กางโรดแมป 20 ปีสนามบิน กพท.ชงพัฒนาแอร์พอร์ตเดิมสร้างใหม่ 2 แห่งเหนือ-ใต้

10 ก.พ. 2561 | 13:45 น.
กพท.เล็งชงโรดแมปท่าอากาศยาน ให้กบร.พิจารณา ใช้เป็นแนวทางพัฒนาสนามบินของไทย รับดีมานด์ที่เพิ่มขึ้น จัดแบ่งเป็น 4 กลุ่ม วางเป้าพัฒนาตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ทั้งเสนอ 3 พื้นที่เหมาะสม ในภาคเหนือ-ใต้ มีศักยภาพสร้างสนามบินใหม่อีก 2 แห่ง

ท่าอากาศยานถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของระบบการขนส่งทางอากาศ แต่ที่ผ่านมาประเทศไทย ไม่มีแผนแม่บทระบบท่าอากาศยานของประเทศ ทำให้การวางแผนพัฒนาท่าอากาศยานขาดการบูรณาการ ต่างคนต่างทำ ทำให้ไม่สามารถรองรับความต้องการได้เต็มศักยภาพ นอกจากนั้นจังหวัดที่ยังไม่มีสนามบินก็จะร้องขอให้มีการก่อสร้างสนามบินในพื้นที่

สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) จึงได้จัดทำแผนแม่บทระบบท่าอากาศ ยานของประเทศขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อให้ไทยมีแนวทางในการพัฒนาสนามบินที่มีอยู่ในปัจจุบันและก่อสร้างสนามบินใหม่ได้อย่างถูกทาง เพื่อรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ซึ่งขณะนี้ได้จัดทำแผนแม่บทดังกล่าวแล้วเสร็จ เตรียมจะนำเสนอคณะกรรมการการบินพลเรือน (กบร.) เห็นชอบในการประชุมครั้งหน้า โดยกพท.ได้จัดทำแผนแม่บท การจัดตั้งสนามบินพาณิชย์ของประเทศ แบ่งกลุ่มท่าอากาศยานในไทยออกเป็น 4 กลุ่ม

MP22-3338-A ประกอบไปด้วย 1. ท่าอากาศยานที่เป็นศูนย์กลางหลัก 2. ท่าอากาศยานศูนย์กลางรอง 3. ท่าอากาศยานระดับภาค และ 4. ท่าอากาศยานระดับจังหวัด(ตารางประกอบ) เพื่อกำหนดบทบาทและแนวทางการพัฒนา ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป และมีกรอบและเป้าหมายที่จะพัฒนาศักยภาพของสนามบินให้อยู่ในกลุ่มที่สูงขึ้น เช่น จากกลุ่มท่าอากาศยานระดับจังหวัด ขึ้นมาเป็นกลุ่มท่าอากาศยานระดับภาค

ทั้งนี้แผนแม่บทได้กำหนด วิสัยทัศน์และเป้าหมายเชิงยุทธ ศาสตร์ เพื่อการพัฒนาในระยะ 20 ปี ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่รัฐบาลจัดทำขึ้น เพื่อส่งเสริมนโยบายการเป็นศูนย์ กลางการบินของประเทศ โดยวางวิสัยทัศน์ไว้ว่า “ระบบท่าอากาศยานที่เชื่อมโยงและขับเคลื่อนการพัฒนาของประเทศ” ภายใต้ยุทธศาสตร์ การพัฒนาสนามบินไว้ 6 ด้าน

ได้แก่ 1. ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัย 2. ความสามารถในการเข้าถึงสนามบิน 3. ความสามารถในการเชื่อมต่อ ซึ่งสนามบินต้องรักษาและพัฒนาบริการให้มีความสามารถในการเชื่อมต่อกับสนามบินอื่น ที่เหมาะสมกับประเภทของเครื่องบิน4. คุณภาพในการให้บริการ 5. ประสิทธิภาพการดำเนินงานโดยใช้ทรัพยากรคุ้มค่า 6. ความยั่งยืน

อีกทั้งเพื่อให้ทิศทางการพัฒนาในระยะยาวชัดเจนและต่อเนื่อง แผนนี้ได้กำหนดการพัฒนาออกเป็น 4 ระยะ ระยะที่ 1 ปี 2560-2564 จะ “ยกระดับขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรขนส่ง” เน้นให้สนามบินให้ความสำคัญกับการปรับปรุง พัฒนาปัจจัยที่สำคัญของขีดความสามารถในการรองรับปริมาณการจราจรและการขนส่งทางอากาศ ให้เพียงพอกับความต้องการในระยะสั้นและระยะยาว

ระยะที่ 2 ปี 2565-2569 “ยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน” “เน้นการสร้างกลไกที่ส่งเสริมการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจท่าอากาศยาน ระยะที่ 3 ปี 2570-2574 “ท่าอากาศยานชั้นนำแห่งนวัตกรรม” เน้นใช้นวัตกรรมในการพัฒนาสนามบิน ระยะที่ 4 ปี 2575-2579 “ท่าอากาศยานแห่งความยั่งยืน” เน้นพัฒนาให้สนามบินให้เกิดการขับเคลื่อนการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล

[caption id="attachment_89791" align="aligncenter" width="335"] จุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมท่าอากาศยาน (ทย.) จุฬา สุขมานพ[/caption]

นายจุฬา สุขมานพ ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แผนแม่บทนี้ ไม่เพียงเป็นแนวทางในการพัฒนาสนามบินที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องมีการพัฒนาพื้นที่ Airside และ Landside เพื่อให้รองรับปริมาณการจราจรทางอากาศที่เพิ่มขึ้นในอนาคต แต่ในแผนดังกล่าว ยังมีการเสนอทางเลือกคร่าวๆ ถึงความจำเป็นที่ต้องมีการจัดตั้งสนามบินแห่งใหม่ 2 แห่ง คือ ภาคใต้ และภาคเหนือ เนื่องจากสนามบินภูเก็ตและสนามบินเชียงใหม่ ไม่สามารถรองรับการเติบโตในอีก 20 ปีข้างหน้าได้ ขณะที่ภาคอีสานไม่พบว่าต้องมีสนามบินแห่งใหม่

โดยในภาคใต้ มีพื้นที่เหมาะสม คือ บริเวณ ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา เป็นพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ซึ่งเป็นคนละพื้นที่กับ อ.ท้ายเหมือง ที่บางกอกแอร์เวย์ส จะขอเช่าพื้นที่ ลงทุน เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าว ติดปัญหาเรื่องเส้นทางบินที่ทับซ้อนไม่เหมาะที่จะสร้างสนามบิน หรือถ้าสร้างได้ก็ต้องจัดการจราจรทางอากาศสลับกัน

ส่วนภาคเหนือ พื้นที่เหมาะ สม คือ เขตพื้นที่อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ และ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ซึ่งทราบว่าที่สันกำแพง ก็มีกลุ่มเอกชนสนใจที่จะลงทุน ซึ่งเอกชนขอทำสนามบินได้อยู่แล้ว แต่การจะได้รับอนุญาตจัดตั้งสนามบิน กพท.ต้องพิจารณาเรื่องความปลอดภัยตามมาตรฐานสากล ทั้งนี้หากกบร.เห็นชอบแผนแม่บทดังกล่าว ก็จะทำให้คนที่มีแผนลงทุนไม่ว่าจะเป็นบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. หรือภาคเอกชน สามารถเดินต่อในการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน เพื่อสร้างสนามบินแห่งใหม่บนพื้นที่ที่เหมาะสมต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,338 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
โปรโมทแทรกอีบุ๊ก-6