ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ สร้างโอกาส ให้ความรู้ด้านการเงินที่ยั่งยืนให้กับชุมชน

03 ก.พ. 2561 | 00:27 น.
จากแนวทางการดำเนินธุรกิจของ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด เจ้าของแบรนด์ “เงินติดล้อ” และ “ศรีสวัสดิ์ เงินติดล้อ” ที่ต้องการส่งเสริมและยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้คน ด้วยความเชื่อมั่นว่า การเข้าถึงบริการทางการเงินที่เป็นธรรมและโปร่งใส คือสิทธิที่ทุกคนพึงได้รับ แนวคิดดังกล่าว ได้นำมาสู่การสร้างสรรค์คุณค่าเพิ่มร่วมกันให้กับสังคม หรือ CSV (Creating Shared Value) ในรูปแบบของการสร้างโอกาส การเข้าถึงบริการทางการเงินให้แก่กลุ่มผู้มีรายได้น้อย และกลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระ โดยมุ่งมั่นยกระดับมาตรฐานธุรกิจสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ให้เป็นแหล่งเงินทุนที่มีมาตรฐาน เป็นธรรม และโปร่งใส และทางด้านการจำหน่ายประกันวินาศภัย

[caption id="attachment_254973" align="aligncenter" width="336"] ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล[/caption]

“ปิยะศักดิ์ อุกฤษฎ์นุกูล” กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เงินติดล้อ จำกัด ให้ความสำคัญกับปัญหาปากท้องของสังคมไทย และหนึ่งในปัญหาเหล่านั้น คือ การไม่สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีมาตรฐาน ที่เกิดจากการไม่มีหลักฐานทางการเงินที่ชัดเจน ไม่มีเครดิต จึงหันไปกู้หนี้นอกระบบ บริษัท เงินติดล้อฯ จึงได้จัดทำโครงการ “นำความรู้สู่ชุมชน เพื่อ
ชีวิตหมุนต่อได้” ตั้งแต่ปี 2558 สร้างโอกาสทางความรู้อย่างยั่งยืนให้กับกลุ่มผู้มีรายได้น้อยในชุมชนต่างๆ กลุ่มพ่อค้าแม่ค้า กลุ่มพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม รวมไปถึงกลุ่มพนักงานเงินติดล้อ ที่ต้องการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการเงิน

สำหรับปีนี้ ได้เปิดโอกาสให้พนักงานมีส่วนร่วมกับกิจกรรม ผ่านการเปิดรับอาสาสมัคร “เงินติดล้อ เราอาสา” เพื่อให้พนักงานได้ร่วมทำประโยชน์ให้กับสังคม โดยมีขั้นตอนการดำเนินงาน คือ 1. Research Place การหาพื้นที่ชุมชนเป้าหมาย โดยเปิดโอกาสให้พนักงานทุกสาขาทั่วประเทศ เป็นผู้นำเสนอชุมชนที่ต้องการความรู้ด้านการเงิน และดำเนินการประสานงานเบื้องต้นกับผู้นำชุมชนนั้นๆ 2. Plan for Activities การวางแผนจัดกิจกรรม เป็นขั้นตอนการประสานงานกับผู้นำชุมชนอย่างเป็นทางการ การกำหนดวันสำรวจชุมชน และกำหนดวันจัดกิจกรรมร่วมกัน

MP28-3336-2B 3. Communicate with Volunteers การเปิดรับอาสาสมัคร การรวบรวมรายชื่ออาสาสมัคร การนัดประชุมเพื่อกำหนดหน้าที่ของแต่ละฝ่าย และกำหนดงบประมาณจัดกิจกรรม 4. Conduct Survey ทีมงานและอาสาสมัครลงพื้นที่สำรวจความต้องการของชุมชนนั้นๆ ผ่านแบบสำรวจที่ครอบคลุมพฤติกรรมและความสนใจด้านการเงิน เพื่อนำผลสำรวจมาวิเคราะห์ วางแผนหลักสูตรการฝึกอบรมให้ตรงกับความต้องการ 5. Activities ทีมงานจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ด้านการเงินด้วยเนื้อหาที่เหมาะสม หลังจากนั้นสรุปผลกิจกรรม เพื่อนำมาให้ในการปรับปรุง พัฒนากิจกรรมให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และ 6. Follow up Results หลังจากจบกิจกรรม ทีมงานติดต่อผู้เข้ารับการอบรม เพื่อติดตามผลการอบรมและประโยชน์ที่ได้รับ

โครงการ “นำความรู้สู่ชุมชน เพื่อชีวิตหมุนต่อได้” ดำเนินไปแล้วทั้งสิ้น 16 ครั้ง มีผู้ผ่านการอบรมไปแล้วมากกว่า 585 คน มีพนักงานอาสาสมัครเข้าร่วมในโครงการแล้วมากกว่า 247 คน

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,336 วันที่ 1 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9