แนะนายจ้างมหาชัยลดต้นทุน ใช้เครื่องจักรแทนแรงงานแก้ปัญหาค่าจ้างใหม่

03 ก.พ. 2561 | 01:53 น.
แรงงานมหาชัยเฮรับค่าจ้างขั้นตํ่าใหม่ แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัวใช้เครื่องจักรรับต้นทุนพุ่ง เจียเม้งยันปรับลดคนงาน ไม่ได้หนีค่าแรงใหม่

นายอภิวัฒน์ วังวิวัฒน์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร ได้เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตํ่าในจังหวัดสมุทรสาคร จะมีผลต่อแรงงานระดับล่าง โดยเฉพาะในกลุ่มแรงงานต่างด้าว ซึ่งจะได้ผลดีและมีมากกว่าแรงงานไทย เช่นกลุ่มแรงงานเมียนมาที่นิยมทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มแรงงานกัมพูชาที่นิยมทำงานด้านก่อสร้าง กลุ่มแรงงานจากเวียดนามและสปป.ลาวที่นิยมทำงานอยู่ในภาคบริการ ร้านอาหาร ขายของหน้าร้าน สำหรับผู้ประกอบการไทยในกลุ่ม SMEs และ OTOP รวมทั้งโรงงานขนาดเล็กหรือผู้ประกอบการที่มีสายป่านไม่ยาวพอ คงเป็นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนแน่ อาจมีบางรายที่จะต้องยุบกิจการลง เนื่องจากต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

MP21-3336-1A “สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่หรือกิจการที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯก็คงเป็นกลุ่มที่ได้รับความเดือดร้อนตามมา ซึ่งก็คงต้องปรับตัวไปเป็นกิจการที่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ก็มีหลายโรงงานได้ทำการพัฒนาโรงาน โดยสั่งซื้อเครื่องจักรดีๆ มาใช้มากขึ้น ทั้งยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐด้านการกู้ยืมสินเชื่อจากสถาบันการเงินต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม ซึ่งเชื่อได้ว่าในอนาคตถ้าโรงงานใดยังใช้แรงงานจำนวนมากแบบเดิม คงลำบากและเหนื่อยมาก อย่างไรก็ตามตนเองก็เข้าใจว่ามีความจำเป็นที่จะต้องปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตํ่าเนื่องจากภาวะเงินเฟ้อ สินค้าต่างๆ ขึ้นราคา และข้าวของก็มีราคาแพงมากในขณะนี้”

นายกำจร มงคลตรีลักษณ์ นายกสมาคมการประมงสมุทรสาคร ได้เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางภาคการประมง ยังไม่มีใครร้องเรียนขึ้นมา ที่ดูเฉยๆ เพราะบางรายอาจมีการจ้างคนงานรายวันเกิน 310-325 บาทกันไปแล้ว ทั้งคนงานเก่าที่ทำงานเป็น ยังมีค่าตอบแทนอื่นๆ อีก ปัญหาสำคัญสำหรับผู้ประกอบการขณะนี้อยู่ที่การขาด แคลนคนงาน แต่ความเดือดร้อนก็ยังไม่มากอย่างพวกโรงงานอุตสาหกรรมที่ใช้คนงานเยอะกว่า ซึ่งเรือแต่ละลำที่ออกทะเล เช่นเรืออวนล้อม ก็ใช้คนอยู่ที่ประมาณ 20-30 คนเท่านั้น เรือประมงประเภทอื่นก็ใช้แรงงานอย่างมากไม่เกิน 50 คน การปรับค่าจ้างขั้นตํ่าเพิ่มอีก 15 บาท ขณะนี้จึงยังไม่กระทบภาคการประมง แต่สินค้าต่างๆ ก็ยังขยับขึ้นราคากันไปหมดแล้ว การปรับเพียงค่าจ้างขั้นตํ่าจึงอาจจะไม่ได้ช่วยเรื่องค่าครองชีพมากนัก ดังนั้นจึงควรควบคุมราคาสินค้าด้วย

728x90-03-3-503x62-3-503x62 นายอาคม เครือวัลย์ ประธานชมรมผู้ซื้อและชมรมแปรรูปอาหารทะเล สมุทรสาคร ได้เปิดเผยว่า จากค่าครองชีพที่เป็นอยู่การปรับขึ้นค่าจ้างขั้นตํ่าอีก 15 บาท ไม่ทันต่อราคาสินค้าที่ขึ้นนำและขึ้นตามมา ในความเห็นของตนจึงคิดว่าตามสภาพที่สามารถอยู่กันได้จริงๆ ค่าจ้างขั้นตํ่าควรขึ้นทีเดียวมาอยู่ที่ประมาณ 750-1,000 บาท เหมือนเช่นสมัยรัฐบาลที่ผ่านมาซึ่งขึ้นค่าแรงขั้นตํ่าจากประมาณ 200 บาท มาเป็น 300 บาท โดยประกาศเป็นนโยบายหาเสียงที่ชัดเจน สินค้าต่างๆ ก็จะได้ขึ้นราคาตามไปได้ด้วย ไม่ใช่มาขึ้นค่าจ้างทีละนิดๆแต่ขึ้นบ่อยๆ ทุกๆ ปี

นางประพิศ มานะธัญญา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เจียเม้ง จำกัด ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ กล่าวว่า การปรับลดคนงานเป็น การปรับโครงสร้างของบริษัท ให้มีศักยภาพแข่งขันกับตลาดได้และอยู่รอดต่อไปได้ ไม่คาดว่าจะลดพนักงานทุกระดับประมาณ 100 คน เนื่องจากปีนี้ผลผลิตข้าวออกมาค่อนข้างน้อย และการส่งออกมีปัญหา ก็ต้องลดการผลิตลงไปโดยอัตโนมัติ เรื่องการปรับขึ้นค่าจ้างแรงงานขั้นตํ่าขึ้นอีกเป็น 320 บาทนั้น ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อบริษัทแต่อย่างใด และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเปิดโครงการสมัครใจลาออกของพนักงานบริษัทแน่นอน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,336 วันที่ 1 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9