บิ๊กไบค์‘มะกัน-ยุโรป’รุก ฮาร์ลีย์เปิดทางดีลเลอร์ขายมือ 2 ไทรอัมพ์อัดกิจกรรม

10 ก.พ. 2561 | 01:02 น.
ค่ายมะกัน-ยุโรป เดินหน้าบุกตลาดรถบิ๊กไบค์ หวังแบ่งแชร์ค่ายญี่ปุ่น ด้านฮาร์ลีย์-เดวิดสัน เปิดกว้างดีลเลอร์ รับเทรดอินมือ 2 “ไทรอัมพ์” อัดกิจกรรมถี่ยิบ ส่วนยามาฮ่า ประกาศ แนวรุกส่งรุ่นใหม่ ขยายเครือข่ายรวม 17 แห่งทั่วประเทศ

ตลาดบิ๊กไบค์ในไทย ที่มีตัวเลขการขาย 2.9 หมื่นคันในปีที่ผ่านมา (400 ซีซี ขึ้นไป) และในปี 2561 ยังมีแนวโน้มสดใส เนื่องจากภาษีนำเข้าจากญี่ปุ่นหรือJTEPAเหลือ 0% ส่วนแบรนด์อื่นๆ ก็มีโรงงานในประเทศไทย ส่งผลให้ราคาจำหน่าย จำนวนรุ่นรถ รวมไปถึงความเข้มข้นในการทำตลาดของแต่ละค่ายเป็นไปอย่างคึกคัก ไม่เพียงเท่านั้นกระแสของการจัดแข่งขันรถจักรยานยนต์ทางเรียบ MOTO GP ก็เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยกระตุ้นตลาดอีกทางหนึ่ง โดยประเมินกันว่าตลาดบิ๊กไบค์ในปีนี้จะเติบโตกว่าปีที่ผ่านมา 20%

MP32-38-A แนวโน้มตลาดที่คาดว่าจะเติบโตส่งผลให้แต่ละค่ายต่างงัดกลยุทธ์ออกมาแข่งขันกัน โดยในช่วงไตรมาสแรกความเคลื่อนไหวจากฟากฝั่งยุโรปและอเมริกันเป็นไปอย่างคึกคัก เริ่มตั้งแต่ค่ายรอยัล เอนฟิลด์ ในปีนี้เน้นขยายเครือข่ายเพิ่มอีก 7 แห่งได้แก่เขตธนบุรี, พระราม 2 และพระราม 5 รวมถึงเชียงใหม่ อุดรธานี และภูเก็ต ขณะที่สาขาปัจจุบันมีจำนวน 4 แห่ง

นอกจากนั้นแล้วจะมีอีเวนต์ ใหญ่อย่าง งานรอยัล เอนฟิลด์ รียูเนียน ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ เขาใหญ่ ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2561

ด้านฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ที่กำลังมีแผนตั้งโรงงานในไทย ก็เดินหน้าเปิดตัวโชว์รูมและศูนย์บริการ ล่าสุดเปิดตัวแฟลกชิฟโชว์รูมแห่งแรกที่หาดใหญ่ พร้อมศูนย์บริการครบวงจร ขณะที่แผนงานด้านผลิตภัณฑ์ เพิ่งเปิดตัว สปอร์ต ไกลด์? ครั้งแรกในประเทศไทยซึ่งรถรุ่นใหม่นี้นับเป็น 1 ใน 100 รถมอเตอร์ไซค์ที่ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน วางแผนเปิดตัวภายในปี 2570

“เครือข่ายโชว์รูมที่มี 9 แห่ง ถือว่าเป็นไปตามแผนงาน ส่วนโมเดลใหม่ๆนั้นได้ทยอยเปิดตัว รวมแล้วกว่า 15 รุ่น ซึ่งถือว่าครบไลน์” นายธนบดี กุลทล ผู้จัดการประจำประเทศ ฮาร์ลีย์-เดวิดสัน ประเทศไทย กล่าวและว่า

โดยฮาร์ลีย์-เดวิดสันยังเปิดกว้างสำหรับตัวแทนจำหน่ายแต่ละแห่งที่สามารถจะเปิดแผนกรถมือ 2 หรือรับเทรดอิน ทั้งนี้เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกในการเป็นเจ้าของรถฮาร์ลีย์-เดวิดสันคันใหม่ได้

“เรายังไม่มีแผนกมือ 2 อย่างเป็นทางการ แต่หากดีลเลอร์ แต่ละเจ้าจะทำก็ไม่มีปัญหา เพราะถือเป็นอีกช่องทางในการขายรถของเขา” นายธนบดี กล่าวและว่า

แบนเนอร์รายการฐานยานยนต์ ส่วนค่าย บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ประเทศไทย ก็เพิ่งขยายเครือข่ายแห่งที่ 14 ที่ภาคอีสาน ภายใต้ชื่อ บีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด สกาย ออโต้เฮ้าส์ แห่งแรกในขอนแก่น ซึ่งโชว์รูมและศูนย์บริการ ตั้งอยู่บนเนื้อที่กว่า 1 ไร่ ใช้งบลงทุนกว่า 20 ล้านบาท “เราเติบโต 2 หลักถึง 6 ปีซ้อน ด้วยยอดจำหน่าย 2,001 คัน เพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปี 2559 และเมื่อดูยอดเดือนธันวาคมที่ผ่านมา เราส่งมอบรถกว่า 300 คันซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก” นาย มาร์คุส เกลเซอร์ ผู้อำนวยการบีเอ็มดับเบิลยู มอเตอร์ราด ประเทศ ไทย กล่าวและว่า

ค่ายไทรอัมพ์มีแผนเพิ่มโชว์รูมจากเดิมมี 14 แห่ง จะเพิ่มอีก 2 แห่งได้แก่ หัวหินและโคราช และกลยุทธ์การตลาดที่จะเน้นหนักในปีนี้คือการทำกิจกรรมร่วมกับผู้แทนจำหน่ายเดือนละ 1 ครั้ง รวมไปถึงการเพิ่มความถี่ในการจัดกิจกรรมกับลูกค้า

ด้านความเคลื่อนไหวจากฝั่งญี่ปุ่น ค่ายยามาฮ่า เตรียมเปิดตัวรถใหม่มากกว่า 3 รุ่น พร้อมทั้งขยายเครือข่ายยามาฮ่า ไรเดอร์ส คลับ 17 แห่ง พร้อมทั้งตั้งเป้าหมายยอดขายในปีนี้ 2,800 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 14%

ส่วนเจ้าตลาดอย่างฮอนด้าก็ตั้งเป้ายอดขายเติบโต 15,700 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมาที่ทำได้ 12,900 คัน โดยปีนี้จะมีรถรุ่นใหม่ และขยายเครือข่ายบิ๊กวิง จากปัจจุบันที่มี 20 แห่ง และในปีนี้ฮอนด้ายังประเมินตลาดรวมรถบิ๊กไบค์ปีนี้ว่าจะทะลุ 34,500 คัน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,338 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว