สหรัฐฯหล่นอันดับท็อป 10 ประเทศผู้นำด้านนวัตกรรมโลก

03 ก.พ. 2561 | 09:20 น.
นับเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ที่สหรัฐอเมริกาไม่ติดอันดับ 10 ประเทศที่มีการสร้างสรรค์นวัตกรรมมากที่สุดในโลก ซึ่งเป็นการจัดอันดับโดยสำนักข่าวบลูมเบิร์กในชื่อ “ดัชนีผู้นำด้านนวัตกรรม” หรือ Bloomberg Innovation Index ซึ่งในปีนี้ อันดับสูงสุด 3 ประเทศแรกได้แก่ เกาหลีใต้ สวีเดน และสิงคโปร์ตามลำดับ

ทั้งนี้ เกาหลีใต้และสวีเดนยังคงครองตำแหน่งที่ 1 และที่ 2 เมื่อเทียบกับอันดับเมื่อปีที่ผ่านมา (2017) ขณะที่สิงคโปร์นั้น กระโดดขึ้นมา 3 อันดับจากเดิมอยู่ในตำแหน่งที่ 6 ขึ้นมาเป็นที่ 3 แต่สหรัฐอเมริกาซึ่งเคยอยู่ในอันดับที่ 9 เมื่อปีที่ผ่านมา ปีนี้ร่วงลง 2 อันดับไปอยู่อันดับที่ 11 แทนที่ด้วยฝรั่งเศสที่กระโดดจากอันดับที่ 11 ในปีที่แล้วมาอยู่อันดับที่ 9 ในปีนี้ ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 45 ลดลงจากอันดับที่ 44 จากทั้งหมดที่มีอยู่ 50 ประเทศในดัชนีดังกล่าว

[caption id="attachment_255023" align="aligncenter" width="503"] ซัมซุง เป็นบริษัทที่มีมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์มากที่สุดของเกาหลีใต้ และเป็นหนึ่งใน บริษัทที่มีสิทธิบัตรมากที่สุด ซัมซุง เป็นบริษัทที่มีมูลค่าในตลาดหลักทรัพย์มากที่สุดของเกาหลีใต้ และเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีสิทธิบัตรมากที่สุด[/caption]

สำหรับปัจจัยที่พิจารณาประกอบการจัดอันดับมี 7 ปัจจัยด้วยกัน ซึ่งได้แก่ ความทุ่มเทด้านงานวิจัยและพัฒนาซึ่งวัดจากงบประมาณที่ใช้ในด้านนี้(คิดเป็นสัดส่วน% ของจีดีพี) มูลค่าเพิ่มในเชิงอุตสาหกรรม (คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของจีดีพีและเฉลี่ย/คน/ปี) สมรรถนะการผลิต (คิดจากจีดีพีและรายได้ประชาชาติ/คน/ปีของผู้อยู่ในระบบจ้างงานอายุ 15 ปีขึ้นไป) ความเข้มข้นของการใช้เทคโนโลยีระดับสูง วัดจากจำนวนบริษัทเอกชนที่ทำธุรกิจด้านไฮเทค อาทิ อากาศยานและการป้องกันประเทศ ไบโอเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ เซมิคอนดักเตอร์ ผู้ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตและบริการที่เกี่ยวข้อง และพลังงานทางเลือก เป็นต้น คิดเป็นสัดส่วนเปอร์เซ็นต์ของบริษัททั้งหมดที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของประเทศนั้นๆ และเปอร์เซ็นต์ ของบริษัทไฮเทคทั่วโลก จำนวนนักศึกษาที่จบด้านวิทยาศาสตร์-วิศวกรรม ศาสตร์ในตลาดแรงงาน จำนวนของนักวิจัยภายในประเทศ คิดเป็นสัดส่วนต่อประชากร 1 ล้านคน และปริมาณการจดสิทธิบัตร

++ผลิตบุคลากรเป็นเรื่องสำคัญ
รายงานระบุว่า การหล่นอันดับของสหรัฐฯนั้นเกิดจากหลายปัจจัย แต่ที่ทำให้คะแนนตกลงมากที่สุดเกิดจากปัจจัยผู้จบการศึกษาด้านไฮเทคไม่ว่า จะเป็นวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรรมศาสตร์ในตลาดแรงงานที่มีสัดส่วนลดลง รวมทั้งมูลค่าเพิ่มในอุตสาหกรรมการผลิตที่ลดลง แม้ว่าจะทำคะแนนได้ดีในแง่สมรรถนะการผลิต ก็ไม่สามารถชดเชยในส่วนที่ลดลงไปได้

โรเบิร์ต ดี แอทกินสัน ประธานมูลนิธินวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ให้ความเห็นว่า มีแนวโน้มว่าสหรัฐฯจะยังคงอยู่ในทิศทางดังกล่าวต่อไป ขณะที่ประเทศอื่นๆ มีนโยบายส่งเสริมการสร้างสรรค์นวัตกรรมได้ดีกว่า เช่น มีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเพื่อส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนา รัฐบาลจัดสรรงบประมาณสนับสนุนการวิจัยมากขึ้น และมีการให้ทุนสนับสนุนการนำเทคโนโลยีมาใช้ในเชิงพาณิชย์อย่างเป็นรูปธรรม เป็นต้น

[caption id="attachment_255024" align="aligncenter" width="503"] มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบของสิงคโปร์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 3 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบของสิงคโปร์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้สิงคโปร์อยู่ในอันดับที่ 3[/caption]

สิงคโปร์เป็นตัวอย่างที่ดีของการให้ความสนับสนุนในเชิงนโยบาย ทำให้สามารถขยับอันดับจากที่ 6 มาสู่ที่ 3 แซงหน้าแม้กระทั่งเยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ และฟินแลนด์ และอยู่ในอันดับต้นๆชั้นนำของโลกในแง่การผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์สู่ตลาดแรงงาน ศ.เยียว เกี๊ยต เส็ง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีและการออกแบบแห่งสิงคโปร์ เปิดเผยว่า สิงคโปร์ให้ความสำคัญกับการศึกษาเพื่อผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพออกมาโดยตลอด โดยเฉพาะการศึกษาในระบบที่เรียกว่า STEM (สะเต็ม เป็นแนวทางการศึกษาที่บูรณาการความรู้ใน 4 สหวิทยาการเข้าด้วยกัน ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ เน้นการนำความรู้ไปใช้แก้ปัญหาในชีวิตจริง) นอกจากนี้ รัฐบาลสิงคโปร์ยังให้ความสำคัญอย่างมากกับการให้งบสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา (R&D) และการสร้างสรรค์นวัตกรรม ยกตัวอย่างศ.เยียว เกี๊ยต เส็ง เอง ก็เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมและถือสิทธิบัตรถึง 38 ใบจากผลงานที่คิดค้นวิจัยขึ้นมา

TP10-3336-1A ++คุณสมบัติของผู้นำ
ส่วนเกาหลีใต้นั้น ปีนี้สามารถครองแชมป์ในอันดับ 1 ติดต่อกันมาเป็นปีที่ 5 โดยซัมซุง อิเล็คโทรนิกส์ บริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่มีมูลค่ามากที่สุดของเกาหลีใต้ เป็นบริษัทเจ้าของผลงานสร้างสรรค์ด้านนวัตกรรมที่มีการจดสิทธิบัตรในสหรัฐอเมริกามากกว่าทุกๆ บริษัทยกเว้นไอบีเอ็ม ธุรกิจของซัมซุง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจด้านการผลิตเซมิคอนดักเตอร์ สมาร์ทโฟน หรืออุปกรณ์ดิจิตอล-มีเดีย ล้วนสร้างระบบซัพพลายเชนที่ช่วยให้ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องสามารถเติบโตควบคู่ไปด้วยกัน เหมือนกับสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ที่อาณาจักรธุรกิจของโซนี่ และโตโยต้าก่อให้เกิดเครือข่ายซัพพลายเออร์ที่แข็งแรงและสนับสนุนซึ่งกันและกัน

ขณะที่จีน ซึ่งเพิ่งประกาศเป็นมหาอำนาจด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของโลกในทศวรรษหน้า ปัจจุบันอยู่ในอันดับที่ 19 ของดัชนีประเทศผู้นำด้านนวัตกรรม จุดเด่นของจีนคือการทุ่มเทผลิตนักศึกษาและบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้าสู่ตลาดแรงงาน มีจำนวนการจดสิทธิบัตรเพิ่มมากขึ้นโดยบริษัทท้องถิ่นที่เป็นผู้สร้างสรรค์ผลงาน อาทิ หัวเว่ย เทคโนโลยีส์

728x90-03-3-503x62-3-503x62 ปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการบริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ซีแอลเอสเอ(ประเทศไทย)ฯ ให้ความเห็นกับบลูมเบิร์กว่า สิ่งหนึ่งที่สหรัฐอเมริกา เกาหลีใต้ และจีน มีเหมือนๆ กันคือ ผู้คนของประเทศเหล่านี้ยอมรับว่าความล้มเหลวนั้นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนา ส่วนประเทศที่นวัตกรรมล้าหลังนั้น ก็มักจะมีวัฒนธรรมทางความคิดในลักษณะหลีกเลี่ยงความเสี่ยง และมองว่าการใช้งบด้านงานวิจัยและพัฒนาเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องเสีย ไม่ได้คิดว่ามันเป็นการลงทุน แนวคิดลักษณะนี้มีในประเทศไทยด้วยเช่นกัน (ไทยร่วงลง 1 อันดับมาอยู่ที่อันดับที่ 45 ในปีนี้)

เป็นที่น่าสังเกตว่า ญี่ปุ่นยังคงขยับอันดับสูงขึ้นมาอยู่ในอันดับที่ 6 (เดิมอยู่อันดับที่ 7) เป็น 1 ใน 3 ประเทศของเอเชียที่ติดอยู่ใน 10 อันดับแรก ส่วนประเทศยุโรปเข้าวินมาในท็อป 10 ถึง 6 ประเทศ ซึ่งได้แก่สวีเดน เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ ฟินแลนด์ เดนมาร์ก และฝรั่งเศส ที่น่าสนใจคือ อันดับที่ 10 อิสราเอล เป็นประเทศ ที่สามารถเอาชนะเกาหลีใต้ที่ครองอันดับที่ 1 ในแง่ที่ให้งบสนับสนุนงานวิจัยและพัฒนามากที่สุด

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,336 วันที่ 1 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9