‘สิงคโปร์ แอร์โชว์’ฉลุย ‘โบอิ้ง-เอทีอาร์’ปลื้มออร์เดอร์ฝูงบินพุ่ง

16 ก.พ. 2561 | 08:25 น.
ปิดฉากสิงคโปร์ แอร์โชว์ 1 พันบริษัทด้านการบินและอวกาศชั้นนำของโลก ร่วมงาน คาดปี 79 ผู้โดยสารพุ่งเป็น 7.8 พันล้านคน ไออาต้า แนะเร่งแก้ปัญหาคอขวดในสนามบิน ด้าน โบอิ้ง ปลื้มขายฝูงบินล็อตใหญ่ได้ 2.7 หมื่นล้าน ขณะที่เอทีอาร์ ขาย 4 ลำ ให้บางกอก แอร์เวย์สร่วม 3.1 พันล้าน

การจัดงาน “สิงคโปร์ แอร์โชว์” จัดว่าเป็นงานแสดงด้านอากาศยานและยุทธปัจจัยด้านกลาโหมที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ซึ่งปีนี้ได้จัดขึ้นไปเมื่อวันที่ 6-11 กุมภาพันธ์ 2561 การจัดงานในปีนี้เน้นเรื่องของนวัตกรรมอากาศยานและสิ่งประดิษฐ์ลํ้าสมัย เพื่อก้าวสู่อนาคตของอุตสาหกรรมการบินในยุคดิจิตอล ที่เข้ามาแทนที่รูปแบบธุรกิจดั้ง เดิม และตอบสนองความต้องการในการเดินทางทางอากาศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว

MP22-3339-A อีกทั้งในทุก 2 ปีครั้ง จะมีการจัดเวทีสำหรับกา รประชุมระดับสูงให้กับผู้นำในอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก เข้าร่วมการประชุม สุดยอดผู้นำการบินสิงคโปร์ แอร์โชว์ “Aviation Leader ship Summit & Airshow” เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ทางนวัตกรรมเพื่อพัฒนาเทค โนโลยีการบิน และวิศวกรรมด้านอากาศยานในอนาคต การรับมือกับความซับซ้อนของการโจมตีทางไซเบอร์ การเปลี่ยนแปลงทางระบบดิจิตอลและระบบขับเคลื่อนไร้คนขับ

โดยเขาจะลงทุนจัดตั๋วเครื่องบิน 2 ที่นั่ง ที่พัก รถใช้งาน และผู้ติดตามให้ผู้นำทุกคน รวมแล้วเกือบ 400 คน นอกจากนั้นยังมีบริษัทผู้ผลิตในวงการบินที่มาเองอีกรวมแล้วเกือบ 1 พันคน ตอกยํ้าให้เห็นว่า สิงคโปร์ แอร์โชว์ จึงเป็นตลาดและเครือข่ายใหญ่สำหรับการบินระดับโลก

ทั้งนี้มีการคาดการณ์ว่าในปี 2579 จะมีผู้โดยสารเดินทางโดยเครื่องบินมากถึง 7.8 พันล้านคน เพิ่มจากจำนวนผู้โดยสารพุ่งขึ้นถึง 4 พันล้านคนในปีนี้อีกทั้งรายงานของ Knect365 Finance เว็บไซต์จัดหาข้อมูลเชิงลึกด้านการเงิน ระบุว่าในอีก 2 ทศวรรษข้างหน้า ประเทศทางซีกตะวันออกของโลกจะกลายมาเป็นตลาดใหญ่แห่งการเดินทางทางอากาศ

MP22-3339-1A นายอเล็กซานเดอร์ เดอ ชองนิแอค ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (ไออาต้า) กล่าวว่า ไออาต้า มองว่าเรื่องเร่งด่วนที่ควรให้ความสนใจ คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่งทางอากาศที่เป็นคอขวด อันเป็นผลจากการเติบโตของการขนส่งอากาศที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะสนามบินในกรุงเทพฯจาการ์ตา และมะนิลา ที่มีข้อจำกัดเรื่องของศักยภาพในการรองรับ และไม่ได้ถูกสร้างขึ้น อย่างรวดเร็วเพียงพอที่จะตอบสนองดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น ดีลการซื้อเครื่องบินในงานแอร์โชว์นี้ จะไม่มีความหมายเลย หากปัญหาความแออัดของการจัดการจราจร ทางอากาศและข้อติดขัดด้านโครงสร้างพื้นฐานของสนามบินยังไม่ได้รับการแก้ไข

อีกทั้งในงานจะมีการนำเสนอนวัตกรรม ผลิตภัณฑ์และบริการลํ้าสมัย เช่นการสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ ระบบเครื่องบินไร้คนขับ และนวัตกรรมอุปกรณ์การบิน โดยมีบริษัทเข้าร่วมงานสิงคโปร์ แอร์โชว์กว่า 1,000 บริษัท จาก 50 ประเทศทั่วโลก โดยจะมีผู้จัดแสดงนิทรรศการจากบริษัทด้านการบินและอวกาศชั้นนำของโลกอย่าง แอร์บัส, เบลล์ เฮลิคอปเตอร์, โบอิ้ง และ โรลส์-รอยซ์ รวมถึงจะยังมีผู้จัดแสดงที่มีชื่อเสียงรายใหม่ๆ เช่น ฮอนด้าแอร์คราฟท์-คัมปะนี IHSE Asia และบูมซูเปอร์โซนิกอีกด้วย นอกจากนี้ งานสิงคโปร์ แอร์โชว์ จะยังมีการจัดแสดงเครื่องบินพาณิชย์และเครื่องบินทหารที่ทันสมัยที่สุดและกิจกรรมการบินผาดโผน

ทั้งงานนี้บริษัทผู้ผลิตเครื่องบินต่างก็ได้ออร์เดอร์จากงานนี้กันถ้วนหน้า ไม่ว่าจะเป็นโบอิ้ง ที่เปิดเผยว่าได้รับคำสั่งซื้อเครื่องบินล็อตใหญ่ในงานสิงคโปร์ แอร์โชว์ คิดเป็นมูลค่ากว่า 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (2.7 หมื่นล้านบาท) จากลูกค้าทั้งในภูมิภาคนี้และทั่วโลก รวมถึงการเปลี่ยนอะไหล่แลนดิ้งเกียร์ จำนวน 36 ชิ้นให้กับออลนิปปอนแอร์เวย์ส อีกทั้งโบอิ้ง ยังเน้นที่จะกระตุ้นรายได้จากธุรกิจด้านบริการของบริษัทผ่านทาง Global Service ซึ่งเป็นหน่วยงานใหม่ที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษา ซ่อมแซม และปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องบิน รวมทั้งดูแลด้านการบินและการวิเคราะห์ด้วยระบบดิจิตอล
ad-bkk
ขณะเดียวกันเอทีอาร์ ยังได้เปิดเผยดีลการเซ็นสัญญาซื้อเครื่องบินเอทีอาร์ 72-600s ของ บางกอก แอร์เวย์ส จำนวน 4 ลำ มูลค่ากว่า 100 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ราว 3,160 ล้านบาท) สำหรับใช้ทำการบินเส้นทางบินภายในประเทศและภูมิภาคนี้ เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่บางกอก แอร์เวย์ส มีเครื่องบินเอทีอาร์ให้ บริการรวมกว่า 15 ลำ เป็นเอทีอาร์ 72-600s จำนวน 9 ลำ และเอทีอาร์ 72-500s จำนวน 6 ลำ ที่บางกอก แอร์เวย์สต้องการ เปลี่ยนมาเป็นเครื่องบินเอทีอาร์ที่ได้สั่งซื้อ อย่างไรก็ตามตั้งแต่ปี 2550 ประเทศในอาเซียน มีเครื่องบินเอทีอาร์ ทำการบินอยู่เพิ่มจาก 50 ลำมาใกล้จะถึง 250 ลำ

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,339 วันที่ 11 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
e-book-1-503x62