‘บิ๊กตู่’จัด2ทัพใหม่ ปูพรม‘ไทยนิยม-แก้จน’ทุกหมู่บ้าน

04 ก.พ. 2561 | 03:07 น.
ถึงจะถูกกระแสการเมืองโหมกระหนาบ ทั้งจากขบวนแถวนักการเมืองที่รุกไล่ ค้านเลื่อนโรดแมปเลือกตั้งไปปี 2562 จากการปรับแก้ มาตรา 2 ร่างกฎหมายลูกว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. ให้มีผล 90 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา ลามกลุ่มมวลชนก่อหวอดรวมตัวหลายจุด ขณะกระแสสังคมกด ดันตรวจสอบแกนนำรัฐบาล อย่างหนักหน่วงนั้น

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ยังเร่งเดินหน้าตามเป้าหมาย ที่ประกาศปี 2561 เป็นปีแห่งการขับเคลื่อนฐานรากและเศรษฐกิจชุมชน เพียงเดือนแรกของปีนี้ก็อนุมัติ 2 แผนงาน ที่จะเป็นการจัดกำลังพลลงปูพรมเข้าทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทย โดยกำหนดปฏิทินเวลาการทำงานให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน

++เคาะประตูบ้านแก้จน
ขบวนแรกมติครม.เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2561 เห็นชอบมาตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 2 เพื่อแก้จนให้หมด พุ่งเป้าไปยังคนกลุ่มจนที่สุดจำนวน 5.3 ล้านราย ที่มีรายได้ต่อปีตํ่ากว่า 3 หมื่นบาท และกลุ่มรายได้ไม่ถึง 1 แสนบาท ที่เป็นคนวัยทำงาน จากจำนวน 11.4 ล้านคนที่เป็นผู้ถือบัตรคนจน พุ่งเป้า 4 มิติ คือ มีงานทำ ฝึกอบรมอาชีพและการศึกษา เข้าถึงแหล่งทุน และเข้าถึงสิ่งจำเป็นพื้นฐาน

ใช้มาตรการจูงใจจะให้เงินอุดหนุนรายเดือนเพิ่ม แต่มีข้อแลกเปลี่ยนให้ต้องเข้ารับการฝึกอบรมทักษะวิชาชีพ เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้ตนเองเพิ่มขึ้นในอนาคต ใครไม่เข้าอบรมจะถูกตัดเงินอุดหนุนในเดือนถัดไป

[caption id="attachment_255818" align="aligncenter" width="503"] kobsak กอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี[/caption]

โดยการทำงานจะมีทั้งกรรมการระดับชาติกำหนดนโยบายและการบริหาร มีอนุฯระดับจังหวัดที่ผู้ว่าฯ เป็นประธาน กำกับดูแลแนวทางการปฏิบัติงานให้แก่คณะทำงานระดับอำเภอ ที่เรียกว่าทีมหมอแก้จน ประชารัฐสุขใจ(ปรจ.) ที่จะระดมพนักงานธ.ก.ส. ออมสิน พัฒนากร กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ปราชญ์ชาวบ้าน ภาคประชาสังคม จัดทีมนับหมื่นทีม เข้าดูแลผู้มีรายได้น้อยเป็นรายคนชนิดเคาะประตูบ้าน

ทั้งนี้ กระทรวงการคลังได้เปิดให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เข้าเงื่อนไขยื่นเข้าโครงการพัฒนาระยะ 2 แล้วตั้งแต่วันที่ 1-28 กุมภาพันธ์นี้ โดยทีม “หมอแก้จน” จะสัมภาษณ์และร่วมออกแบบแนวทางพัฒนายกระดับให้ ตลอดจนกำกับติดตามผล ใครไม่มา ทีมปรจ.จะ ไปพบถึงบ้าน คาดจะรองรับได้ 4.69 ล้านคน ตั้งเป้าภายในกันยายนนี้จะบรรลุผลชัดเจน

++ไทยนิยมลงซํ้าถึงหมู่บ้าน
ขบวนที่ 2 นับแต่ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เปิดประเด็นประชาธิปไตยไทยนิยม ในวันเด็ก 13 มกราคม 2561 จนฮือฮา ต่อมาขยายความว่าหมายถึงประชา ธิปไตยสากลที่คำนึงถึงลักษณะเฉพาะของความเป็นไทย จากนั้น 23 มกราคม 2561 มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 21/2561 ตั้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน ขึ้น

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ปีนี้นายกฯ สั่งการให้มี “โครงการไทยนิยมยั่งยืน” เป็นการบูรณาการงานหน่วยงานของรัฐบาล เพื่อแก้ปัญหา 77 จังหวัดทั่วไทย จากที่ทำไป 2 จังหวัดนำร่อง คือ กาฬสินธุ์ และแม่ฮ่องสอน มีคณะกรรมการหลายระดับ ตั้งแต่คณะกรรมการระดับประเทศ ระดับจังหวัดระดับอำเภอ ระดับตำบล 7,643 แห่ง มีทีมงานเล็กๆ ทีมละ ประมาณ 7-12 คน จะมีทั้งข้าราชการ เกษตรตำบล รวมถึงฝ่ายบริหารของชุมชน ขณะเดียว กันก็จะมีพวกที่เป็นจิตอาสา อาทิ มหาวิทยาลัย เอกชน ภาคประชาสังคม เข้ามาร่วมด้วย รวมถึงประชาชนในพื้นที่ ทีมเหล่านี้จะลงพื้นที่เพื่อไปตอบโจทย์ให้กับปัญหา

TP14-3337-2A “ที่ผ่านมาเรามักเอาคำตอบจากส่วนกลางลงไปดำเนินการ ซึ่งเป็นคำตอบเดียวกันทั้งหมด แต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของปัญหา การลงพื้นที่ก็จะทำให้ทราบว่า แต่ละพื้นที่ขาดอะไร แล้วเราจะไปช่วยยกระดับเขาได้อย่างไร ทีมงานเหล่านี้ก็จะไปรวบรวมข้อมูลขึ้นมา เราก็จะพยายามจัดยาให้ถูกกับโรค นำความรู้ที่เรามีลงไปช่วยเขา ผมคิดว่า โครงการนี้จะทำให้รัฐบาลเข้าถึงพี่น้องประชาชนได้อย่างแท้จริง และจะมีคำตอบที่ตรงกับความต้องการของเขา ซึ่งรัฐบาลตั้งใจจะทำทั้งปี เพื่อให้เกิดความสำคัญเกิดการเปลี่ยนแปลง”

เป้าหมาย 3 ประการคือ 1. เรื่องของการดูแลเรื่องของสัญญาประชาคมว่า ทำอย่างไรให้เกิดการปรองดอง เกิดความมั่นใจ 2. เป็นเรื่องของสวัสดิการแห่งรัฐรอบที่ 2 โดยจะนำกระทรวงการคลังไปช่วยดูแลว่า ปัญหาทางด้านการเงินของเขาคืออะไร แล้วคนที่ต้องการได้อาชีพเพิ่มจะสามารถฝึกอาชีพตัวเองได้อย่างไร ซึ่งจะทำให้ผู้มีรายได้ น้อยมีรายได้มากขึ้น

และ 3. การสร้างรายได้สร้างอาชีพชุมชนอยู่ดีมีสุข ซึ่ง มีงบประมาณกว่าแสนล้านบาทที่จะไปดูแล ซึ่งจะลงไปดูระดับชุมชน อาทิ เรื่องโครงสร้างพื้นฐานระดับชุมชน เรื่องการทำเกษตร รวมถึงการทำเรื่องของเอสเอ็มอีต่างๆ

ad-hoon-1 ++ดีเดย์ไทยนิยม21ก.พ.ทั่วไทย
พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ในฐานะกรรมการและเลขานุการกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศตามโครงการไทยนิยมยั่งยืน กล่าวว่า ได้กำหนด ปฏิทินการปฏิบัติงาน ดังนี้

วันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯมอบนโยบายให้ตัวแทนตำรวจ ทหาร ฝ่ายปกครอง และวันที่ 12-19 กุมภาพันธ์ ชุดที่ได้รับฟังนโยบายจากนายกฯ จะไปทำความเข้าใจกับชุดปฏิบัติการระดับตำบล จากนั้นวันที่ 21 กุมภาพันธ์ เริ่มปฏิบัติการจริงในระดับหมู่บ้านพร้อมกันทั่วประเทศ ใช้เวลา 3-4 เดือน จัดลงพื้นที่4 ครั้ง หรือถึงประมาณเดือนมิถุนายน 2561 โดยจัดงบประมาณไว้ 2 พันล้านบาท เป็นค่าอาหารสำหรับประชาชนที่เข้าร่วมโครงการทั้ง 4 ครั้ง ส่วนกิจกรรมจะดำเนินการทั้งปี

จาก 2 ขบวนทัพนี้ ทีมงานราชการ-ประชาสังคม ปูพรมแจกโครงการลงคลุมทุกพื้นที่ตลอดทั้งปีนี้ “เพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง” ให้ได้ตามความตั้งใจของ “บิ๊กตู่” ที่เพิ่งเปิดใจล่าสุด เพื่อทอนกระแสต้านเลื่อนโรดแมปเลือกตั้งว่า ขอเวลาอีกหน่อย เพื่อวางรากฐานประเทศ

[caption id="attachment_255963" align="aligncenter" width="503"] กฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์[/caption]

++เกษตรฯจัด20เมนูอาชีพหนุนไทยนิยม
นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า แผนงานของกระทรวงตามโครงการไทยนิยมยั่งยืนของรัฐบาล ได้กำหนดกิจกรรมด้านการเกษตรเป็นรายอาชีพ (Menu) 20 รายการ เน้นตอบสนองความต้องการ สามารถเลือกอาชีพได้ และมอบให้รมช.เกษตรฯร่วมพิจารณาแผนงานโครงการกิจกรรมตามกลุ่มคลัสเตอร์ที่รับผิดชอบอีกครั้ง ก่อนส่งให้สำนักงบประมาณ โดยทีมขับเคลื่อนโครงการไทยนิยมระดับตำบลทั้ง 7,663 ทีม จะเริ่มลงพื้นที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาความเดือดร้อน เยี่ยมเยียนราย ครัวเรือน รายบุคคล และค้นหาความต้องการของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนอย่างแท้จริง

โดยรัฐบาลให้หลักการ 3 กรอบคือ 1.ต้องเป็นความต้องการของเกษตรกร สถาบัน หรือองค์กรเกษตรกรโดยตรงอย่างแท้จริง เกิดการมีส่วนร่วมในพื้นที่ 2. เกษตรกรต้องได้รับประโยชน์โดยตรงตามเป้าหมายของแผน มีผลเป็นรูปธรรม จับต้องได้ ตอบสังคมได้ และ 3.ต้องเป็นโครงการที่ปฏิบัติได้จริง มีความต่อเนื่อง และยั่งยืน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,337 วันที่ 4 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว