ทางออกนอกตำรา : ที่ดินสิ่งปลูกสร้าง ภาษีที่เศรษฐีรุมถล่ม

14 ก.พ. 2561 | 12:10 น.
22151515

2014011410314080919 12 กุมภาพันธ์ 2561 ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ที่บรรดาสมาชิกหอการค้าไทยรวมพลังกันอีกรอบในการเสนอให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  พิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ....ที่กำลังเดินดุ่มๆ เข้าสู่การพิจารณาของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวาระ 2-3 ในช่วงวันที่ 25 มีนาคม 2561

ปรากฏการณ์จัดงานสัมมนารอบนี้เป็น “ก๊อก3” หลังจากก่อนหน้านี้สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมฯ สมาคมธนาคารไทย รวมพลังกันเสนอแนวทางไปยังรัฐบาลให้พิจารณาการทำคลอดกฎหมายมา 2 ระลอก

ระลอกแรก ออกมาระบุว่า กฎหมายฉบับนี้บรรดาเถ้าแก่ตัวน้อยจะสลบเหมือดกันหมด เพราะจะโดนโยนให้แบกรับภาระค่าเช่าที่จาก “เจ้าสัวที่ถือครองที่ดินสิ่งปลูกสร้าง”

ระลอกต่อมา ให้บรรดาสมาชิกหอการค้าทั่วประเทศ เสนอความคิดเห็นเข้ามาให้รัฐบาลและกรรมาธิการ สนช.นำไปพิจารณา
1518607580059 รอบนี้จัดสัมมนาโดยมีผู้เข้าร่วมกว่า 500 คน และมีการ “ไลฟ์สดส่งสารและฐานข้อมูล” ไปยังหอการค้าทั่วประเทศ 47-50 จังหวัด

ควันที่คลุ้งออกมาสะท้อนให้เห็นว่ามี “ไฟ” ในกลุ่มผู้นำภาคธุรกิจของเมืองไทยจากการทำคลอดภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแน่นอน

ว่ากันว่า ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นกฎหมายแสลงใจ “ราชาที่ดิน” ของเมืองไทยอย่างมาก

เพราะเดิมเสียภาษีโรงเรือนฯ และภาษีบำรุงท้องที่ในสัดส่วนที่ตํ่ามากๆ แต่กฎหมายใหม่จะทำให้มีภาระที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้จะทำให้รัฐมีรายได้เพิ่มขึ้นกว่า 40,000 ล้านบาท จากเดิมปีละ 2.9 หมื่นล้านบาท
Ad_Online-03-503x62-1 นี่จึงเป็นที่มาว่าทำไมกฎหมายฉบับนี้ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของสนช. มาตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2560 แต่กรรมาธิการ สนช.ขอต่อเวลาในการพิจารณากฎหมายฉบับนี้มา 5 รอบ รอบละ 60 วัน ถ้ากฎหมายฉบับนี้เข้าสู่การพิจารณาในสนช.วันที่ 25 มีนาคม 2561 จริง เท่ากับว่าจะเป็นกฎหมายที่สร้างประวัติศาสตร์ในการพิจารณาของรัฐสภาไทยที่ยาวนานมากถึง 359 วัน

หากนับเอามติ ครม. ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2559 ที่ร่างกฎหมายฉบับแรก ซึ่งแยกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ ที่ดินเกษตรกรรม, ที่อยู่อาศัย, พาณิชยกรรม, ที่ดินรกร้างว่างเปล่าที่มีเสียงคัดค้านดังระงมเพราะเพดานภาษีที่ดินเกษตรกรรม 0.2%, ที่อยู่อาศัย 0.5%,พาณิชยกรรม 2% และที่ดินเปล่า 5% ก็ตกปีครึ่ง

ทบทวนกันอีกครั้งนะครับ...ใครละจะเดือดร้อนจากกฎหมายฉบับนี้...ที่เก็บภาษีจากการถือครองที่ดินฯ
maxresdefault (4)
อันดับ 1 ตระกูล “สิริวัฒนภักดี” มีที่ดินอยู่ร่วม 650,000 ไร่ ที่ดินแปลงใหญ่อยู่ที่ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี 12,000 ไร่ ที่ดินใน อ.บางบาล จ.พระนครศรีอยุธยา อีก 15,000 ไร่ ที่ดินย่านเขาใหญ่ร่วม 3,000 ไร่ อุดรธานีรอยต่อหนองคายอีกร่วม 5,000 ไร่ ย่านภาคตะวันออก ชลบุรี ระยอง อีกกว่า 3,000 ไร่ เฉพาะในพื้นที่ลำพูน ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย อีกกว่า 4,600 ไร่ ทั้งในนามส่วนตัวของคุณเจริญ-คุณหญิงวรรณา สิริวัฒนภักดี ครอบครัว และผ่านบริษัทต่างๆ

อันดับ 2 ตระกูล “เจียรวนนท์” ของเจ้าสัวซีพี นายธนินท์ เจียรวนนท์ ไม่ตํ่ากว่า 200,000 ไร่ ที่ดินแปลงใหญ่อยู่ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา 10,000 ไร่ ที่ จ.สระบุรี ปราจีนบุรี สระแก้วชุมพร สุราษฎร์ธานี อีกกว่า 5,600 ไร่

อันดับ 3 บมจ.สหอุตสาหกรรมนํ้ามันปาล์ม ผู้ดำเนินธุรกิจด้านนํ้ามันปาล์มรายใหญ่ในภาคใต้ ถือครองที่ดินราว 44,400 ไร่

อันดับ 4 สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ 35,000 ไร่

อันดับ 5 บมจ.ไออาร์พีซีบริษัทในเครือ ปตท. 17,000 ไร่

อันดับ 6 กลุ่มตระกูลมาลีนนท์ ราว 10,000 ไร่

อันดับ 7 น.พ.บุญ วนาสิน และเครือโรงพยาบาลธนบุรี 12,000 ไร่

อันดับ 8 กลุ่มนายวิชัย พูลวรลักษณ์ และเมเจอร์ 7,000 ไร่

อันดับ 9 กลุ่มตระกูลเตชะณรงค์ 5,000 ไร่

และอันดับ 10 ตระกูลจุฬางกูร 5,000 ไร่
1518608016539 กลุ่มนักการเมืองนั้น พบว่า นายอำนาจ คลังผา อดีต ส.ส.ลพบุรี พรรคเพื่อไทย ถือครองที่ดิน 2,030 ไร่ นายบรรหาร ศิลปอาชา อดีตนายกรัฐมนตรี ถือครองที่ดิน 2,000 ไร่ นายเสนาะ และ นางอุไรวรรณ เทียนทอง ถือครองที่ดินน 1,900 ไร่ กลุ่มนายพิเชษฐ พันธุ์วิชาติกุล อดีตส.ส.กระบี่ พรรคประชาธิปัตย์ และกลุ่มบริษัทกว่า 3,000 ไร่ กลุ่มนางอัญชลี (วานิช) เทพบุตร กว่า 8,000 ไร่, กลุ่มนายประวัต อุตตะโมต อีกกว่า 4,000 ไร่

ข้อมูลจากกรมธนารักษ์ระบุว่า ในประเทศไทยนั้นราชาที่ดินที่ถือครองที่ดินอยู่เกินกว่า 1,000 ไร่ขึ้นไป มีทั้งสิ้น 4,800 ราย เขาเหล่านี้ไม่ธรรมดา

นี่จึงเป็นที่มาของการปรับลดเพดานภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างลงมาให้บรรดาราชาที่ดินอย่างฮวบฮาบ ประเภทเกษตรกรรมเพดานของอัตราภาษีลงมาอยู่ที่ 0.15% ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างประเภทที่อยู่อาศัย 0.3% ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมอยู่ที่ 1.2% ที่ดินทิ้งรกร้างว่างเปล่าไม่ได้ทำประโยชน์ 1.2% และเพิ่มขึ้น 0.3% ทุก 3 ปี แต่ไม่เกิน 3%

ลดลงขนาดนี้แล้ว ทำไมเศรษฐีจึงมีแรงต้าน...รอดูกันต่อไปครับ 1518606541466 ...............
คอลัมน์ : ทางออกนอกตำรา / หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ /ฉบับ 3340 ระหว่างวันที่ 15-17 ก.พ.2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว