‘เอไอเอส-ดีแทค’คลิกตรงกัน ดึงคลื่นมือถือ 900 กลับมาทำโมบาย

10 ก.พ. 2561 | 15:21 น.

Thansettakij เว็บไซต์ข่าวฐานเศรษฐกิจ ผนวกไลฟ์สไตล์ Start up SMEs อสังหาริมทรัพย์ การเงิน การลงทุน การตลาด เศรษฐกิจ เทคโนโลยี Breaking News อัพเดตข่าวล่าสุดที่นี่

เป็นเพราะสำนักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ได้อนุมัติให้ใช้งานคลื่นความถี่ 800/900 MHz และ 400 MHz สำหรับระบบคมนาคมขนส่งทางราง (รถไฟความเร็วสูง) หรือ GSM-R เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2560

โดยการอนุมัติในครั้งนั้นมีเงื่อนไขจะต้องมีการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าวภายในไม่เกินปี 2563 ซึ่งหากไม่มีการใช้งานคลื่นความถี่ดังกล่าว เงื่อนไขการอนุญาตก็ให้สิ้นผลไป

สำหรับคลื่นความถี่ 800/900 เมกะเฮิรตซ์ เป็นคลื่นความถี่ที่อยู่ภายใต้สัญญาสัมปทานระหว่างบริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นฯ (ดีแทค) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานลงในวันที่ 15 กันยายน 2561 ส่วนคลื่นความถี่ย่าน 400 MHz เป็นคลื่นความถี่ที่ปัจจุบันใช้งานทางด้านวิทยุสื่อสาร

MP20-3338-A ++ดึงคลื่นกลับมาทำโมบาย
เมื่อเร็วๆ นี้ สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแก่ภาครัฐในประเด็น “5G &Disruptive Technology Supporting Thailand 4.0 : Challengs and Opportunities” ณ ห้องประชุม อาคาร 5 (อาคารโรง อาหาร) บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน)

ปรากฏว่าการประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้ ค่ายมือถือ 2 ราย คือ เอไอเอส และ ดีแทค มีความเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับคลื่นความถี่ 800-900 เมกะเฮิรตซ์ กลับมาใช้ในกิจการโทรศัพท์ เคลื่อนที่เหมือนเดิม

“ระบบ GSM-R ในต่างประเทศกำลังจะเปลี่ยนเทคโนโลยี อยากให้ กสทช.นำไปพิจารณาใช้ย่านอื่นแทน เพราะย่านความถี่ 800-900 เมกะเฮิรตซ์นั้นถูกออกแบบมาเพื่อทำโมบายเท่านั้น เพราะถ้าเกิดนำคลื่นไปใช้ไม่ถูกวัตถุประสงค์คลื่นความถี่อาจจะรบกวนกันได้”

ก่อนหน้านี้ กสทช.มีแผนที่จะนำคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์จำนวน 5 เมกะเฮิรตซ์ออกมาประมูลจำนวน 1 ชุด อายุ 15 ปี ราคาเริ่มต้น 37,988 ล้านบาท เคาะครั้งละ 76 ล้านบาท เตรียมเปิดประมูลราวเดือนพฤษภาคมปีนี้ สุดท้ายต้องยกเลิกการประมูลออกไป เนื่องจากคลื่นความถี่อาจจะรบกวนสัญญาณระหว่างกันได้

แบนเนอร์ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ ++ยื่นข้อเสนอ 4 เรื่อง
ไม่เพียงเท่านี้ในงานประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว “ดีแทค” ได้ยื่นข้อเสนอให้กับรัฐบาล ข้อแรก คือ การจัดการคลื่นให้มีประสิทธิภาพในระยะยาว ข้อ 2 คือ การจัดทำดาต้าเบส เช่น จำนวนคลื่นความถี่หน่วยงานใดครอบครองและหมดอายุเมื่อไหร่ อยากให้ทำเช่นเดียวกับกรณีของตลาดหลักทรัพย์ฯที่จัดฐานข้อมูลของผู้จดทะเบียน เพื่อนำมาตัดสินใจ และจัดสรรคลื่นอย่างไร เช่นการจัดทำโรดแมพ

ข้อที่ 3 การปรับปรุงการใช้งานคลื่นความถี่ใหม่ (รีฟาร์มมิ่ง) ซึ่ง กสทช.บริหารการจัดการมาตั้งนานแล้วแต่ไม่สามารถบริหารจัดการได้เพราะมีข้อจำกัดหลายอย่าง เพราะถ้าไม่ รีฟาร์มมิ่ง คลื่นก็จะมีขีดจำกัด

ข้อสุดท้าย คือ ออกกฎเกณฑ์การจัดสรรคลื่นความถี่ ปัจจุบันคลื่นความถี่ที่มีอยู่มีการใช้งานน้อยกว่าความจำ แม้ปัจจุบันจะจัดสรรไปแล้วจำนวน 450 เมกะเฮิรตซ์ หากแต่ใช้จริง 350 เมกะเฮิรตซ์เท่านั้น

ส่วนคลื่นความถี่ที่เหลืออีกจำนวน 100 เมกะเฮิรตซ์ ปัจจุบันยังไม่ได้นำมาใช้งาน โดยคลื่นความถี่จำนวน 60 เมกะเฮิรตซ์ ถูกจัดสรรไปอยู่ที่ บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) และ อีก 40 เมกะเฮิรตซ์ คือ ย่านความถี่ 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของ ดีแทค ที่ไม่สามารถใช้งานได้

“ประเทศที่พัฒนาแล้วใช้คลื่นอยู่กว่า 1,000 เมกะเฮิรตซ์ เพราะฉะนั้นประเทศไทยจะทำอย่างไรจัดสรรคลื่นอย่างมีประสิทธิภาพ”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,338 วันที่ 8 - 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว