ชั้นบนทำเป็นที่อยู่อาศัย ถ้ามูลค่าไม่เกิน 20 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี ส่วนชั้นล่างที่นำมาทำเป็นการค้า ก็จะคำนวณมูลค่าทรัพย์สินของชั้นล่าง แล้วจึงนำมาทอนเป็นอัตราจัดเก็บ ทำให้ได้รับผลกระทบน้อยลง

ในกรณีที่เคยจ่ายภาษีในระบบเดิม (ค่าภาษีโรงเรือนและที่ดิน+ภาษีบำรุงท้องที่) หากภาษีใหม่มีภาระเพิ่มขึ้นก็มีเวลาบรรเทาภาษีอีก 3 ปี เช่น เคยจ่ายภาษีเดิมอยู่ปีละ 100 บาท แต่มาประเมินใหม่ต้องเสียภาษีเต็ม 200 บาท การจัดเก็บภาษีใหม่จะไม่เก็บ 200 บาท แต่จะเริ่มต้นปีแรก 125 บาท ปีต่อไป 150 บาท ปีที่สาม 175 บาท ปีที่สี่จึงเก็บเต็ม 200 บาท
ไม่ต้องกังวล...

...........................
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา /หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ปีที่ 38 ฉบับ 3341 ระหว่างวันที่ 18-21 ก.พ.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว