ก.ล.ต.เตรียมหารือธปท.-คลัง-ป.ป.ง. สรุปแนวทางกำกับดูแล ICO

30 ม.ค. 2561 | 08:42 น.
ก.ล.ต.เตรียมหารือธปท.-คลัง-ป.ป.ง. สรุปทิศทางนโยบาย Cryptocurrency  หวังเป็นแนวทางกำกับดูแล ICO ต่อไป เผยมีผู้สนใจออก ICO แล้ว 5 ราย และมีผู้สอบถามกว่า 15 ราย ย้ำนักลงทุนต้องรอบคอบหลังความเสี่ยงสูง

นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.เตรียมที่จะหารือกับทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)  กระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน(ป.ป.ง.) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการประมวลผลและสรุปนโยบายให้ไปในทิศทางเดียวกันคาดว่าจะเห็นความชัดเจนภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2561 นี้ เพื่อเป็นแนวทางในการกำกับดูแลการระดมทุน Iinitial Coin Offering (ICO) ต่อไป

"โดยในส่วนของทั้ง Cryptocurrency และ ICO  ต้องมีความเกี่ยวเนื่องกันถ้านโยบายใหญ่ไม่ไปด้วยกัน ICO ก็ไม่สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นเรื่องทั้งหมดมันจะต้องออกมาให้มีความสอดคล้องกัน แม้มันจะเป็นเรื่องที่แยกกัน จะต้องได้มีการประมวล ก็มีการคุยกับทางแบงก์ชาติ คลัง และก็ ป.ป.ง. เพราะเรื่อง Cryptocurrency ก็พูดถึงกันเยอะ ว่ามันสามารถฟอกเงินได้ไหม ทำให้ต้องมีข้อสรุปเรื่องใหญ่นี้ก่อน ต้องดูนโยบายของมันว่าเรื่องพวกนี้เราจะห้ามมันให้เป็นเรื่องผิดกฎหมายทั้งหมด ไม่กำกับดูแลมันเลยหรือเปล่าหรือการเข้าไปดูแลปานกลางในระดับที่เหมาะสม" นายรพีกล่าว

อย่างไรก็ดีทางก.ล.ต. มีความกังวล หากไม่ให้มีการซื้อขาย Cryptocurrency รวมถึงห้ามไม่ให้ทำ ICO อาจทำให้ให้การระดมทุนและการซื้อขายดังกล่าวไปอยู่ใต้ดินที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ ขณะที่ช่วงที่ผ่านมาได้เปิดรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวทางการกำกับดูแลไอซีโอที่เป็นหลักทรัพย์ ภายหลังให้ผู้เกี่ยวข้องร่วมแสดงความคิดเห็นผ่านหลากหลายช่องทางเป็นเวลาประมาณ 3 เดือน โดยสิ้นสุดระยะเวลารับฟังความคิดเห็นไปเมื่อ 22 มกราคมที่ผ่านมานั้น ผู้แสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการกำกับดูแลไอซีโอที่เป็นหลักทรัพย์โดย ก.ล.ต. ซึ่งจะเริ่มจากการทดลองเปิดช่องทางไอซีโอที่มีลักษณะเป็น "ส่วนแบ่งร่วมลงทุน" ซึ่งไม่ใช่หลักทรั พย์ที่มีอยู่แล้วอย่างหุ้นหรือตราสารหนี้ รวมทั้งเห็นด้วยกับการกำหนดให้ต้องระดมทุนดังกล่าวผ่าน ไอซีโอ พอร์ทัล ที่ ก.ล.ต. ยอมรับ

728x90 โดยเปิดให้เสนอขายไอซีโอต่อผู้ลงทุนสถาบัน กิจการร่วมลงทุน นิติบุคคลร่วมลงทุน และผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษ ส่วนกรณีผู้ลงทุนรายย่อย ก.ล.ต.ได้รับความเห็นหลากหลายเกี่ยวกับความเหมาะสมของการจำกัดวงเงินลงทุนใน ICO ซึ่ง ก.ล.ต. จะนำความเห็นจากทุกฝ่ายมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงหลักเกณฑ์ให้เหมาะสมยิ่งขึ้นต่อไปทั้งนี้ ก.ล.ต. จะนำเสนอผลการรับฟังความเห็นนี้ต่อคณะกรรมการกำกับตลาดทุนและคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปเกี่ยวกับแนวทางในการกำกับดูแลที่ชัดเจนภายในไตรมาส 1 นี้

มีผู้ให้ความสนใจมาก ทั้งนี้ก.ล.ต.จึงได้กำหนดรูปแบบเบื้องต้นของการกำกับดูแลการระดมทุนด้วย ICO ในลักษณะเป็นกลาง นำเสนอ ICO คือ Portal แต่ละราย ปัจจุบันมีผู้แสดงความสนใจที่จะทำหน้าที่ ICO Protalมาแล้วราว 5 รายมีทั้งผู้ที่ให้บริการจากต่างชาติ บริษัทที่ทำด้านการซื้อขาย Cryptocurrency รวมถึงผู้ประกอบการที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงาน ก.ล.ต.อยู่เดิม ทั้งนี้ ก.ล.ต.ได้กำกับให้ผู้ที่สนใจจะทำตัวกลางจะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านบาทรวมถึงปัจจุบันมีผู้ที่สนทำ ICO เข้าขอข้อมูลแล้ว 15 ราย

ขณะที่การระดมทุนผ่าน Portal จะมีการจำกัดประเภทผู้ลงทุน และจำกัดวงเงินลงทุน ซึ่ง Portal จะมีหน้าที่เช่นเดียวกันกับที่ปรึกษาทางการเงินหรือ FA เป็นตัวช่วยประเมินบริษัทที่จะเข้ามาระดมทุนในตลาดแรก ต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าสามารถตอบสนองข้อกังวลของ ก.ล.ต.ได้ เช่น ตรวจสอบการระดมทุนว่าตรงกับ White Paper เพราะต้องมีการข้อมูลที่เขียนผ่าน White Paper อย่างชัดเจน

นายรพี กล่าวต่อไปว่า ในการระดมทุนผ่าน ICO ความเสี่ยงสูงมาก และมีนักลงทุกที่ผิดพลาดจากการระดมทุนจำนวนมากทำให้ต้องใช้ความระมัดระวังในการระดมทุน เพราะยังไม่มีนโยบายมารองรับที่ชัดเจน e-book