โตโยต้ากับพันธกิจลดโลกร้อน

17 ก.พ. 2561 | 01:14 น.
ภารกิจลดโลกร้อน ถือเป็นหนึ่งพันธกิจที่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ให้ความสำคัญ ทั้งในขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ และการทำกิจกรรมกระตุ้น และให้ความรู้กับสังคม

MP26-3340-5B ในแง่ของสังคม โตโยต้าจัดทำโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ภายใต้กิจกรรม “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา” ที่โตโยต้าจับมือกับมูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ดำเนินการมาเป็นปีที่ 13 ด้วยเป้าหมายการสร้างจิตสำนึกให้สังคมไทย ตระหนักถึงปัญหาโลกร้อน มีการเปิดโอกาสให้โรงเรียน ชุมชน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจากทั่วประเทศ จัดทำโครงการส่งเข้าประกวด สนับสนุนการลดภาวะโลกร้อนภายในพื้นที่ของตัวเอง ภายใต้ แนวการทำกิจกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อม 5 ด้าน ได้แก่ การประหยัดพลังงานไฟฟ้า การจัดการขยะ การเดินทางอย่างยั่งยืน การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และการอนุรักษ์นํ้า
ตลอดระยะเวลา 13 ปี กิจกรรม “ลดเมืองร้อน ด้วยมือเรา” ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนงบประมาณให้แก่โรงเรียนทั้งสิ้น 286 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 225 แห่งและชุมชนกว่า 140 แห่งทั่วประเทศ เกิดเป็นแผนงานกว่า 3,440 โครงการ และสามารถช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 20,000 ตัน

MP26-3340-1B ส่วนในแง่การดำเนินธุรกิจ เกี่ยวกับการลดภาวะโลกร้อน “นินนาท ไชยธีรภิญโญ” ประธานคณะกรรมการบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้พูดถึงแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยโตโยต้า ประเทศญี่ปุ่น มีการประกาศว่า ในปี 2593 ว่าจะต้องลดคาร์บอนไดออกไซด์

MP26-3340-2B ลง 90% โดยการผลิตรถ Hybrid Electric Vehicle ให้มากขึ้น และปลายปี 2560 โตโยต้า ยังได้ร่วมมือกับมาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น และเดนโซ่ คอร์ปอเรชั่น ส่งวิศวกรบริษัทละ 40 คน มาร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และยังจับมือกับพานาโซนิค เพื่อพัฒนาแบตเตอรี่รถยนต์รุ่นใหม่ๆ ร่วมกัน

[caption id="attachment_258729" align="aligncenter" width="503"] นินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย นินนาท ไชยธีรภิญโญ ประธานคณะกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ประเทศไทย[/caption]

นอกจากนี้ ยังร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือเอ็มเทค ของสวทช. ในการพัฒนาระบบไบโอฟูเอล เพราะรถไฮบริดที่ใช้เชื้อเพลิงไบโอฟูเอล เช่น E85 จะปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย

MP26-3340-3B “นินนาท” บอกว่า โตโยต้า คิดเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบครบวงจร เมื่อมีการผลิตรถที่ใช้แบตเตอรี่ ก็คิดไปถึงเรื่องการกำจัดแบตเตอรี่แบบ 3R ได้แก่ Reduce จากแบตเตอรี่รถไฮบริดที่มีอายุการใช้งานประมาณ 12 ปี โตโยต้าได้ร่วมกับกรมควบคุมมลพิษ สร้างโรงงานกำจัดแบตเตอรี่ 2. Reuse นำมาทำเป็น Storage battery และ 3. Recycle เอามาเผา แล้วนำนิกเกิลกลับมาใช้ใหม่ โดย Reduce และ Reuse ทำมาแล้วตั้งแต่ธันวาคม 2560 ส่วน Recycle จะทำในปี 2563

AW_Online-03 ส่วนโครงการทดลองทำระบบการเดินทางรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นำ EV Car Sharing “CU TOYOTA Ha:mo” รถยนต์ไฟฟ้าขนาดเล็ก 1 ที่นั่ง ไปทดลองใช้ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เฟสแรก 10 คัน 12 สถานีจอด มีสมาชิกสมัครมา 343 ราย ใช้งานต่อวันต่อคัน 3.9 ครั้งต่อวัน จากเป้าที่ตั้งไว้ 4 ครั้งต่อวัน อนาคตจะเพิ่มอีก 20 คัน และเพิ่มสถานีจอดเป็น 29 สถานี เช่น ร.พ.จุฬาฯ บีทีเอส สยามสแควร์ โครงการนี้ถือเป็นการช่วยเพิ่มความสะดวกในการเดินทางระยะสั้นให้กับบุคคลทั่วไปที่สนใจได้เป็นอย่างดี

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,340 วันที่ 15 - 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว