แห่นำเข้าหินก่อสร้างจากลาว โรงโม่อีสานสัมปทานหมด-สวล.ไม่ผ่าน

11 ก.พ. 2561 | 06:48 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

นักธุรกิจอีสานบน จับมือจีน เวียดนามนำเข้าหินก่อสร้างจากลาวป้อนตลาดในไทย ที่โรงโม่สัมปทานหมดสวล.ไม่ผ่าน เผยได้รับอนุมัติกว่า 200 ล้านคิว ตั้งสมาคมการค้าหินไทย-ลาว คุมคุณภาพ

นายภคพล บุตรสิงห์ นายกสมาคมการค้าหิน ไทย-ลาว จ.บึงกาฬ และในฐานะประธานที่ปรึกษา บริษัท อาร์ทีแอล เวิล์ดเทรด จำกัด ที่มีการจดทะเบียนการดำเนินธุรกิจทั้งในประเทศ สปป.ลาวและประเทศไทย เปิดเผยว่า ได้มีการจัดตั้ง “สมาคมการค้าหินไทย-ลาว” ด้วยวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ เพื่อเป็นตัวกลางในการดูแลประสานงานอำนวยความสะดวก ให้แก่บริษัท ผู้ประกอบการ มีการนำ เข้าหินเพื่อก่อสร้างจากประเทศ สปป.ลาว เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการขาดแคลนหินเพื่อการก่อสร้าง และช่วยเหลือดูแลประสานงานระหว่างผู้ประกอบการทุกแห่งในด้านการขนส่งทั้งในด้านของราคาหิน ปัญหาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเริ่มต้นภายใน 3-4 ปีนี้ คาดว่าจะมีการนำเข้าหินเพื่อการก่อสร้างไม่น้อยกว่า 33 ล้านคิวบิกเมตร จากที่ได้มีการขออนุญาตจากรัฐบาลลาวเอาไว้ จำนวน 200 ล้านคิวบิกเมตร

“เนื่องจากในปัจจุบันนี้ การทำโรงโม่หินในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคอีสานได้มีการทยอยเลิกการทำเหมืองหินเพื่อการก่อสร้างไปเป็นจำนวนมากแล้ว ด้วยปัญหาจากการที่ทรัพยากรหินเพื่อการก่อสร้างมีจำนวนน้อยลงมาก บางแห่งอยู่ในขั้นตอนขออนุมัติต่อสัมปทานบัตร ในภาคอีสานตอนบน 5-6 จังหวัดมีเหลืออยู่ที่จังหวัดเลย เพียงแห่งเดียว ซึ่งก็อยู่ห่างจากแหล่งซื้อ-ขายและสถานที่ก่อสร้าง เช่น จังหวัดบึงกาฬ นครพนม ก็มีระยะทางมากกว่า 400 กิโลเมตร จึงทำให้ต้นทุนซื้อ-ขาย การขนส่งสูง ไม่คุ้มกับการพาณิชย์”

MP21-3339-A นายภคพล กล่าวต่อไปว่า ขณะที่แหล่งทรัพยากรหินใน สปป.ลาว อยู่ห่างจากชายแดนไทยระยะทางไม่เกิน 50 กิโลเมตร และจากการสำรวจ แหล่งหินของสปป.ลาว เป็นหินที่มีคุณภาพดีมาก เช่น หินบะซอลต์ หินแกรนิต เป็นต้น และมีแหล่งหินเป็นจำนวนมาก เช่น บริษัท อาร์ ที แอล เวิล์ดเทรด จำกัด ได้รับอนุมัติให้ทำการส่งออก ซึ่งจะมีการนำเข้ามาในประเทศล็อตแรกจำนวน 33 คิวบิกเมตร และจะทยอยนำเข้าตามโควตาที่ได้รับ

“ทั้งนี้โดยในปัจจุบันนี้ประเทศ สปป.ลาว มีแหล่งทรัพยากรหินเพื่อการก่อสร้างเป็นจำนวนมาก แต่ขาดเทคโนโลยี ในการทำเหมืองและระเบิดหิน จึงอนุญาตให้มีการดำเนินงานในลักษณะร่วมทุน โดยให้เอกชนจีนและเวียดนาม เข้ามาดำเนินการทำเหมืองหิน ระเบิดหิน เพื่อจำหน่ายในประเทศ และส่วนหนึ่งส่งออกไปยังประเทศจีนและเวียดนาม ส่วนหนึ่งจีนนำเอาไปใช้ในโครงการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง จีน- ลาว (เวียงจันทน์)

ad-bkk นายภคพล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ทั้งนี้สมาคมจะเข้ามาดูแลช่วยเหลือสมาชิก ที่เป็นบริษัทผู้รับเหมา ผู้ประกอบการขนส่งหินประมาณ 30 ราย เป็นตัวกลางติดต่อประสานงานกับทางการประเทศลาว และภายในพื้นที่ในการดำเนินพิธีการนำเข้า-ส่งออก ให้เป็นไปตามกฎระเบียบของทั้ง 2 ประเทศ ทั้งนี้จะมีการนำเข้าล็อตแรกจำนวน 33 คิวบิกเมตร จากเหมืองหิน เมืองสังข์ทอง แขวงนครหลวงเวียงจันทน์ ผ่านด่านท่าเรือบั๊คศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย

นายเจตน์ เกตุจำนงค์ ประธานหอการค้าจังหวัดบึงกาฬ เปิดเผยว่า การจัดตั้งสมาคมการค้าหินไทย-ลาว เป็นเรื่องที่จะแก้ไขปัญหาของหินเพื่อก่อสร้างในพื้นที่และจังหวัดอื่นๆ เพราะเรื่องนี้ได้เคยมีการนำเข้าพูดคุยถึงปัญหากันในการประชุม 3 ประเทศ 9 จังหวัด หอการค้าจังหวัดบึงกาฬในฐานะของผู้นำเอกชน เป็นผู้คอยให้คำปรึกษาและเป็นตัวกลางและถือว่าหากเอกชนสามารถนำเข้าหินเพื่อการก่อสร้างจาก สปป.ลาว ได้ เป็นเรื่องที่ดี เป็นเรื่องของการส่งเสริมการค้า-ขาย ส่วนหนึ่งก็จะนำมาใช้ในโครงการก่อสร้างเขื่อนกันตลิ่งของจังหวัดตามริมแม่นํ้าโขง คือ จังหวัดบึงกาฬ นครพนม หนองคาย

มีรายงานจากสำนักงานพื้นฐานและเหมือง เขต 2 อุดรธานี ซึ่งดูแลรับผิดชอบ 13 จังหวัดของภาคอีสานตอนบน ระบุว่าปัจจุบันนี้สภาวะการขาดแคลนหินเพื่อการก่อสร้างในภาคอีสานค่อนข้างรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ มีเหมืองหินจำนวนหนึ่งเลิกกิจการ ส่วนหนึ่งกำลังอยู่ในขั้นตอนการขออนุญาตต่อใบอนุญาตสัมปทานบัตร ซึ่งแหล่งแร่หินในภาคอีสานมีอยู่ที่ จังหวัดอุดรธานี แต่ขณะนี้ก็หมดแล้ว มีผู้ประกอบการ 2 ราย ก็ไม่ได้ดำเนินการ นอกจากนี้มี หนองบัวลำภู เลย ชัยภูมิ ขอนแก่น อุบลราชธานี ศรีสะเกษ สุรินทร์ นครราชสีมา

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,339 วันที่ 9 - 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
e-book-1-503x62