ออมสินจับมือไอแบงก์ ป้องกันฟอกเงิน ก่อการร้าย ร่วมสร้างองค์กรคุณธรรม

08 ก.พ. 2561 | 08:15 น.
-8 ก.พ.61- นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ร่วมลงนามร่วมกับนายวิทัย รัตนากร กรรมการและรักษาการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) เพื่อให้ความช่วยเหลือ การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินให้กลุ่มก่อการร้าย

S__9035824 นายชาติชาย กล่าวว่า ขณะนี้ธนาคารรัฐและ ธนาคารพาณิชย์ให้ความช่วยเหลือร่วมกันในการส่งข้อมูลกลุ่มมิจฉาชีพ ป้องกันการทุจริต เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลผ่าน Big Data ระหว่างธนาคารรัฐด้วยกัน เพราะแนวโน้มบริการผ่านออนไลน์เริ่มสูงขึ้น ซึ่งรัฐบาลเองยังเน้นให้ธนาคารรัฐมีความโปร่ง เพื่อประเมินในตัวชี้วัดผลงาน
สำหรับมาตรการช่วยเหลือผู้บัตรสวัสดิการเฟส 2 นายชาติชายกล่าวยอมรับว่า หลังจากเปิดให้ประชาชนที่ได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 11.4 ล้านคน ลงทะเบียนเข้ามาฝึกอบรมอาชีพในช่วง 6-7 วันที่ผ่านมาพบว่า ประชาชนแจ้งลงทะเบียนผ่านออมสินเพียง 6 แสนราย ซึ่งถือว่า น้อยมาก ส่วนหนึ่งอาจจะเพราะยังไม่ทราบข้อมูลชัดเจน ซึ่งจากนี้ไปต้องส่งเจ้าหน้าที่ออมสินลงพื้นที่ เน้นกลุ่มผู้มีรายได้ต่ำกว่า 3 หมื่นบาทต่อปี และต้องโหมประชาสัมพันธ์แจ้งให้รับทราบมากขึ้น

[caption id="attachment_257430" align="aligncenter" width="503"] นายชาติชาย พยุหนาวีชัย นายชาติชาย พยุหนาวีชัย[/caption]

ขณะที่ออมสิน ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัย 40 แห่ง จัดหลักสูตรอบรมอาชีพ 14 อาชีพให้กับรายย่อย เช่น ช่างไฟฟ้า ประปา เสริมสวย นวดแผนโบราณในท้องถิ่น เพื่อให้รายย่อยได้ฝึกอมรม การรักษาวินัยทางการเงิน จากนั้นจะได้รับเงินยังชีพเพิ่มเติมเป็น 300 หรือ 500 บาทต่อเดือน หากไม่ทำตามกำหมดต้องถูกหักเงินคืน แต่มาตรการทั้งหมดเพื่อต้องการให้ชาวบ้านได้มีความรู้เพิ่มเติมในการประกอบอาชีพ

ด้านนายวิทัย รัตนากร กรรมการและรักษาการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) กล่าวว่า แม้ธนาคารจะอยู่ระหว่างการฟื้นฟูกิจการ แต่ผลประกอบการ เดือนมกราคมเริ่มมีกำไรจากการดำเนินงาน 70 ล้านบาท และเมื่อรวมจากการปรับโครงสร้างหนี้ มีกำไรสุทธิ 310 ล้านบาท จึงเดินหน้าแผนฟื้นฟูและควบคุมความเสี่ยงได้มากขึ้น โดยอยู่ระหกว่างแก้ไขกฎหมายของธนาคาร ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภา สนช.วาระ 2 คาดว่า สิ้นเดือนมีนาคมน่าจะแล้วเสร็จ เพื่อเปิดทางให้กระทรวงคลังถือหุ้นในธนาคารได้ เกิน 49% เป็นการชั่วคราว

“ขั้นตอนจากนั้น จะเพิ่มทุนได้ต้นเดือนเมษายน จำนวน 18,100 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินงบประมาณจากคลัง 2,000 ล้านบาท เงินจากกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจ 16,1000 ล้านบาท เมื่อเพิ่มทุนได้แล้วจะทำให้เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง BIS 8.5 เท่า ตามมาตรฐาน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) จากนั้นจะเริ่มดึงพันธมิตรเข้าร่วมทุนได้ ซึ่งขณะนี้สรุปชัดเจนได้แล้ว 1 ราย อยู่ระหว่างตรวจสอบเอกสาร คาดว่าเดือนมีนาคมนี้ จะสรุปและเสนอกระทรวงการคลังอนุมัติ จากนั้นจะสามารถเดินหน้าปล่อยสินเชื่อได้ตามเป้าหมายที่จะมีสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้น 23% หรือ 10,000 ล้านบาท" ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว