Digital Transformation เปลี่ยนความต้องการทักษะแรงงานรูปแบบใหม่

03 ก.พ. 2561 | 00:34 น.
จากทิศทางของกระแสเศรษฐกิจ นวัตกรรม และเทคโนโลยี ได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้งรูปแบบงาน และลักษณะการจ้างงาน และมีหลายธุรกิจที่ต้องปรับตัวรองรับการโมเดลธุรกิจที่ต้องเปลี่ยนแปลงตามเทคโนโลยี หรือ Digital Transformation

“สุธิดา กาญจนกันติกุล” ผู้จัดการฝ่ายการตลาด แมนพาวเวอร์กรุ๊ป ได้พูดถึงแนวโน้มความต้องการของตลาดแรงงาน 10 อันดับ ได้แก่ 1. งานขายและการตลาด 21.59% 2. งานบัญชีและการเงิน 12.21% 3. งานไอที 10.12% 4. งานวิศวกร 8.25% 5. งานบริการลูกค้า 8.14% 6. งานการผลิต 6.22% 7. งานธุรการ 6.05% 8. งานขนส่งและโลจิสติกส์ 5.37% 9. งานทรัพยากรบุคคล 4.30% 10. งานระดับผู้บริหาร 3.50%

MP26-3336-1A ส่วนสายงานที่แรงงานต้องการ 10 อันดับ ได้แก่ 1. งานขายและการตลาด 20.55% 2. งานวิศวกร 12.35% 3. งานธุรการ 11.67% 4. งานขนส่งและโลจิสติกส์ 9.59% 5. งานบริการลูกค้า 9.25% 6. งานทรัพยากรบุคคล 7.57% 7. งานบัญชีและการเงิน 6.26% 8. งานไอที 6.15% 9. งานการผลิต 5.44% 10. งานด้านภาษาต่างประเทศ 2.06%

“วรรณชัย ไพบูลย์บารมี” ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการ แมนพาวเวอร์กรุ๊ป กล่าวว่า Digital Transformation ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำธุรกิจ ที่เห็นชัดเจนคือ ธุรกิจแบงก์ที่มีเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่ ทำให้บางธนาคารต้องลดพนักงาน หรือบางธุรกิจที่ต้องใช้คอลล์เซ็นเตอร์ รูปแบบการให้บริการคอลล์เซ็นเตอร์ก็เปลี่ยนไป จากเดิมที่เคยใช้ Voice เพียงอย่างเดียว ปัจจุบันต้องมีคอลล์เซ็นเตอร์ผ่านเว็บไซต์ เป็นคอลล์เซ็นเตอร์รูปแบบใหม่ ที่ต้องการทักษะใหม่จากแรงงาน

MP26-3336-2A อีกธุรกิจที่ได้รับผลกระทบชัดเจนจาก Digital Transformation คือ ธุรกิจค้าปลีก ที่เริ่มมีการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาแทนที่แรงงานคน อย่างการจ่ายเงิน หรือการที่มีช็อปปิ้งออนไลน์เกิดขึ้นมากๆ เพราะฉะนั้น ความต้องการแรงงานที่มีทักษะทางด้านเครื่องจักรกลจึงเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น

ส่วนนโยบายภาครัฐที่มีการลงทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor Development (EEC) ในระยะ 3-5 ปี จะมีการเปลี่ยนแปลงและเติบโตอย่างแน่นอน การลงทุนจากประเทศจีนที่มีเข้ามาในประเทศไทยมากขึ้น การขยายตัวของแรงงานทั้งในแถบอาเซียน และกลุ่ม CLMV การพัฒนาพื้นที่ การวางแผนด้านเศรษฐกิจและการลงทุนในภาคอุตสาหกรรม จะทำให้แรงงานเกิดการเคลื่อนย้าย โดยมีการประเมินตัวเลขความต้องการแรงงานเพื่อตอบรับกับ EEC ไว้ประมาณ 1 แสนคน ซึ่งในจำนวนนี้จะไม่ได้เกิดความต้องการขึ้นพร้อมกัน แต่จะเป็นการทยอยเปิดรับความต้องการ ซึ่งอาจจะอยู่ปีละ 2 หมื่นคน ในระยะ 5 ปี

728x90-03-3-503x62-3-503x62 สิ่งที่รัฐต้องเตรียมการ คือ การแก้ไขปัญหาเรื่องแรงงาน คนไทยยังขาดทักษะงานบางประเภท และผู้เชี่ยวชาญบางสาขาวิชาชีพ ตลอดต้องการแรงงานที่มีทักษะทางด้านเครื่องกล ซึ่งแรงงานไทยยังไม่พร้อม ทางแมนพาวเวอร์จึงได้เปิดศูนย์ แมนพาวเวอร์ อะคาเดมี เพื่อพัฒนาทักษะของกลุ่มคนบางกลุ่ม ให้เข้ามารองรับกับบิสิเนสโมเดลที่เปลี่ยนแปลงไป อาทิ ทักษะสำหรับพนักงานขาย การทำงานร่วมกับเครื่องจักรกล โดยร่วมมือกับบางสถาบันการศึกษา

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,336 วันที่ 1 - 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561
ดาวน์โหลดอีบุ๊กแทรกข่าว-9