ราคา‘ข้าว-มัน’พุ่งรอบ5ปี ชาวนายิ้มแม้ถูกกดความชื้น-คาดมะลิยืน1.6-1.7หมื่น/ตัน

07 ก.พ. 2561 | 11:40 น.
ชาวนายิ้มออก ราคาข้าวขยับสูงสุดรอบ 5 ปี หลังสิ้นรับจำนำ คาดปีนี้ราคาข้าวเปลือกหอมมะลิยังยืนได้ที่ระดับ 1.6-1.7 หมื่นบาท/ตัน หลังราคาส่งออกพุ่ง โรงสีแย่งซื้อตุน ผลพวงชาวนาแห่ร่วมจำนำยุ้งฉางน้อย ขณะมันสำปะหลังราคาพุ่งรอบ 3 ปี แต่โอดยังไม่พอใช้หนี้

ทิศทางราคาสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ของประเทศหลายรายการในเวลานี้ปรับตัวสูงขึ้น เกษตรกรได้รับอานิสงส์ มีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม เริ่มจากสินค้าข้าวและมันสำปะหลัง

[caption id="attachment_203124" align="aligncenter" width="503"] สุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาไทย สุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาไทย[/caption]

นายสุเทพ คงมาก นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ขณะนี้ราคาข้าวเปลือกที่โรงสีรับซื้อมีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ(ความชื้น 15%)โรงสีหลายพื้นที่ รับซื้อเฉลี่ย 1.57-1.66 หมื่นบาทต่อตัน (ดูกราฟิกประกอบ)และในบางพื้นที่ซื้อสูงถึง 1.70 หมื่นบาทต่อตันสูงสุดในรอบ 5 ปีหลังสิ้นสุดโครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2556/2557 อย่างไรก็ตามราคาข้าวเปลือกที่เกษตรกรขายได้จริงจะถูกหักลดตามเปอร์เซ็นต์ค่าความชื้นที่เกิน 15% จุดละ 100 บาท เช่น หากความชื้น 25-30% ก็จะถูกหักค่าความชื้นจากราคาที่ตั้งไว้ 1,000-1,500 บาทต่อตัน รวมถึงโรงสียังหักค่าสิ่งเจือปนที่ติดมากับข้าวด้วย เฉลี่ยแล้วชาวนาจะขายข้าวเปลือกหอมมะลิได้จริงประมาณ 1.47-1.56 หมื่นบาทต่อตัน

ส่วนราคาข้าวเปลือกเจ้า 5% (ความชื้น 15%)โรงสีรับซื้อเฉลี่ยที่ 6,700-8,600 บาทต่อตันขึ้นกับแต่ละ
พื้นที่และความต้องการของโรงสี แต่ราคาที่ชาวนาขายได้จริงจะถูกหักค่าความชื้นที่เกินจาก 15% จุดละ 100 บาทต่อตันเช่นเดียวกัน เฉลี่ยชาวนาขายข้าวได้จริง 5,700-7,600 บาทต่อตัน เพราะส่วนใหญ่เกี่ยวข้าวสดไม่มีลานตากลดความชื้น อย่างไรก็ดีราคาข้าวเปลือกในช่วงนี้ถือเป็นราคาที่ดี ซึ่งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 ทางคณะทำงานวางแผนการผลิตข้าวครบวงจรที่มีปลัดกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานได้ประชุมหารือกับตัวแทนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มหาดไทย การคลัง สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย สมาคมโรงสีข้าวไทย สมาคมชาวนา และนักวิชาการ ในการวางแผนการผลิตข้าวของประเทศทั้งนาปี และนาปรังปีการผลิต 2561/2562 เพื่อให้เกิดความสมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทาน ใช้ตลาดนำการผลิต

 

rii

“ราคาข้าวเปลือกในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้นในช่วงนี้ผลพวงจากความต้องการข้าวของต่างประเทศมีเข้ามามากจากไม่มีข้าวเพื่อการบริโภคของคนในสต๊อกรัฐบาลเป็นตัวกดทับราคาแล้ว ขณะที่ราคาส่งออกสูงขึ้น เช่น ข้าวหอมมะลิของไทย ณ เวลานี้กว่า 1,040 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้โรงสีแย่งซื้อข้าวจากชาวนาเพื่อสีขายให้ผู้ส่งออก หากในปีนี้ไทยรักษาระดับการผลิตข้าวเปลือกได้ 27-28 ล้านตัน คาดราคาข้าวเฉลี่ยทั้งปีอย่างน้อยจะยืนได้ระดับ ณ ปัจจุบัน”

นายกสมาคมชาวนาฯเผยอีกว่า ผลพวงจากราคาข้าวเปลือกที่ปรับตัวสูงขึ้นมากกว่าราคาในโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2560/2561(จำนำยุ้งฉาง)ของรัฐบาล (โดยในส่วนข้าวเปลือกหอมมะลิได้ 13,800 บาทต่อตัน ไม่รวมค่าเก็บรักษาข้าวเปลือกในยุ้งฉาง 1,500 บาทต่อตัน)ทำให้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการน้อย ล่าสุดมีข้าวเข้าร่วมเพียง 6 หมื่นตัน จากเป้าหมาย 2 ล้านตัน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,337 วันที่ 4 - 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว