กนช.โชว์3 ปีเพิ่มพท.ชลประทาน1.79ล.ไร่ยันประปาครบทุกหมู่บ้านใน2ปี

02 ก.พ. 2561 | 08:25 น.
กนช.โชว์ความสำเร็จ 3 ปี เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1.79 ล้านไร่ ยัน 2 ปีข้างหน้าระบบประปาครบทุกหมู่บ้าน

ทำเนียบรัฐบาล - พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุม (วันที่ 2 ก.พ. 61) ว่า หลังจากที่ ครม. ได้เห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ปี 2558 - 2569 และ ได้จัดตั้งคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เพื่อขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ การดําเนินการที่ผ่านมา การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ฯ ในช่วงปี 2557 - 2560 มีผลงานที่สําคัญดังนี้ จัดทําระบบประปาหมู่บ้าน 7,234 แห่ง คงเหลือ 256 แห่ง โดยจะทําที่เหลือในปี 2562 ซึ่งจะทําให้ประเทศไทยมีระบบประปาครบทุกหมู่บ้าน การพัฒนาแหล่งน้ำในเขตชลประทาน เพิ่มน้ำได้ 1,418 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 1.79ล้านไร่

การพัฒนาแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน พัฒนาแหล่งน้ำธรรมชาติ 5,147 แห่ง เจาะน้ำบาดาล
9,467 แห่ง สระน้ำในไร่นา 177,311 แห่ง เพิ่มน้ำได้รวม 791 ล้าน ลบ.ม. ที่ผ่านมาได้จัดตั้งสํานักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ซึ่งได้บรรจุข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจําแล้วบางส่วน รวม 83 คน และ เมื่อวันที่ 29 ม.ค. 61 นายกรัฐมนตรี ได้แต่งตั้ง กนช. ชุดใหม่ โดยมี นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นรองประธานกรรมการ พร้อมด้วย รมว.ทส.,รมว.กษ., รมว.มท. และ หน่วยปฏิบัติ เป็นกรรมการ และ เลขาธิการ สทนช. เป็นกรรมการ/เลขานุการ
chat สำหรับการประชุม กนช. ในวันนี้ 2 ก.พ. 61 เป็นการประชุม กนช. ใหม่ เป็นครั้งแรก หลังจากที่ได้จัดตั้ง สทนช. แล้ว ซึ่ง นรม. ได้มอบหมาย พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รอง นรม. และ นายสมเกียรติ ประจําวงษ์ เลขาธิการสทนช. ชี้แจงผลการประชุมที่สําคัญ สรุปได้ดังนี้

การกําหนดกรอบการทํางานของ กนช. โดยในปี 2561 จะประชุม 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 3 เดือน ซึ่งสอดคล้องกับสถานการณ์น้ำ และ กนช. ได้แบ่งมอบอํานาจหน้าที่ให้คณะอนุกรรมการฯ จํานวน 4 คณะ ใน 4 ด้าน ได้แก่ การวิเคราะห์/ติดตามสถานการณ์น้ำ การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ การจัดทํา/ติดตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ และ การกลั่นกรอง/วิเคราะห์/ประเมินผลโครงการ ซึ่งจะทําให้ กนช. ดําเนินการได้คล่องตัวมากขึ้น สามารถขับเคลื่อนแผนงานโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ได้ทั้งระบบ

อย่างไรก็ตามการพิจารณาแผนงานโครงการ มี 3 ส่วน ดังนี้ 1. งบเพิ่มเติมปี 2561 มีที่มาจากการประชุม ครม. สัญจร ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา,พระนครศรีอยุธยา และ สุโขทัย โดย สทนช. ได้พิจารณาโครงการที่มีความพร้อมด้านแบบ พื้นที่ ประชาชนและ สามารถดําเนินการได้ใน 7 เดือน ซึ่งมีโครงการผ่านการพิจารณา 216 โครงการ วงเงิน 4,212 ล้านบาท เมื่อดําเนินการแล้ว จะเพิ่มน้ำได้ 25.72 ล้าน ลบ.ม. และ มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 898,499 ไร่ 2. งบประมาณ ประจําปี 2562 ซึ่งได้ผ่านคณะกรรมการพิจารณาจัดทํางบประมาณฯ บูรณาการฯ น้ำ แล้วเมื่อวันที่ 24 ม.ค. 61 วงเงิน 128,784 ล้านบาท

chat1

3. แผนงานโครงการขนาดใหญ่ เป็นโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาสําคัญของทุกภาคในระยะ 20 ปี ซึ่งจะเริ่มขับเคลื่อนตั้งแต่ปี 2561 อาทิ ภาคเหนือ การแก้ปัญหาน้ำท่วม/น้ำแล้งลุ่มน้ำยมทั้งระบบ การพัฒนาบึงขนาดใหญ่ (บึงบอระเพ็ด/บึงสีไฟ) ภาคกลาง เช่น การป้องกันน้ำท่วมลุ่มน้ำเจ้าพระยาเต็มระบบ ภาคอีสาน เช่น การเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุน ได้แก่ การผันน้ำป่าสัก-ลําตะคอง การผันน้ำ ห้วยหลวง การก่อสร้างอ่างเก็บน้ำในลุ่มน้ำมูล โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรักฯ เป็นต้น
รวมทั้งการแก้ปัญหาการระบายน้ำของแม่น้ำชีเพื่อป้องกันน้ำท่วม ภาคตะวันออก เช่น การเพิ่มน้ำต้นทุนเพื่อเกษตร/อุตสาหกรรม การป้องกันน้ำท่วม ปราจีนบุรี และ การป้องกันน้ำทะเลรุก เป็นต้น และภาคใต้ เช่น การป้องกันน้ำท่วมพื้นที่เกษตร/ชุมชนเมือง ได้แก่ นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี และ ชุมพร เป็นต้น

ทั้งนี้โครงการทั้งหมดอยู่ในแผนยุทธศาสตร์ฯ อยู่แล้ว ได้ดําเนินการ เตรียมการ/ศึกษา มาแล้วตั้งแต่รัฐบาลนี้เริ่มใช้แผนยุทธศาสตร์ฯ บางโครงการได้รับได้อนุมัติให้ดําเนินการแล้ว-ได้นําเสนอเพื่อนําไปสู่การจัดทําแผนงานโครงการ/อนุมัติให้ดําเนินการต่อไป -ได้พิจารณาแนวทางการใช้งบประมาณ โดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

งบปกติ ซึ่งจะได้รับการจัดสรรประมาณปีละ 5 - 6 หมื่นล้านบาท จะใช้สําหรับโครงการขนาดเล็ก การขยายปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม และ การซ่อมบํารุง งบกลาง จะใช้สําหรับการแก้ปัญหาเร่งด่วนในกรณีภัยพิบัติ เช่น น้ำท่วม และ ภัยแล้ง ส่วนงบที่รัฐบาลต้องหาแหล่งเงินเพิ่มเติม จะใช้สําหรับโครงการขนาดใหญ่ที่มีความจําเป็นเร่งด่วน และ ขึ้นอยู่กับความพร้อมของรัฐบาล
728x90-03-3-503x62-3-503x62 "คณะอนุกรรมการแผนงานโครงการขนาดใหญ่ โดยมี สทนช. เป็นเลขานุการ จะได้ไปจัด
ความเร่งด่วนของโครงการ โดยรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยที่เกี่ยวข้อง/นักวิชาการ/ผู้มีส่วนได้เสีย จัดทําแผนแม่บทโครงการขนาดใหญ่ (Master Plan) เพื่ออนุมัติต่อไป ในที่ประชุมยังได้พิจารณาเห็นชอบโครงการ เพื่อเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป จํานวน 3 โครงการ ดังนี้ การบริหารจัดการ/แนวทางการพัฒนาเพื่อรองรับระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก (EEC) เพื่อให้มีน้ำ อุปโภคบริโภคเพียงพอ รองรับการขยายตัวของชุมชน/เขตอุตสาหกรรม

โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชัยภูมิ วงเงิน 3,440 ล้านบาท ซึ่งเมื่อดําเนินการเสร็จแล้ว จะลดน้ำท่วมนาข้าวได้ ปีละ 20,000 ไร่, ส่งน้ำช่วยพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนได้ 18,610 ไร่ ในฤดูแล้งได้ 1,850 ไร่ และสนับสนุนน้ำอุปโภคบริโภคได้ 5 ตําบล 17 หมู่บ้าน 11,824 ครัวเรือน และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำแบบบูรณาการ พื้นที่ 6 ตําบล อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จํานวน 2 โครงการ
คือ ขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยซับใต้ และ ขุดลอกอ่างเก็บน้ำบึงบัวหลวง (ทะเลวังวัด) วงเงินรวม 14.12 ล้านบาท โดยจะเสนอ ครม. ขอรับการสนับสนุนงบกลางปี 2561 ต่อไป

ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว