มรดกทางวัฒนธรรม การเชิดมังกรและสิงโต

18 มี.ค. 2561 | 06:27 น.

แม้ดินแดนและอาณาเขตจะไม่ได้เชื่อมติดกันโดยตรงแต่ความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นระหว่างไทยกับจีนกลับมีความผูกพันและเชื่อมโยงกันมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่โบราณกาล ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (จักรพรรดิฮั่นอู่ตี้) ร่ายเรียงลงมาอาณาจักรสุโขทัย ไทยและจีนมีความผูกพันทางการค้า รวมทั้งการ นำเอาศิลปวิทยากรเครื่องปั้นดินเผามาสร้างภาชนะอันลํ้าค่าในยุคดังกล่าว ไม่เพียงเท่านั้นยังมีการคาดการณ์ว่าในยุคสมัยนั้นเริ่มเกิดลักษณะความสัมพันธ์ทางสายเลือดระหว่างไทยกับจีน จนกระทั่งเริ่มมีการลงหลักปักฐานในดินแดนสุวรรณภูมิขึ้นเมื่อคราวจีนเกิดสงครามกลางเมืองราวปี 1930-1950 จึงอาจกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างไทยและจีนมีมาอย่างยาวนาน สมดังคำกล่าวที่ว่า “ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”




[caption id="attachment_259915" align="aligncenter" width="503"] อักขระมงคลภาษาจีนแปลว่า “ความสุข” บนงานตัดกระดาษแบบจีนโบราณ อักขระมงคลภาษาจีนแปลว่า “ความสุข” บนงานตัดกระดาษแบบจีนโบราณ[/caption]

การไหลเททางวัฒนธรรมของสองประเทศนำมาซึ่งการเรียนรู้ภาษาจีนหรือการเขียนแบบพู่กัน รวมทั้งการวาดภาพ ศิลปะอาหาร การต่อสู้อย่างมวยไท้เก๊ก และดนตรี การขับร้อง ตลอดจนการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์อย่าง การเชิดมังกรและสิงโต ซึ่งการแสดงดังกล่าวนั้นถือเป็นการเต้นรำในวัฒนธรรมจีน นอกจากความสวยงาม สนุกสนานและสร้างสรรค์ยังแสดงออกถึงความเป็นมงคล เพราะชาวจีนเชื่อว่า พญามังกรทองเป็นสัตว์คู่บารมีของพระโพธิสัตว์กวนอิม ส่วนพญาสิงโตเป็นองครักษ์ขององค์ฮ่องเต้ สัตว์ 2 ชนิดนี้จึงถือเป็นสัตว์มหามงคลที่มาจากฟากฟ้าและถูกนำมาใช้เป็นสัญลักษณ์การแสดงในงานมงคล อาทิ วันตรุษจีน เพื่อประทานพร มอบความเป็นสิริมงคล ปัดเป่าสิ่งชั่วร้ายสิ่งไม่ดีให้หมดไป ที่สำคัญยังเป็นส่วนสนับสนุนที่ดีในเรื่องการค้าขายให้ก้าวหน้ารุ่งเรือง มีเงินทองไหลมาเทมา

MP28-3341-2A จากข้อมูลของคุณจิรพัฒน์ วิลัยพงษ์ หัวหน้าทีมงานคณะสิงโตมังกรทอง ลูกชัยมงคล เล่าถึงตำนานมังกรและสิงโตเมืองไทยได้อย่างน่าสนใจว่า “ประเทศจีนนั้นได้ส่งคณะเชิดสิงโตมาแสดงหน้าพระพักตร์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของการเชิดสิงโตในประเทศไทยนับตั้งแต่นั้นมา ด้วยเสน่ห์ในเรื่องของความสนุกสนานและตื่นเต้น ทำให้การเชิดสิงโตได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย จากคนไทยเชื้อสายจีนในสมัยนั้นสู่กลุ่มคนไทยในรัตนโกสินทร์”

MP28-3341-8A สำหรับสิงโตที่ใช้ในการแสดงแบ่งออกเป็น 4 เผ่าพันธุ์ ได้แก่ 1. สิงโต กวางตุ้ง ซึ่งเป็นแบบที่ได้รับความนิยมสูงสุด จะประดับกระจกที่หน้า เขียนสีสันลวดลายลงบนหัว มีนอที่หน้าผาก และมีเคราที่คาง 2. สิงโตปักกิ่ง จะออกแบบให้ดูน่ารัก มีเสียงกรุ๊งกริ๊ง มองผิวเผินคล้ายกับสุนัขตัวเล็กๆหรือหมาจูที่มีขนฟู และจะแสดงสองตัวขึ้นไป 3. สิงโตฮักกาหรือที่เรียกว่าหัวบุ้งกี๋ ทาหน้าเป็นลายสีเขียว เหลือง แดง มีฟันซี่โตและมีคาแรกเตอร์ที่ดุดัน และ 4. สิงโตไหหลำ ซึ่งมีถิ่นกำเนิดเช่นเดียวกับชื่อมีการสร้างรูปหัวเสือขึ้นมาใช้แทนรูปหัวสิงโต ทำให้มีลักษณะแตกต่างจากสิงโตแบบอื่นๆ

MP28-3341-4A MP28-3341-3A MP28-3341-6A การแสดงเชิดสิงโตนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายที่ใครๆจะทำได้ แต่ผู้ที่จะเป็นคนเชิดหรือแสดงนั้นต้องผ่านการฝึกมาอย่างน้อยไปตํ่ากว่า 2 ปี ถึงจะออกแสดงเชิดมังกรและสิงโตได้จริง ด้านท่วงท่าในการแสดงถอดแบบมาจากศิลปะการต่อสู้จากจีนอย่าง มวยจีน กระบอง มีดสั้น ทวน ง้าว และอื่นๆซึ่งโดดเด่นในเรื่องความคล่องตัว รวดเร็วจากการเคลื่อนที่ด้วยเท้า ภาพรวมการเต้นรำมุ่งเน้นการใช้ลีลาการร่ายรำที่วิจิตรงดงามเป็นหลัก

ความผูกพันที่เชื่อมโยงมากกว่าการเป็นบ้านพี่เมืองน้อง แต่ซึมลึกลงไปถึงระดับพันธุกรรม ทำให้ความเชื่อของคนจีนเข้าถึงคนไทยในทุกหย่อมหญ้า ส่งต่อความสนุกและความรื่นเริงภายใต้การเฉลิมฉลองอันยิ่งใหญ่ ต้อนรับวันขึ้นปีใหม่ปฏิทินจีน

Ad_Online-03 จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,341 วันที่ 18 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
e-book