PRM ทุ่มเสริมกองเรือ มัดใจคู่ค้า ‘ปตท.-เชฟรอน-เชลล์’

08 ก.พ. 2561 | 23:00 น.
นายชาญวิทย์ อนัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) (“PRM”) ให้สัมภาษณ์ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงทิศทางธุรกิจและแผนการลงทุนในปีนี้ของ PRM ว่า จากข้อมูลของกรมธุรกิจพลังงาน ปริมาณการใช้นํ้ามันดิบปีนี้เติบโต 2.1% และปริมาณนํ้ามันเชื้อเพลิงแบบใส เติบโตประมาณ 4% ส่งผลต่อปริมาณความต้องการใช้บริการเรือขนส่งนํ้ามันเพิ่ม แผนธุรกิจของ PRM ปีนี้ จึงปรับพอร์ตรายได้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์

โดยจะรุกรายได้ธุรกิจเรือขนส่งนํ้ามันดิบ ผลิตภัณฑ์นํ้ามันสำเร็จรูป ผลิตภัณฑ์นํ้ามันกึ่งสำเร็จรูปและปิโตรเคมีเหลวจากโรงกลั่น เพิ่มสัดส่วนเป็น 46% จากเดิม 34-36% รองมาเป็นธุรกิจขนส่งและจัดเก็บนํ้ามันดิบและผลิตภัณฑ์นํ้ามันสำเร็จรูป (FSU) สัดส่วนเป็น 40% ลดจากเดิมที่ 45% ส่วนอีก 2 ธุรกิจคือ ธุรกิจเรือขนส่งที่ให้การสนับสนุนงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกลางทะเล (FSO) อยู่ที่ 10-12% และที่เหลืออีกราว 3-5% เป็นธุรกิจบริหารจัดการกองเรือ

[caption id="attachment_257369" align="aligncenter" width="335"] ชาญวิทย์ อนัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน) ชาญวิทย์ อนัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พริมา มารีน จำกัด (มหาชน)[/caption]

“ธุรกิจเรือขนส่งนํ้ามัน จะสร้างผลตอบแทนปีนี้ค่อนข้างดี และมีแผนจะขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผู้ค้านํ้ามัน อาทิ ปตท. , เชฟรอน, เชลล์ ฯลฯ โดยเฉพาะ ปตท. ซึ่งเป็นลูกค้ารายใหญ่มีสัดส่วนการใช้บริการจากเรากว่า 67% รวมถึงขยายฐานในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน ตั้งเป้ารายได้ทั้งปีไม่ตํ่ากว่า 5,000 ล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนหน้าไม่น้อยกว่า 10%”

แผนรองรับธุรกิจดังกล่าว บริษัทได้ตั้งงบลงทุน 5,123 ล้านบาท ขยายกองเรือเพิ่มในปีนี้จำนวน 9 ลำ ขนาดรวมประมาณ 430,000 เดตเวตตัน จากสิ้นปี 2560 ที่มีจำนวนเรือ 25 ลำ จำนวนนี้เป็นการขยายเพิ่มในกลุ่มของธุรกิจเรือขนส่งนํ้ามัน 6 ลำ จากเดิมที่มีอยู่ 14 ลำ

ธุรกิจ FSU มีแผนจะเพิ่มเรือ 1 ลำ ขนาด 100,000 เดตเวตตัน จากปัจจุบันที่มีอยู่ 7 ลำ เพื่อขยายการรองรับการให้บริการขนส่งและจัดเก็บนํ้ามันเชื้อเพลิงแบบใส เช่น ดีเซลและเบนซิน ถือเป็นการขยายการให้บริการเพิ่มเติมและทดแทนการให้บริการขนส่งและจัดเก็บนํ้ามันดิบ

ส่วนธุรกิจ FSO จะเพิ่มเรืออีก 2 ลำ จากเดิมที่มีอยู่ 2 ลำ เพื่อรองรับการให้บริการงานสำรวจและผลิตปิโตรเลียมกลางทะเลและให้สอดคล้องกับนโยบายพลังงานของประเทศ

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ “การขยายเรือใหม่เพิ่ม 9 ลำ เป็นกลยุทธ์สำคัญที่จะดึงดูดลูกค้าใหม่ๆ และกลุ่มเมเจอร์ ออยล์รายเก่าให้ใช้บริการกับเราได้นานๆ เพราะอายุเฉลี่ยเรือของบริษัทอยู่ที่ 15 ปีเท่านั้นทำให้มีประสิทธิภาพ การใช้งานมีความปลอดภัยสูง”

สิ้นปีนี้ PRM จะมีกองเรือประมาณ 30 ลำ (บวกลบ) แผนขยายกองเรือใหม่จะสนับสนุนด้านรายได้จากการดำเนินงานมากกว่า 600 ล้านบาท กอปรกับการบริหารจัดการด้านต้นทุนการดำเนินงานในแต่ละกลุ่มธุรกิจให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
อาทิการปรับเปลี่ยนการขนส่งรายเที่ยวหรือ Spot เป็นแบบ Time Charter ที่เป็นลักษณะสัญญาระยะยาวและลูกค้าเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง การโยกย้ายนํ้ามันมาบรรจุให้เต็มความสามารถการบรรทุกของกลุ่มธุรกิจ FSU ที่ช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านต้นทุน ซึ่งจะส่งผลดีหนุนความสามารถในการทำกำไรของบริษัทให้มีรายได้ตามเป้าที่วางไว้ไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กล่าวต่อว่า ปัจจุบันบริษัทมีสภาพคล่องค่อนข้างดี สัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E) เพียง 0.71 เท่า และไม่มีความจำเป็นที่จะต้องระดมทุน ส่วนหนึ่งเนื่องจากมีเงินที่เหลือจากการเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) อีกประมาณ 2,000 ล้านบาท ประกอบกับการขยายกองเรือไม่ได้ใช้เงินสดซื้อทั้งจำนวน แต่เป็นการร่วมลงทุนกับพันธมิตร หรือ/และการแบ่งสันกำไร

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,338 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว