Enneagram เครื่องมือพัฒนาคนพัฒนาองค์กรยั่งยืน

10 ก.พ. 2561 | 00:37 น.
“เอ็นเนียแกรม” (Enneagram) เครื่องมือสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อลูกค้า หัวหน้า เพื่อนร่วมงาน และลูกน้อง ที่ถูกหยิบมาพูดถึง และนำมาใช้ หลายปีแล้วในเมืองไทย “เอ็นเนียแกรม” มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก หมายถึง รูปที่มีเก้าจุดบนวงกลม อธิบายถึงลักษณะของคน 9 ประเภท “วาจาสิทธิ์ ลอเสรีวานิช” นักโค้ชชิ่งด้าน “เอ็นเนียแกรม” บอกว่า ได้นำเครื่องมือนี้ มาใช้กับการบริหารองค์กร เน้นเรื่องการทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำ การสื่อสาร การขจัดความขัดแย้ง และอื่นๆ ที่เป็นเกี่ยวกับ Soft Skill ทั้งหมด

คน 9 แบบ ประกอบด้วย 1. The Perfectionist - ต้องการปรับปรุงตนเองอยู่เสมอ มีมาตรฐาน เป็นคนชอบวิพากษ์วิจารณ์ ทำงานหนัก มีวินัยในตนเองและมีความรับผิดชอบสูง 2. The Giver - ต้องการเป็นคนมีคุณค่า เป็นที่รักของคนอื่น ไวต่อความต้องการของผู้อื่น ภาคภูมิใจในการเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือ ชอบเป็นศูนย์กลางของทุกๆ อย่าง 3. The Performer - สร้างผลงานและความสำเร็จเพื่อให้เป็นที่รัก ชอบแข่งขัน ยึดติดกับภาพลักษณ์ของผู้ชนะ บ้างาน ชอบทำงานแข่งกับเวลา ให้ความสำคัญกับเป้าหมาย 4. The Tragic Romantic - ต้องการที่จะเข้าใจความรู้สึกตนเอง แสวงหาความหมายของชีวิต หลีกเลี่ยงความสามัญธรรมดา มีบุคลิกแบบศิลปิน ดำดิ่งในอารมณ์ 5.The Observer - ต้องการที่จะรู้หรือเข้าใจในสิ่งต่างๆ ต้องการพึ่งตนเอง รักษาระยะห่างทางอารมณ์กับคนอื่น ปกป้องความเป็น

MP26-3338-1C ส่วนตัว ชอบสะสม ชอบอยู่คนเดียว ใช้ความคิด/ทำสิ่งที่สนใจ 6. The Questioner- ต้องการความมั่นคงปลอดภัย ขี้กลัว ขี้สงสัย ถนัดในการมองทางแง่ร้ายเพื่อหาทางป้องกัน มีความรอบคอบ เห็นใจฝ่ายที่เสียเปรียบ ต่อต้านอำนาจ เป็นผู้ที่ต้องการกระตุ้นตัวเองให้มีชีวิตชีวาเสมอ

7. The Epicure - ชอบผจญภัย สนใจประสบการณ์ใหม่ๆ และความตื่นเต้น มองโลกในแง่บวก ต้องการทางเลือกมากๆ หลีกเลี่ยงข้อจำกัด มีแผนการมากมายที่ยังไม่ได้ลงมือทำ 8. The Boss - ต้องการที่จะปกป้องคุ้มครองผู้อ่อนแอ ยืนหยัดเพื่อตนเองและเพื่อน ชอบต่อสู้ แสดงอำนาจและความโกรธอย่างเปิดเผย ทำอะไรแบบสุดๆ เต็มที่ ขวานผ่าซาก และ 9. The Mediator - มักเห็นด้วยกับทุก

มุมมอง ให้ความสำคัญกับความต้องการของคนอื่น จนละเลยความต้องการของตนเอง ชอบความราบรื่น หลีกเลี่ยงความขัดแย้ง เป็นผู้ที่คอยแสวงหาความกลมกลืนเสมอ

MP26-3338-2C จากคน 9 แบบ ในระดับละเอียดแต่ละแบบจะมี 3 แบบย่อย หรือ ภาษาไทยเรียกว่าลักษณ์ย่อย หรือ ซับไทป์ คนเบอร์เดียวกันแต่ซับไทป์ต่างกัน ปัญหาไม่เหมือนกัน แนวทางในการพัฒนาตัวเองก็ต้องไม่เหมือนกัน เน้นการพัฒนาตัวเองเป็นหลัก

นักโค้ชเอ็นเนียแกรม บอกว่า จากประสบการณ์การจัดอบรม พบว่า สัดส่วนคน 9 แบบ ที่มีมากที่สุดในองค์กรปัจจุบัน คือ คนแบบที่ 6 ซึ่งเป็นคนที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลง เห็นอะไรเป็นปัญหาไปหมด เนื่องจากคนกลุ่มนี้ เป็นคนที่อดทน มีความภักดี มีความรับผิดชอบ แต่ข้อเสีย นอกจากจะต่อต้านการเปลี่ยนแปลงแล้ว ยังระวังเกินเหตุ วิตกกังวล บางครั้งก็คล้อยตาม บางครั้งก็ต่อต้าน ไม่ชอบความคลุมเครือ และชอบคิดไปเองว่าคนอื่นมีนิสัยเป็นอย่างไร และการที่ไม่ชอบการเปลี่ยนแปลง จึงทำให้ไม่กล้าออกไปทำงานที่อื่น

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม คนทุกแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย องค์กรต้องทำให้คนกลุ่มใหญ่ รู้ตัวว่าถ้าเป็นอย่างนี้จะเป็นอย่างไร และองค์กรมีหน้าที่ทำให้คนทุกแบบรู้ตัวเอง ว่าเป็นคนอย่างไร เพื่อทำการปรับปรุงข้อเสีย หากสามารถทำได้ เปลี่ยนแปลงได้ ก็จะทำให้องค์กรพัฒนาได้อย่างยั่งยืน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,338 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว