ร่างพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ฉุดรั้งหรือพัฒนาประเทศ

24 ก.พ. 2561 | 02:50 น.
mp31-3341-1a ยืดเยื้อยาวนาน เดิมที ใช้ พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินมาตั้งแต่พ.ศ. 2475

รัฐบาลหลายสมัยพยายามผลักดัน พ.ร.บ.ภาษีที่ดินฯ มาใช้แทน แต่ก็เป็นหมันมาโดยตลอด ซึ่งวันนี้สภาพสังคม และเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก การออกแบบกฎหมายก็ควรสะท้อน และส่งเสริมต่อวิถีชีวิตของประชาชนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะวิถีชีวิตมนุษย์ที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงจาก IOT

ซึ่งจากหลักการและเหตุผล ในการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่จัดทำขึ้นมานั้นก็เพื่อใช้แทนกฎหมายว่าด้วยภาษีโรงเรือนและที่ดิน และกฎหมายว่าด้วยภาษีบำรุงท้องที่ โดยที่กฎหมายดังกล่าว ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานานแล้ว การจัดเก็บไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงสมควรยกเลิกกฎหมายทั้ง 2 ฉบับดังกล่าว โดยมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้รับผิดชอบการจัดเก็บภาษีดังกล่าว สิ่งนี้จึงเป็นสาระสำคัญที่มีการร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้น

แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่เกิดขึ้นมาแทนที่ ก็จะต้องสะท้อนผล กระทบในเชิงบวกเป็นที่ตั้ง ซึ่งในที่นี้จะพูดถึงสิ่งที่ควรคำนึง และมีความกังวลถึงผลกระทบในเชิงลบ ที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ยกร่างเอง กรรมาธิการฯ ผู้พิจารณา รวมถึงภาคสังคมประชาชน จะต้องมาร่วมกันคิด ร่วมกันหารือ

ซึ่งมาถึงวันนี้ประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบในเชิงลบ ได้ถูกนำมาพิจารณา หากกระบวนการป้องกัน แก้ไข ซึ่งมีประเด็นสำคัญที่จะต้องช่วยกัน เช่น เกษตรกร ภาคส่วนของประชาชนตามลักษณะอาชีพ หน่วยงาน องค์กรทั้งเอกชน และรัฐวิสาหกิจ

mp31-3341-2a โดยมีประเด็นต่างๆ ที่ต้องช่วยกันพิจารณาดังนี้

1. จะต้องไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับประชาชน เกินกำลังความสามารถในการชำระภาษีนี้ (ไม่ใช่เคยมียอดที่ชำระอยู่ 100 บาท แล้วกลายเป็น 200 บาท)

2. กรณีผู้ที่เช่าที่อยู่อาศัย จะต้องไม่มีการผลักภาระจากผู้ให้เช่า (โดยมีการปรับร่าง พ.ร.บ.กรณีการให้เช่าบ้าน ให้เข้าเงื่อนไขการใช้ประโยชน์เพื่อเป็นที่อยู่อาศัย)

3. กรณีธุรกิจกลุ่มที่สร้างสรรค์สังคม ควรได้รับการส่งเสริม สนับสนุน เช่น ธุรกิจด้านการศึกษา, ศูนย์เรียนรู้ สันทนาการ การกีฬาต่างๆ เช่นโรงเรียน, มหาวิทยาลัย, สวนสัตว์, พิพิธภัณฑ์ ควรได้รับการบรรเทา

4. เกษตกร ชาวไร่ ชาวสวน ซึ่งเป็นกลุ่มประเภทอาชีพที่ใช้ที่ดินจำนวนมาก แต่รายได้จากการเกษตรนั้นไม่ได้อยู่ในเกณฑ์ที่ดี และเป็นอาชีพหลักของชาวไทยมาช้านาน

5. อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในระหว่างข้อพิพาท มีการฟ้องร้อง หรือ แบ่งทรัพย์สิน ร่างพ.ร.บ.นี้จะมีการพิจารณาถึงการบรรเทา หรือลดภาระให้แก่ประชาชนอย่างไร

6. รัฐวิสาหกิจที่มีผลกระทบอันเนื่องจากการปรับเปลี่ยนกฎหมาย ด้วยสาเหตุเช่น ที่ดินที่อยู่ในเขตเมืองมีราคาประเมินค่อนข้างสูง ทำให้ฐานภาษีสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้กระทบต่อต้นทุนการดำเนินการ

7. กรณีทรัพย์สินที่เป็นสิ่งปลูกสร้างชนิดพิเศษ ที่ไม่มีราคาประเมินสิ่งปลูกสร้างตามเกณฑ์ของกรมธนารักษ์ จะเป็นภาระของประชาชน ที่จะต้องมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินการจัดหาผู้ประเมินฯ

8. กรณีที่มีการใช้หลักการยกเว้นบ้านหลังแรกนั้น ถือเป็นแนวทางที่ดีที่สนับสนุนสถาบันครอบครัว แต่ภาระที่ตามมาคือ เรื่องของการที่ประชาชนจะมีการโยกย้ายสถานะการเป็นเจ้าบ้านให้แก่บุตรหลาน หรือญาติพี่น้อง ซึ่งจะไปสร้างภาระให้กับประชาชนในการโยกย้าย และกระทบต่อการทำงานของฝ่ายทะเบียนราษฎร

9. กรณีการค้างชำระภาษีที่ดิน และมีบทลงโทษในการยึด อายัด หรือ ขายทอดตลาดทรัพย์สินนั้น หลักเกณฑ์นี้จะสร้างความวิตกกังวลกับภาคประชาชน ถึงแม้ว่าร่าง พ.ร.บ.นี้จะระบุไว้ว่าจะไม่กระทำเกินกว่าความจำเป็น ซึ่งยังเป็นประเด็นที่ใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่รัฐ

10. กรณีเรื่องของการค้างชำระ จะมีเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม ซึ่งจะเป็น การเพิ่มภาระแก่ประชาชน เพิ่มจากระบบภาษีโรงเรือน และภาษีบำรุงท้องที่ ที่เดิมไม่มีข้อกำหนดในเรื่องของเบี้ยปรับ

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ01-3-1 จากประเด็นที่กล่าวมานี้ เป็นสิ่งที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาร่าง รวมถึงภาคประชาชน จะต้องให้ความร่วมมือในการช่วยกันพิจารณา และนำเสนอในสิ่งที่เห็นว่าเป็นประเด็นที่ส่งผลกระทบในทางลบไม่ สอดคล้องต่อการนำไปบังคับใช้ และเพื่อให้มีแนวทางที่จะช่วยแนะ นำให้เราช่วยกันคิด ช่วยกันทำนั้น จึงขอเสนอแนว ทางไว้โดยการ “เริ่มที่การวิเคราะห์จากทรัพย์สินที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ของตนเอง ทำการประเมินมูลค่าตามหลักเกณฑ์ แล้วนำมาคำนวณกับอัตราภาษีตามประกาศร่าง พ.ร.บ.นี้แล้วศึกษาเปรียบเทียบ กับอัตราภาษีเดิม ว่าท่านจะได้รับผลประการใดเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่จะนำไปสู่การพิจารณาปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้ก่อเกิดประโยชน์ต่อชุมชนของชาติ และประเทศชาติของเรา โดยท่านสามารถส่งข้อเสนอแนะนำเสนอกลับมาที่คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. ...

บทความ : อภิชาติ ประสิทธิ์นฤทธิ์
นายกสมาคมการค้าอสังหาริมทรัพย์และพันธมิตร
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,341 วันที่ 18 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว