จ่อประมูลมอเตอร์เวย์สายใหม่ ทางหลวงโชว์แผนตัดเส้นทางเชื่อมเมืองร่วมแสนล้าน

07 ก.พ. 2561 | 08:22 น.
ทล.ต่อยอดก่อสร้าง 3 มอเตอร์เวย์ เร่งเสนอครม.เปิดประมูลอีกไม่น้อยกว่า 3 เส้นทางรวมมูลค่านับแสนล้าน พร้อมเร่งศึกษาออกแบบรายละเอียดอีกหลายเส้นทาง “ธานินทร์” คาดมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในระยะ 3-5 ปี มีครบด้านรูปแบบการลงทุน

[caption id="attachment_256334" align="aligncenter" width="503"] ธานินทร์ สมบูรณ์ ธานินทร์ สมบูรณ์[/caption]

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่านับตั้งแต่ได้ประมูลก่อสร้างโครงการมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทางคือ เส้นทางพัทยา-มาบตาพุด,เส้นทางบางใหญ่-กาญจนบุรี,เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมา ไปแล้วนั้น ยังมีอีกหลายเส้นทางที่อยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมนำเสนอกระทรวงคมนาคมเร่งผลักดันเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ดำเนินการและจัดหาแหล่งทุนเพื่อนำไปใช้พัฒนาโครงการต่อไป

โดยทล.ได้เร่งวางแผนก่อสร้างเส้นทางเชื่อมระหว่างเมือง แก้ไขปัญหาจราจรแถบชานเมืองกรุงเทพมหานคร และเส้นทางเชื่อมโยงพื้นที่ทางเศรษฐกิจสำคัญของประเทศรองรับเอาไว้แล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ตามแนวระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก(อีอีซี) และแผนการรองรับสู่การพัฒนาพื้นที่โซนภาคใต้ที่ต่อเชื่อมออกไปจากพื้นที่กรุงเทพมหานครโดยจะเร่งเสนอของบประมาณเพื่อให้สามารถดำเนินงานได้รวดเร็วสอดรับกับปัญหาการจราจรที่เพิ่มมากขึ้นทุกวัน

ทั้งนี้ทล.มีโครงการมอเตอร์เวย์ที่เตรียมความพร้อมนำเสนอกระทรวงคมนาคม ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาก่อนที่จะนำเสนอครม. ตลอดจนโครงการที่อยู่ระหว่างการเร่งศึกษาออกแบบรายละเอียด ดังนี้คือ ในปี 2561 โครงการมอเตอร์เวย์เส้นทางนครปฐม-ชะอำ ระยะทาง 109 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 6.3 หมื่นล้านบาท

TP12-3337-1A ทั้งนี้ในปี 2562 จะเสนอของบประมาณกว่า 1.7 หมื่นล้านบาทดำเนินโครงการเส้นทางยกระดับ 2 สายคือ บางขุนเทียน-มหาชัย ระยะทาง 12 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะใช้ระยะเวลาดำเนินการราว 2 ปี 6 เดือน จำนวน 6-8 ช่องจราจร แบ่งการประกวดราคาออกเป็นจำนวน 5-10 สัญญา เพื่อความรวดเร็วในงานก่อสร้างและแก้ไขปัญหาความล่าช้าที่จะเกิดจากปัญหาผู้รับเหมารายเดียว ขณะที่โครงการส่วนต่อขยายช่วงมหาชัย-วังมะนาว วงเงินลงทุนประมาณ 6-7 หมื่นล้านบาทนั้นจะเสนอของบประมาณปี 2563 ไปดำเนินการ เบื้องต้นนั้นจะใช้รูปแบบการร่วมลงทุนพีพีพีตามนโยบายของรัฐบาล เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ โดยภาครัฐจะลงทุนก่อสร้างโครงการ ส่วนภาคเอกชนจะร่วมลงทุนด้านงานระบบอาณัติสัญญาณและบริหารจัดการ (O&M)

นอกจากนั้นทล.ยังมีแผนดำเนินโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาจราจรเส้นทางช่วงส่วนต่อขยายทางยกระดับบรมราชชนนี-พุทธมณฑล ศาลายา เฟสแรก ระยะทางประมาณ 9 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 7,000 ล้านบาทคาดว่าจะได้รับอนุมัติงบประมาณในปี 2562 และจะเร่งดำเนินการประกวดราคาในปี 2563 คาดเปิดใช้บริการในปี 2565-2566 ในส่วนโครงการส่วนต่อขยายจากศาลายา-นครชัยศรีซึ่งเป็นโครงการอยู่ในพื้นที่จังหวัดนครปฐมจะเสนอของบปี 2563 ไปดำเนินการ วัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรที่ปัจจุบันมีรถยนต์ใช้บริการเส้นทางดังกล่าวไม่น้อยกว่า 5-6 หมื่นคันต่อวัน เนื่องจากมีพื้นที่โครงการศูนย์กระจายสินค้าพุทธมณฑลตั้งอยู่ในแนวเส้นทางรถยนต์จึงคับคั่งตลอดเวลา

อีกทั้งทล.ยังอยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียดเส้นทางยกระดับช่วงศรีนครินทร์-สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อแก้ไขปัญหาจราจรแออัดในเส้นทางมอเตอร์เวย์ในช่วงดังกล่าว คาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ 1 ปี โดยจะเริ่มดำเนินการตั้งแต่เดือนเมษายนนี้เป็นต้นไป ใช้งบ 40 ล้านบาทในการศึกษาออกแบบดังกล่าว ระยะทางประมาณ 16 กิโลเมตร คาดใช้งบลงทุนไม่น้อยกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท

728x90-03 ล่าสุดทล.ยังเปิดรับฟังความเห็นที่จะเสนอให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการติดตั้งงานระบบและบริหารจัดการ (O&M) มอเตอร์เวย์ เส้นทางบางปะอิน-นครราชสีมาและบางใหญ่-กาญจนบุรีซึ่งพบว่ามีภาคเอกชนราว 6-7 กลุ่มสนใจเข้ามารับฟังรายละเอียดในครั้งนี้ โดยจะมีรูปแบบจอยต์เวนเจอร์เนื่องจากจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญงานระบบจากต่างประเทศเข้ามาร่วมทุนในครั้งนี้โดยจะมีการประกาศเชิญชวนในวันที่ 11 กุมภาพันธ์นี้อย่างเป็นทางการก่อนที่จะขายซองเอกสารประกวดราคาในเดือนมีนาคมนี้ต่อไป หลังจากนั้นให้ระยะเวลาเตรียมเอกสารจำนวน 4 เดือนเพื่อเข้ามายื่นเอกสารเสนอเงื่อนไขให้ทล.พิจารณาต่อไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,337 วันที่ 4 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9